วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight"ก.ก."ดิ้นชงร่างพ.ร.บ.ฉุกเฉินต้องขออนุมติจาก'ครม.-สภาฯ'หวังตรวจสอบถ่วงดุล
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ก.ก.”ดิ้นชงร่างพ.ร.บ.ฉุกเฉินต้องขออนุมติจาก’ครม.-สภาฯ’หวังตรวจสอบถ่วงดุล

“ก้าวไกล” ดันชงร่าง พ.ร.บ.ฉุกเฉิน กำหนดต้องขออนุมติจาก”ครม.-สภาฯ” หวังตรวจสอบถ่วงดุล เอาผิดจนท.ทำผิดได้ ใช้อำนาจเป็นที่ยอมรับ ทวงสส.”เพื่อไทย” ช่วยสนับหนุนคงไม่เปลี่ยนใจ

วันที่ 21 ก.ย. 2566 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พร้อม สส.พรรคก้าวไกล แถลงข่าวยื่นร่าง พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ… เข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า สืบเนื่องมาจากการตั้งกระทู้ถามสดต่อนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี หยิบยกปัญหาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้ มีมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีการประกาศใช้ในสถานการณ์ทางการเมืองหลายครั้ง และใช้ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 โดยใช้ในลักษณะการปราบปรามผู้ชุมนุมเห็นต่างทางการเมือง โดยการประกาศใช้ปราศจากการถ่วงดุลตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ปัญหาทั้งหมดที่มีจึงเสนอร่างพ.ร.บ.บริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้มีกฎหมายทำให้สภาฯ สามารถตรวจสอบฝ่ายบริหาร

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1.การประกาศ พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ ยังคงอำนาจนายกรัฐมนตรีในการประกาศ มีเงื่อนไขต้องขออนุมัติ ครม.ภายใน 3 วัน และต้องขออนุมัติจากสภาฯ ภายใน 7 วัน เพื่อให้ สส.ตรวจสอบ 2.ในการขออนุมัติจากสภาฯ รัฐบาลต้องทำแผนชี้แจงเพื่อให้เห็นว่าจะแก้วิกฤตสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างไร แก้วิกฤตได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาสภาฯไม่เคยรับรู้ 3.พ.ร.ก.ฉุกเฉินปัจจุบัน ศาลปกครองไม่มีอำนาจตรวจสอบ และกฎหมายเสนอนั้นให้อำนาจ ประธานสภาฯ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กสม.สามารถร้องศาลปกครองว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีเหตุให้ประกาศหรือไม่ และ 4. ในกฎหมายนี้หากเป็นการใช้อำนาจไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้

“หลักการเสนอกฎหมายหลักการสากล เพื่อให้ประเทศไทยนำไปสู่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ควบคู่กับการใช้อำนาจพิเศษ โดยหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน สส. โดยเฉพาะ สส.พรรคเพื่อไทย แม้ขณะนี้พรรคเพื่อไทย เป็นรัฐบาลแล้วจะไม่ทำให้จุดยืนเรื่องนี้เปลี่ยนไป จากที่เคยสนับสนุน รัฐบาลยังมีอำนาจใช้กฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อยู่ สามารถใช้ควบคู่กับร่างกฎหมายที่เสนอเข้าสู่สภาฯฉบับนี้ ให้อำนาจรัฐสภาตรวจสอบความจำเป็นในการประกาศ ซึ่งกำหนดไว้ 30 วัน และสามารถต่ออายุได้ โดยประเทศต่างๆ ก็เป็นเช่นนี้ กรอบเวลาทำให้มั่นใจมันต่อสถานการณ์ที่จะแก้วิกฤตได้ เชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะส่งเสริมให้รัฐบาลใช้อำนาจเป็นที่ยอมรับ”นายรังสิมันต์ กล่าว

ด้านนายรอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายฉบับสำคัญ ก็หวังว่าเพื่อนสส. โดยเฉพาะ สส.ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีฉันทามติร่วมกันในร่างกฎหมายฉบับนี้และคาดหวังว่ากฎหมายจะเปลี่ยนโฉมหน้าระบบราชการของประเทศ

เมื่อถามว่า เมื่อแก้ไขเป็นพ.ร.บ.ฉุกเฉิน จะตรงตามเจตนารมณ์ในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า หรือบังคับใช้ไปตลอด นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ปกติเรามีพ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว ซึ่งคล้ายกับกฎหมายฉบับนี้ แต่จุดเริ่มต้นเป็นการอาศัยเครื่องมือของรัฐบาล ซึ่งสภาเห็นชอบและคงบังคับใช้ต่อ แต่ความแตกต่างของกฎหมายฉบับนี้คือเนื้อหาของพ.ร.บ.ฉุกเฉินฉบับนี้ จะให้อำนาจสภาในการรีวิวว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลมีความจำเป็นจริงๆ หรือไม่ แต่หากประการศโดยที่ไม่มีแผนอะไร ก็ต้องบอกวิธีการให้กับสภา ว่าจะแก้อย่างไร ด้วยเวลาเท่าไหร่ แม้พ.ร.บ.ฉุกเฉินจะอนุญาตให้ต่อการใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน แต่ก็สามารถต่ออีกได้ เพียงแต่ต้องขออนุญาตสภา ไม่มีทางที่เราจะให้อำนาจพิเศษไปอยู่กับรัฐบาลโดยปราศจากการตรวจสอบ ดังนั้น ตนจึงคิดว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้รัฐบาลมีความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับ ตรวจสอบได้ และเป็นผลดีต่อรัฐบาลเอง

เมื่อถามว่ากรอบการขยายเวลาที่ลดจาก 60 วัน เหลือเพียง 30 วัน จะทำให้การบริหารราชการติดขัดหรือไม่ กล่าวว่า ต้องบอกว่าเวลาไม่สั้น เพราะในกระบวนการนั้น ตนเชื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง รัฐบาลมีความชอบธรรม อย่างไรสภาก็คงต้องยอมรับไม่ขัดขวาง เพราะประชาชนจะลงโทษเอง ตนคิดว่า 30 วันเป็นเวลาที่เหมาะสม อนึ่งรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาอยู่แล้ว เราคงไม่สามารถประวิงเวลาได้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐบาลใช้อำนาจไปในทางที่ไใ่ชอบ ไม่มีแผนงานที่ชัดเจน ที่อาจะเกิดการท้วงติงได้ แต่หากคิดในแง่ของประประชาชนที่ต้องการความชัดเจน และรู้ว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหานี้อย่างไร หลายครั้งที่เราเจอวิกฤตแล้วรัฐบาลไม่มีคำตอบที่ชัดเจน สุดท้ายประชาชนก็ต้องสวดมนต์ให้กับตัวเองเพื่อหาทางออก ส่วนหากมีเหตุฉุกเฉินจริง ก็สามารถประกาศได้ทัน เพราะนายกรัฐมนตรีสามารถประกาศได้ทันที ภายใน 3 วัน เมื่อผ่านครม. แล้ว

เมื่อถามว่า ได้คุยกับพรรคเพื่อไทยในเรื่องนี้แล้วหรือยัง นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ไม่ได้คุยเป็นทางการ แต่ตนคิดว่าเราได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจน ว่าเรามีจุดยืนอย่างไร

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img