วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightอย่าตกใจกับไวรัสกลายพันธุ์ โควิด'รักษาก็หายไม่รักษาก็ตาย'
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อย่าตกใจกับไวรัสกลายพันธุ์ โควิด’รักษาก็หายไม่รักษาก็ตาย’

“หมอยง” ย้ำอย่าเพิ่งตกใจเกินเหตุ กับข่าวไวรัสกลายพันธุ์ เพราะยังไร้หลักฐานว่าไวรัสนี้จะทำให้โรครุนแรงขึ้นหรือน้อยลง ด้าน “ไพศาล” ขอ “อย่าตกใจกลัวจนเกินควร” ยันโรคนี้ “รักษาก็หาย ไม่รักษาก็ตาย” ชี้การต่อสู้ที่แท้จริงคือต่อสู้กับขบวนการวัคซีนและขบวนการหากินกับโควิด

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ในหัวเรื่อง “โควิด 19 การแปรเปลี่ยนพันธุกรรม” มีเนื้อหาดังนี้…”เราได้ยินข่าวมาตลอด เรื่องการผันแปรพันธุกรรมของไวรัสก่อโรค Covid-19 ไม่ว่าจะเป็นใน อังกฤษแอฟริกาใต้ และไนจีเรีย ไวรัสอาร์เอ็นเอเกือบทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามวิวัฒนาการอยู่แล้ว ได้ง่ายกว่า DNA ไวรัส การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่ทุกคนมุ่งมองไปในส่วนที่เป็นหนามแหลม ยื่นออกมาเรียกว่า Spike นั่นเอง

ในส่วนนี้ที่มีการพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากกรดอะมิโนแอสพาราจีน เป็น ไทโรซีน ในตำแหน่งที่ 501 เพราะตำแหน่งนี้เป็นส่วนที่ไวรัส จะมายึดเกาะกับเซลล์ของมนุษย์ ในส่วนที่เรียกว่า ACE2 ถ้าเกาะได้ดี ก็จะติดเชื้อง่าย ถ้าเกาะไม่ดีก็จะติดเชื้อยากกว่า จึงให้ความสนใจ

ส่วนที่ 2 มีการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 ที่อาจจะทำให้รูปร่างของโปรตีนหนามแหลม เปลี่ยนรูปไป และ เกรงว่าไวรัสจะหลบหนีระบบภูมิต้านทาน หรือ วัคซีน

ส่วนที่ 3 คือการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจาก โพรลีน ไปเป็น ฮีสติดีน ในตำแหน่ง ที่ 681 เกี่ยวข้องกับการที่หลังไวรัสเกาะติดกับเซลล์มนุษย์แล้ว จะต้องใช้ เอนไซม์ของมนุษย์ ในการตัด เพื่อให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้โดยหลักการ การเกาะติดกับกับเซลล์มนุษย์แล้ว ไวรัสจะเข้าเซลล์ ต้องมีเอนไซม์มาตัดปลดปล่อยการเกาะนั้น เหมือนกับว่าถ้าตัดได้ดีก็จะเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาถึงปัจจุบันเป็นเพียงสันนิษฐานทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีการศึกษาในแนวรุกต่อไป และข้อมูลในปัจจุบันไวรัส ที่พบกลายพันธุ์ ก็ยังสามารถจับได้ดีกับระบบภูมิต้านทาน และวัคซีนที่มีอยู่ หรือกล่าวว่า วัคซีนที่มีอยู่ยังใช้ได้ดีกับไวรัสกลายพันธุ์นั้นเอง ส่วนการติดง่ายหรือยาก ก็ยังต้องการการศึกษาในแนวลึกต่อไป และแน่นอนไวรัสที่กลายพันธุ์ออกไป ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าไวรัสนี้จะทำให้โรครุนแรงขึ้น หรือน้อยลง เพราะฉะนั้นในขณะนี้ยังไม่ต้องตกใจไปเกินเหตุ อย่างที่เป็นข่าวออกมา

cr : FB Pat Hemasuk

อีกด้านหนึ่ง นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol ระบุว่า…”ขอเราทั้งหลายอย่าตกใจกลัวจนเกินการ!!! จงทำความเข้าใจให้ถูกตรงกันว่า!!!! โคขวิดเป็นโรคที่รักษาให้หายได้*** แต่ถ้าไม่รักษาก็มีโอกาสตาย!!! เป็นโรคชนิดที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า “รักษาก็หาย ไม่รักษาก็ตาย” และประเทศไทยมียาที่รักษาให้หายได้ในเวลา 4 วัน ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขลงวันที่ 29 มีนาคม 63!!! ส่วนยาที่ใช้ในขณะนี้ รักษาให้หายได้ในเวลา 12-14 วัน หรือถ้าใช้พลาสม่ารักษาที่สภากาชาดไทยก็หายได้ในเวลา 48 ชั่วโมง!!!

ดังนั้นสหรัฐอเมริกาซึ่งผู้คนเขาไม่ได้โง่ เขาจึงทำความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นหลัก เขาจึงไม่ล็อกดาวน์ประเทศ!!!! โดยถือว่าใครป่วยก็รักษากันไป เหมือนกับการรักษาไข้หวัดใหญ่ เพราะการป้องกันไม่ให้ระบาดนั้นเป็นเรื่องยากมากและเสียหายไม่คุ้มกัน!!!! การต่อสู้ที่แท้จริงในขณะนี้คือ การต่อสู้กับขบวนการวัคซีนและขบวนการหากินกับโคขวิด ที่ปั่นกระแสข่าวแต่การแพร่ระบาดอย่างเดียว และให้ถือเอาวัคซีนเป็นสรณะอย่างเดียว ไม่พูดถึงการรักษาที่ได้ผลในทั่วโลกครับ!!!”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img