วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
หน้าแรกNEWS‘สส.ก้าวไกล’ร้องผู้ตรวจฯวินิจฉัยข้อบังคับ 41 ลงมติค้านส่งชื่อ‘พิธา’เป็นนายกฯ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สส.ก้าวไกล’ร้องผู้ตรวจฯวินิจฉัยข้อบังคับ 41 ลงมติค้านส่งชื่อ‘พิธา’เป็นนายกฯ

สส.ก้าวไกล ร้องผู้ตรวจฯ วินิจฉัย ประธานสภา พร้อม ส.ส. 394 อ้างข้อบังคับ 41 ลงมติค้านส่งชื่อ “พิธา” เป็นนายกฯ ด้าน ผู้ตรวจการแผ่นดินถกด่วน คาดพิจารณาคำร้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความปมเสนอชื่อ “พิธา” ซ้ำไม่ได้

เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน น.ส.ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สส.นนทบุรี พรรคก้าวไกล ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองให้พิจารณาวินิจฉัยว่าคำวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและการลงมติของสมาชิกรัฐสภาจำนวน 394 คน ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 ที่เห็นชอบว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ซึ่งตนในฐานะผู้ร้องได้เข้าชื่อร่วมกับ ส.ส.ก้าวไกลอีก 16 คน ในฐานะผู้ที่มีส่วนได้เสียกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคก้าวไกล ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาวินิจฉัยกรณีการให้ความเห็นชอบเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี เข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ซึ่งผู้ร้องเรียนเห็นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรมาตรา 213

มีรายงานว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้นัดประชุมด่วนในช่วงเช้าวันนี้ (24 ก.ค.) เพื่อหารือวาระสำคัญ คาดว่าน่าจะเป็นคำร้องของ 2 นักวิชาการที่ขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการลงมติของที่ประชุมรัฐสภาว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นการเสนอญัตติซ้ำ หลังนายพรชัย เทพปัญญา นักวิชาการอิสระและนายบุญส่ง ชเลธร อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 เข้าชื่อเพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการที่ที่ประชุมรัฐสภา ในวันที่ 19 ก.ค.มีมติว่าการเสนอชื่อนายพิธา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาลงมติเป็นนายกฯ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อที่ 41 เป็นการเสนอญัตติซ้ำนั้นเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็ขอให้มีคำสั่งไปยังที่ประชุมรัฐสภาให้ยุติการเลือกนายกฯ ออกไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

โดยคำร้องของนักวิชาการทั้ง 2 ระบุว่า การลงมติของที่ประชุมรัฐสภาว่าไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำโดยอ้างข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 มองว่ารัฐธรรมนูญกำหนดการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 และตราบใดที่กระบวนการเลือกเลือกนายกฯ ยังไม่เสร็จสิ้น ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ย่อมสามารถถูกเสนอชื่อได้เรื่อยๆ ดังนั้นมติที่ประชุมรัฐสภาจึงเท่ากับรัฐธรรมนูญถูกละเมิดโดยข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 หรือไม่ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทั้งนี้ในเวลาประมาณ 14:30 น ผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีการแถลงผลการประชุม

นายทรงศักดิ์ สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดินกล่าวถึงการนัดประชุมด่วนของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในเวลา 12.00 น. เพียงสั้นๆว่าเป็นการประชุมนัดแรก จะต้องมาดูข้อมูลและประเด็นต่างๆ ที่ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รวบรวมตามคำร้องที่มีผู้มายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยจะต้องหารือกันก่อนว่ามีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ จึงขอยังไม่ให้ความเห็น.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img