วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
หน้าแรกNEWS“วันชัย”บอกไม่จำเป็นต้องแก้ลดหลักเกณฑ์ออกเสียงประชามติ เหตุไม่ได้ขวางแก้รธน.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วันชัย”บอกไม่จำเป็นต้องแก้ลดหลักเกณฑ์ออกเสียงประชามติ เหตุไม่ได้ขวางแก้รธน.

“วันชัย”บอกไม่เห็นด้วยแก้กม.ประชามติ ชี้หลักเกณฑ์ออกเสียงไม่เป็นอุปสรรค-ขวางแก้รธน.

วันที่ 15 พ.ย.2566 นายวันชัย สอนศิริ สว. ฐานะประธานคณะทำงานติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่มีข้อเสนอต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เพื่อลดเกณฑ์การออกเสียงเรื่องที่จะผ่านประชามติจากเดิมต้องใช้เกณฑ์มีผู้มาออกเสียงเกิน 50% ของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ และผู้มาออกเสียงประชามติ ว่า ตนในฐานะอดีตกมธ.ร่วมรัฐสภา ที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติในรัฐสภาชุดที่ผ่านมา ไม่เห็นเหตุของความจำเป็นของการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว อีกทั้งในการพิจารณาประเด็นดังกล่าวนั้นได้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะหากมีผู้ออกมาใช้สิทธิ หรือออกเสียง เพียง 20% – 30% อาจจะถือว่าการประชามตินั้นไม่ชอบได้

“ผมไม่เห็นปัญหาหรืออุปสรรคใด หรือปัญหาที่จะทำให้แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ ด้วยเหตุของเนื้อหาของกฎหมายประชามติ ซึ่งหลักเกณฑ์เรื่องการมาใช้สิทธิออกเสียงที่กำหนดไว้ในกฎหมายประชามติที่เพิ่งบังคับใช้นั้น เพื่อให้เกิดความชอบธรรมต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากจะลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์และอาจจะกระทบต่อผลของการออกเสียงประชามติที่ลดลงได้” นายวันชัย กล่าว

นายวันชัย กล่าวด้วยว่าตนมองว่าเหตุผลที่ฝ่ายผู้เปิดประเด็นดังกล่าว หรือ พรรคการเมืองที่ออกมาสนับสนุนนั้น เป็นมุมมองเรื่องการเมือง ไม่มีประโยชน์สำหรับประชาชนหรือประเทศ เพราะในหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้น สาระสำคัญเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ส่วนตัวมองด้วยว่าหากจะแก้ไขอาจจะทำให้ยืดเวลาการแก้รัฐธรรมนูญออกไป จากเดิมที่อาจจะใช้เวลาแค่สมัยของรัฐบาลปัจจุบัน

เมื่อถามถึงการตั้งคำถามประชามติ ที่ขณะนี้พบว่ามีข้อเสนอให้เป็นประเด็นพ่วง เช่น ไม่แก้หมวด 1 และ หมวด2 , ที่มาของ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นายวันชัย กล่าวโดยเชื่อว่า การตั้งคำถามประชามติต้องมาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งหารือร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องเป็นคำถามแบบง่าย และไม่จำเป็นต้องมีประเด็นหรือคำถามพ่วง เช่น เห็นด้วยหรือไม่ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ โดยส.ส.ร. ส่วนประเด็นย่อยที่เกิดขึ้นนั้น คือ รูปแบบของการรับฟังความเห็นของอนุกรรมการรับฟังความเห็นเพื่อนำไปประกอบการศึกษาแนวทางการทำประชามติเท่านั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img