วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightแรงงานเฮ! คณะกรรมการไตรภาคีปรับขึ้นค่าแรง 3-8%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แรงงานเฮ! คณะกรรมการไตรภาคีปรับขึ้นค่าแรง 3-8%

“ปลัดกระทรวงแรงงาน” ยืนยันคณะกรรมการไตรภาคีเห็นชอบปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ย 3-8% สูงสุดประมาณ 20 กว่าบาทขึ้นอยู่กับฐานค่าจ้างเดิม

เมื่อวันที่ 7ส.ค. 65 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้าง (คณะกรรมการไตรภาคี) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันของคณะกรรมการไตรภาคีมาหลายครั้ง คุยกันมาตลอด ล่าสุดคณะกรรมการวิชาการได้มีการหารือสรุปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการไตรภาคีในปลายเดือนส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เบื้องต้นจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ย 3-8% หรือประมาณ สูงสุดประมาณ 20 กว่าบาท แต่ละจังหวัดจะไม่เท่ากัน โดยจะคำนวณจากฐานค่าจ้างเดิมด้วย ซึ่งจะอยู่ที่ 313-336 บาท ห่างกัน 23 บาท แบ่งออกเป็น 20 ช่วง แต่ของใหม่ที่จังหวัดทำเสนอเข้ามานั้นมีประมาณ 30 ช่วง ซึ่งย่อยมาก ตอนนี้กำลังดูว่าจังหวัดที่อยู่ใกล้กันอาจจะมีการปรับนิดหน่อย ตัวเลขตอนนี้เลยยังไม่นิ่ง แต่ก็อยู่ที่ประมาณนี้ตามอัตราเงินเฟ้อ 5-7% แต่ก็อยู่ที่ฐานของแต่ละจังหวัดด้วย

นายบุญชอบ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่กรรมการจะพิจารณา ซึ่งอาจจะเคาะในการประชุมที่จะถึงปลายส.ค.นี้เลย หรือหากยังไม่ลงตัวก็อาจจะยังไม่เคาะ แล้วมาหารือกันอีกรอบ สองรอบก็ได้ แต่ยืนยันว่ามีการปรับขึ้นแน่นอน พูดตรงๆ ในส่วนลูกจ้างก็อยากให้ปรับเร็ว นายจ้างก็อยากจะปรับช้า แต่ในที่ประชุม ซึ่งมีทั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ แบงค์ชาติอยู่ ก็ต้องฟังรอบด้าน เพราะไม่ว่าจะขึ้นน้อย ขึ้นมาก หรือไม่ขึ้นเลยต่างก็มีผลกระทบเศรษฐกิจปากท้องทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องรอบคอบ ว่าหากไปแนวทางนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วรัฐบาลจะมีมาตรการอะไรออกมารองรับบ้าง เป็นต้น

“การขึ้นค่าจ้าง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สินค้าขึ้นราคา แต่ตอนนี้ถึงไม่ขึ้นค่าจ้าง สินค้าก็ขึ้นราคาแล้วเพราะมีปัจจัยจากทั้งเงินเฟ้อ น้ำมันแพง ค่าไฟแพง และแน่นอนค่าแรงก็เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ค่าแรงขึ้น แต่ต้องเรียนว่าเราเจอโรคโควิดมา 2 ปี คณะกรรมการฯ บอกว่ายังไม่พิจารณาเพราะเราอยู่ในช่วงเศรษฐกิจที่แทบจะนิ่ง แต่ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เรามีมติว่าปีนี้จะต้องขึ้น เพียงแต่สถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างแรกๆ เงินเฟ้อไม่เยอะ กลางปีกลับสูงมาก ตอนนี้ก็เริ่มลดลงอีกแล้ว แง่เศรษฐกิจที่ตกตอนนี้ก็เริ่มขึ้นแล้ว ดังนั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการไตรภาคี แต่จะพยายามให้เสร็จภายในเดือนนี้ หรือไม่เกินต้นเดือนหน้า” นายบุญชอบ กล่าว

เมื่อถามย้ำว่าเนื่องจากระยะนี้สินค้าเพิ่งขึ้นราคาไป ดังนั้นการขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ต้องคุยกับกระทรวงพาณิชย์เรื่องการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นอีกระลอกหรือไม่ นายบุญชอบ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแยกกัน ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ก็อยู่ในกรรมการไตรภาคีด้วย และคิดว่ารัฐบาลมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ส่วนทางเราก็ดูตัวเลข ความจำเป็น ความสามารถของนายจ้าง ความต้องการของลูกจ้าง เอามาแมตช์กัน และการพิจารณากูใช้สูตร ILO ที่เป็นมาตรฐานยอมรับของทุกฝ่าย

เมื่อถามถึงจังหวัดที่จะมีการปรับค่าจ้างสูงสุด นายบุญชอบ กล่าวว่า หลักการต้องดูจากฐานเก่า เช่น ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง กรุงเทพฯ อยู่ในเรตค่าจ้างสูง 330 บาทขึ้นไป ถ้าคิดง่ายๆ ว่าขึ้น 5% ก็ต้องขึ้นไปสูงอีก ย้ำว่านี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างแต่ตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจังหวัดไหนจะได้เพิ่มเท่าไหร่ เพราะคราวนี้มีบางจังหวัดเสนอสูงโด่งไปมากว่า 492 บาท ซึ่งในความเป็นจริงทำได้ยาก ก็ต้องคุยกันให้

เมื่อถามว่า เนื่องจากแต่ละจังมีค่าครองชีพสูงขึ้น จึงมีข้อเสนอว่าควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั้งประเทศ นายบุญชอบ กล่าวว่า หลักคิดอย่างที่บอก และต้องดูว่าบางจังหวัดพื้นฐานคือการทำเกษตรกรรม หากไปดันค่าแรงจังหวัดนั้นเท่ากับจังหดภูเก็ต ชลบุรี ระยอง กรุงเทพฯ ก็จะเกิดปัญหา นายจ้างอยู่ลำบาก ต้องดูความสามารถในการจ่ายของนายจ้างด้วงย ดังนั้นหลักคิดที่ว่าค่าแรงเท่ากันทั้งประเทศนั้นเป็นไปได้อยาก เช่น กรณีปี 2556 ที่ขึ้นมาเป็น 300 บาททั้งประเทศ สุดท้ายตัวเลขห่างกันออกไปเรื่อยๆ ในความเป็นจริงเท่ากันทั้งประเทศไม่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img