วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlightโหวตเลือกนายกฯคนที่ 30-ลงมติ 5 โมง “ชาดา”เดือดเตือน“ก.ก.”อย่าหลงระเริง!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โหวตเลือกนายกฯคนที่ 30-ลงมติ 5 โมง “ชาดา”เดือดเตือน“ก.ก.”อย่าหลงระเริง!!

รัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ คนที่ 30 “ชลน่าน”เสนอชื่อ “พิธา” ไร้คู่แข่ง เริ่มลงมติ 5 โมงเย็น โดย “ประพันธ์” ชี้ “พิธา” เป็นบุคคลต้องห้าม ขาดคุณสมบัติไม่สมควรเป็นนายกฯ เตือน “ส.ส.-ส.ว.” อย่าฝืนลงมติ ด้าน ‘ชาดา’เดือดแต่หัววัน! ลั่น’อยากออกกฎหมายยิงคนหมิ่นสถาบันแล้วไม่ติดคุก’

เมื่อเวลา 09.30น. วันที่ 13 ก.ค.66 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีวาระสำคัญที่สำคัญคือการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

โดยนายวันมูหะมัดนอร์ ได้แจ้งเปิดประชุม พร้อมกล่าวต่อสมาชิก วันนี้ตนทำหน้าที่การประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งแรก ยืนยันว่าตนจะทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง และทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ประชาชน ประเทศชาติ เกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามการปฏิบัติหน้าที่ของตนอาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง ตนพร้อมรับความคิดเห็นติชมของสมาชิกตลอดเวลาซึ่งการประชุมจะมีประสิทธิภาพตามที่ประชาชนคาดหวังไว้ได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายของรัฐสภา

ประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรอบเวลาอภิปรายจากที่ได้มีการหารือกับตัวแทนวุฒิสภา และตัวแทนพรรคการเมืองทั้ง18พรรคการเมืองว่า หลังมีการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วจะมีการเปิดให้อภิปรายคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี คือ ส.ว.ได้เวลา 2 ชั่วโมง ส.ส.ได้เวลา 4 ชั่วโมง โดยจะให้อภิปรายเป็นรายพรรคการเมือง ทั้ง 18 พรรคการเมืองแบ่งเป็น 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล จะได้เวลาอภิปรายไม่เกิน 2 ชั่วโมง และการอภิปรายคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนเวลา 17.00 น. จากนั้น จะมีการโหวตนายกรัฐมนตรีต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทก่อนเริ่มการประชุม เจ้าหน้าที่หน่วยตรวจระเบิดได้ทำการเข้าพื้นที่ในห้องประชุมรัฐสภาเพื่อตรวจวัตถุต้องสงสัยก่อนที่จะมีการประชุมร่วมเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี ในเวลา 10.00 ณ ห้องประชุมอาคารรัฐสภา ขณะที่บรรยากาศในส่วนของพรรคก้าวไกล พบว่า ส.ส.หญิงแต่งกายโดยมีชุดสีส้ม อาทิ เสื้อสูท ส่วนส.ส.ชาย ผูกเนคไทสีส้ม เพื่อเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์

ต่อมาในเวลา 10.00น. ได้เริ่มเข้าสู่วาระการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเป็นตัวแทน 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้รับรองถูกต้อง จากนั้นนายวันมูหะมัดนอร์ ได้เปิดให้สมาชิกแสดงตนผ่านการเสียบบัตร

ด้านนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทยได้ลุกขึ้นอภิปรายในสภาฯซึ่งในบางช่วงของการอภิปราย ชาดากล่าวว่า “เขาบอกว่าฝั่งนู้นฝั่งประชาธิปไตย แล้วฝั่งผมมาจากไหนวะเนี่ย ผมก็เดินหาเสียง กลัวสอบตกเหมือนกันครับท่าน ไม่ใช่ว่าลุงตู่แต่งตั้งผมมา หรือคณะ คสช.ที่ไหนแต่งตั้งผมมา

“ผมก็เลือกตั้งมาเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ฝั่งประชาธิปไตย ฝั่งไหน ฝั่งโจรเหรอ เป็นโจรก็ยอมครับ เป็นโจรที่รักชาติ เป็นโจรที่รักสถาบัน เป็นโจรที่ปกป้องบ้านเมืองนี้ และปกป้องสถาบันด้วยหัวใจ ด้วยเลือดเนื้อของผม”

ตลอดการอภิปราย นายชาดาได้เน้นย้ำประเด็นนโยบายแก้ไข ม.112 ของพรรคก้าวไกล และกล่าวว่า 14 ล้านเสียงที่ลงคะแนนให้พรรคก้าวไกลนั่น “ไม่ใชเทวดา” แต่เป็นเสียงของประชาชนไม่ถึง 20% โดยกล่าวว่า “ท่านอย่าหลงละเลิงคำว่า 14 ล้านเสียง เพราะมันไม่ถึง 20% มันไม่ใช่เรื่องชี้ขาดของประเทศนี้”

นอกจากนี้ ในช่วงหนึ่งของการอภิปราย นายชาดา ยังได้กล่าวเคล้าอารมณ์ว่า “ถ้าท่านปล่อยให้คนด่าแล้วไม่มีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเทศไทยจะยิงกันหมด ผมอาจจะขอเขาว่า ขอออกกฎหมายใหม่ยิงคนที่หมิ่นสถาบันแล้วไม่ติดคุก” นายชาดากล่าว

ต่อมาในเวลา 10.45 น.นายประพันธ์ คุณมี ส.ว. ได้อภิปรายว่า วันนี้เป็นวันที่มีความหมายและมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะชี้อนาคตของบ้านเมืองที่สมาชิกรัฐสภาจะได้ทำหน้าที่สำคัญในการที่จะลงมติให้ผู้ที่สมควรเป็นนายกฯ แม้จะเสนอบุคคลเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 แต่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 และมาตรา 160 และถือว่าสิ้นสมาชิกภาพส.ส.แล้ว ดังนั้นการที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อบุคคลที่ไม่ชอบตามข้อบังคับและรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งที่รู้ว่ามีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ แม้จะไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหานี้ไม่ต้องรอให้ศาลวินิจฉัย วิญญูชนทั่วไปก็สามารถวินิจฉัยเองได้ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ

“ไม่จำเป็นต้องไปถามศาล แต่กลับไม่ยอมรับ รู้อยู่แล้วว่าไม่ชอบกฎหมายแต่ก็ยังฝ่าฝืนที่จะลงมติ มันจะเป็นปัญหาร้ายแรง และเมื่อสภาเห็นชอบแล้วจะนำความกราบบังคมทูลฯจะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทหรือไม่ ฝากทุกคนช่วยกันพิจารณา ส่วนส.ว.ที่จะลงชื่อสนับสนุนก็จะผิดข้อบังคับที่ 7 และข้อ 44 ดังนั้นการกระทำดังกล่าวทั้งที่รู้ข้อเท้จจจริงว่าขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าไม่สมควร ผมขอคัดค้านนายพิธา เป็นนายกฯ ส่วนความไม่เหมาะสมอื่น ๆมีหลายเรื่องหลายประเด็นที่ไม่มีความเหมาะสมที่จะไปบริหารประเทศ ทั้งชักศึกเข้าบ้าน ปลุกปั่น จึงเป็นบุคคลที่จะเสนอให้เป็นบุคคลที่จะเป็นนายกฯ” นายประพันธ์ ระบุ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img