วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlight“เทพไท”ยก 4 ประเด็น หวั่นก.ม.PDPA เอื้อมิจฉาชีพ จี้ทบทวน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เทพไท”ยก 4 ประเด็น หวั่นก.ม.PDPA เอื้อมิจฉาชีพ จี้ทบทวน

“เทพไท” ยก 4 ประเด็น หวั่น พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) บังคับติดป้ายกล้องวงจรปิด เอื้อมิจฉาชีพ แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนเงื่อนไขสอดคล้องสภาพสังคมไทย

วันที่ 1 มิ.ย.65 นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ Facebook ส่วนตัว ข้อความว่า วันนี้คือ วันที่ 1 มิ.ย.2565 เป็นวันแรกของการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ 4 ประเด็นคือ 1.การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA 2.ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA 3.ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือน ผิด PDPA 4.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ ถ้าไม่ยินยอมผิด PDPA ซึ่งทั้ง 4 ประเด็นนี้ จะมีปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับพี่น้องประชาชนอย่างแน่นอน และผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องใช้ดุลพินิจเป็นอย่างมาก ในการพิจารณาว่าการกระทำใดเข้าข่ายผิด พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ซึ่งอาจจะเกิดความลักลั่นในการปฏิบัติ และอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนได้

นายเทพไท กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่า ประเด็นเรื่องการติดตั้งกล้องวงจรปิด จะเป็นประเด็นปัญหามากที่สุด คือการติดกล้องวงจรปิดไม่มีป้ายแจ้งเตือน จะผิด พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่าจะมีการยกเว้นการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน แต่การติดตั้งกล้องวงจรปิดในที่อื่นๆ ต้องปิดป้ายแจ้งเตือน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพราะการติดกล้องวงจรปิด เป็นการติดตั้งเพื่อเก็บข้อมูล ป้องกันการก่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น และที่ผ่านมาการจับตัวผู้ต้องหา หรือฆาตกร ของเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่จะได้มาจากข้อมูล หลักฐานจากกล้องวงจรปิดหลายคดี ถ้าหากจะติดป้ายบอกตำแหน่งติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็จะทำให้ผู้กระทำผิดหรืออาชญากร ที่คิดจะก่ออาชญากรรมรู้ตัว หลบเลี่ยงการก่ออาชญากรรม ในบริเวณพื้นที่ที่มีกล้องวงจรปิดได้ และจะไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิด ผ่านทางกล้องวงจรปิดได้ ส่วนใหญ่การติดตั้งกล้องวงจรปิด มักจะติดตั้งแบบลับๆ ต้องการเป็นหลักฐานในการจับกุมผู้กระทำผิดเป็นส่วนใหญ่

“จึงเห็นว่ากฎหมายข้อนี้ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย ถ้าหากมีการบังคับใช้กฎหมายข้อนี้อย่างเคร่งครัด จะทำให้การหาข้อมูลในการจับกุม ปราบปรามอาชญากรอาชญากรรมยากขึ้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บังคับใช้กฏหมาย ได้ทบทวน และแก้ไขเงื่อนไขในการบังคับใช้กับประชาชน ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยจะดีที่สุด”นายเทพไท กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img