วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกHighlightสว.ถกรายงานผู้หนีภัยเมียนมาห่วงยืดเยื้อ “ถวิล”เสนอประเมินสถานการณ์เป็นระยะ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สว.ถกรายงานผู้หนีภัยเมียนมาห่วงยืดเยื้อ “ถวิล”เสนอประเมินสถานการณ์เป็นระยะ

กมธ.การต่างประเทศ วุฒิฯรายงานผู้หนีภัยชาวเมียนมาในไทย สว.ห่วงสถานการณ์ยืดเยื้อ “ถวิล” ยันไทยไม่ปล่อยให้กองทัพเมียนมาใช้ดินแดนตั้งฐานทัพได้ ย้ำไทยวางท่าทีเป็นกลาง ชงฝ่ายความมั่นคงต้องประเมินสถานการณ์เป็นระยะ แนะรัฐบาลหามาตรการรองรับเพิ่มเติมการหนี้ภัยที่ทะลักเข้าไทย แนวทางแก้ปัญหาชาวไทยที่ได้รับผลกระทบ การบุกพื้นที่ป่า เตือนคนไทยระวังใช้โซเชียลหวั่นปะทะในประเทศ

เมื่อวันที่ 9 เม.ย.67 เวลา 10.00 น.มีการประชุมสภา ที่มีนายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นประธานในที่ประชุม ได้พิจารณารายงานพิจารณาศึกษา เรื่องผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาและผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาในประเทศไทย ที่คณะกรรมธิการการต่างประเทศพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายถวิล เปลี่ยนศรี สว. ในฐานะอนุกรรมกรรมาธิการฯ และนายสิงคิ์ วิเศษพจนกิจ กรรมาธิการ ได้แถลงผลการรายงานว่า มีผู้ลี้ภัย 2 กลุ่มที่อยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวชายแดนไทยเมียนมา 9 แห่ง ประมาณ 77,800 กว่าคน ซึ่งเกิดปัญหาในการควบคุมดูแลซึ่งมีสถานะทางกฎหมายเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองที่ยังไม่สามารถส่งกลับประเทศได้ ซึ่งเป็นปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ ปัญหาการดูแลซึ่งผู้หนีภัยการสู้รบที่เกิดขึ้นใหม่อาจมีปัญหาเรื่องสัญชาติและการเลี้ยงชีพในอนาคต และยังมีปัญหาเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน

โดยที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยสู้รบในเมียนเข้ามาไทย เดินเหมือนกัน 3 แนวทาง คือ แก้ไขปัญหาที่ประเทศต้นเหตุ โดยโดยหารือกับทางรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ในการส่งกลับมาตุภูมิแต่จะทำสถานการณ์ปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยในการต่อยอดเรื่องนี้ /การส่งกลับประเทศด้วยความสมัครใจซึ่งมีการส่งกลับแล้ว 4 ครั้งรวมกว่า 1,000 คนและส่งไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เป็นต้น

นายสิงคิ์ กล่าวว่า ผู้หนีภัยจากความไม่สงบจากเมียนมา นับแต่กองทัพเมียนมาได้เข้าควบคุมการบริหารประเทศจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และมีการปราบปรามกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยซึ่งความขัดแย้งได้ขยายขยายตัวไปในหลายกลุ่มส่งผลให้ชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชนชาติกะเหรี่ยงและคะยา โดยมีการเดินทางเข้ามาในไทยช่วงปี 2564 และ 2565 กว่า 10,000 คน ปัจจุบันได้เดินทางกลับเมียนมาหมดแล้ว นอกจากนี้มีข้อพิจารณาเรื่องหนึ่งว่า สถานการณ์ในเมียนมา ปัจจุบันไม่เอื้อต่อการส่งผู้หนีภัยจากการสู้รบกลับเข้าเมียนมาได้ อีกทั้งยังเกิดการอพยพหนีความไม่สงบของคนเมียนมาเข้ามาในประเทศไทย จึงมีมีความจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขไม่ให้เป็นปัญหายืดเยื้อ แม้ว่าวิธีการการแก้ไขจะอำนวยความสะดวกให้เดินทางกลับโดยสมัครใจและส่งไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงได้ จึงสมควรพิจารณาหากมีมาตรการอื่น เช่น การพิจารณาอนุญาตให้ออกมาประกอบอาชีพได้และการพิจารณาสถานะทางกฎหมาย อย่างที่รัฐบาลไทยเคยดำเนินการต่อบุคคลที่อยู่อยู่บนพื้นที่สูง

