วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกHighlight“สธ.”เล็งปรับระดับโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”เล็งปรับระดับโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง

“สธ.” เล็งปรับลดระดับโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง คืนการรักษาใน รพ. ตามปกติ รักษาตามสิทธิ 

เมื่อวันที่ 1  มิ.ย.65 ภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการรับมือโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข แถลงว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิดในประเทศไทยคลี่คลายถึงจุดที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมั่นใจว่าสามารถควบคุมได้ โดยผู้ติดเชื้อแต่ละวันต่ำกว่า 5 พันราย เสียชีวิตต่ำกว่า 50 ราย ขณะที่การฉีดวัคซีนเกิน 137 ล้านโดสแล้ว ทางสธ.จะมีการเสนอให้มีการผ่อนคลายมาตรการเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนให้มากที่สุด

โดยเมื่อโควิดเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และปรับระดับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย มาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งต้องดูตามสถานการณ์และประเมินจากการเปิดผับ บาร์ คาราโอเกะด้วย ทั้งนี้คาดว่าการติดเชื้อ จะมีเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่โรคไม่รุนแรง

อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ  โดยพิจารณา ประเมินความเสี่ยง ประเมินตามสถานการณ์แต่ละคน และที่สำคัญคือขอให้มารับวัคซีน โดยเฉพาะเข็มกระตุ้น หาดจำเป็นต้องฉีดเข็ม 5 เราก็มีฉีดให้ เพื่อลดเสี่ยงติดเชื้อได้ ทั้งนี้การปรับแนวทางการดูแลให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นนั้น ไม่ต้องรอให้องค์การอนามัยโลกประกาศก่อน เพราะเราไม่ใช่เมืองขึ้นขอใคร แต่ต้องให้ศบค.เป็นผู้พิจารณา  

นอกจากนี้ปรับระบบการรักษาในสถานพยาบาลให้อยู่ในระบบปกติ ไม่ต้องตรวจ ATK ยกเว้นกรณีมีความเสี่ยง ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด เป็นต้นและหากป่วยญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ปกติ  

เมื่อถามว่า หากปรับโรคโควิด-19 มาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังแล้ว การรักษา และค่าใช้จ่ายจะเป็นแบบใด นายอนุทิน กล่าวว่า ถ้าองค์การอนามัยโลกประกาศแล้ว ประกอบกับรัฐบาลไทยมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาแล้วไม่พบว่าไม่ก่อความสูญเสีย ไม่มีอันตรายกับประชาชน ก็ต้องกลับมาดูแลตามระบบปกติที่สุด ดังนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้วก็ดำเนินการทุกอย่างตามปกติ ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน การดูแลรักษาเป็นไปตามสิทธิของแต่ละคน คือข้าราชการ ประกันสังคม และบัตรทอง.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img