นายสิงคิ์ กล่าวว่า ยังมีข้อเสนอแนะให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ร่วมกันศึกษาและทบทวนแนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยสู้รบจากเมียนมา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและครอบคลุมทุกมิติ โดยไม่ให้ปัญหานี้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง และให้กองทัพและฝ่ายปกครองดำรงแนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาไว้ เช่น การปฎิบัติการด้านการข่าว การควบคุมควบคุมผู้หนีภัยสู้รบในเมียนมาไว้ในพื้นที่พักรอตามหลักมนุษยธรรมแยกกลุ่ม คุ้มครองโรคระบาดเลี้ยงดูขั้นพื้นฐานและส่งกลับภูมิลำเนาในเขตเมียนมาเมื่อสถานการณ์ปลอดภัย พร้อมทั้งควบคุมดูแลกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเมียนมาในพื้นพื้นที่ไม่ให้มีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมา เกี่ยวกับสถานการณ์ผู้หลบหนีเข้าเมืองมี 4 กลุ่ม ประมาณ 5 ล้านคน คือ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะสิทธิของบุคคล-กลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย-กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มเปราะบางต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-และกลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นๆ

พล.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายว่า การแบ่งจำแนกเรื่องผู้หนีภัยมีความซับซ้อน ระหว่างผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาและผู้หนีภัยจากความไม่สงบ โดยเฉพาะเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างประเทศมหาอำนาจจีนกับอินเดีย บทบาทการคานระหว่างประเทศมหาอำนาจ และสถานการณ์มีการแทรกแซงจากภายนอก คาดว่าจะทำให้สถานการณ์ยืดเยื้อออกไป จึงทำให้เห็นว่าผู้หลบหนีการสู้รบดังกล่าวจะลดน้อยลงได้อย่างไร โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการ 2 ข้อ เรื่องการศึกษาทบทวนแนวทางแก้ไขปัญหาและให้ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจากการปฎิบัติการด้านการข่าวและการควบคุมผู้ลี้ภัยความไม่สงบในเมียนมา ในพื้นที่พักรอตามหลักมนุษยธรรม นอกจากนี้ยังเสนอแนะถึงการประเมินสถานการณ์และแนวทางการแก้ระดับมหาภาคเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะเป็นประเทศเดียวจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการหนีภัยความไม่สงบในเมียนมา

นายสุรสิทธิ์ ตรีทอง สว. อภิปรายเรื่องของการบริหารจัดการในศูนย์พักพิงชั่วคราว เรื่องของการรักษาพยาบาล ทำให้เกิดการใช้บริการแออัดในสถานพยาบาลใกล้เคียง และการเพิ่มของจำนวนผู้หนีภัยชาวเมียนมาเพิ่มเติม ที่ไม่ได้ลดลงแม้จะมีการส่งไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม สอดคล้องกับนายปานเทพ กล้านรงค์ราญ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายว่า การหนีภัยสู้รบในเมียนมาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถือเป็นภาระที่จำยอมภายใต้หลักมนุษยธรรม ส่วนที่เครื่องบินเมียนมามาจอดในประเทศไทยโดยอ้างว่ารับส่งประชาชนผู้อพยพแต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อมูลว่าเป็นทหารระดับนายพล และเจ้าหน้าที่ด้านศุลกากร ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่รัฐบาลชี้แจงและได้รับ และเห็นว่าสถานการณ์ในเมียวดี ที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานความมั่นคงเรื่องของท่าทีของไทยที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ที่จะต้องอธิบายต่อนานาชาติ

นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต สว. อภิปรายว่า เชื่อว่ารัฐบาลไทยวางฉากทัศน์ไว้แล้ว ซึ่งหากปัญหายังไม่สงบลงอาจจะมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น หรือมีจำนวนผู้ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงรัฐบาลพลัดถิ่น ซึ่งปัญหาอาจไม่ใช่แค่เรื่องมนุษยธรรม รวมถึงประเทศมหาอำนาจที่เข้าไปแทรกแซง ทั้งจีนหรืออินเดีย อาจจะทำให้ผู้ลี้ภัยทะลักเข้ามาตามแนวชายแดนไทยเมียนมา ทั้งชาวบ้านธรรมดา-กองกำลังต่าง-กองกำลังติดอาวุธ ทำให้ปัญหาสลับซับซ้อนส่งผลต่อท่าทีของไทย โดยเฉพาะรัฐฉานมีกองกำลังของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม ทั้งว้า ไทยใหญ่ มูเซอ ฯลฯ อาจมีการทะลักเข้าของประชาชนที่มีความซับซ้อน ซึ่งไทยมีการเข้าไปลงทุนและมีผลประโยชน์อยู่อาจทำให้มีปัญหาซับซ้อนมากขึ้น

นายรณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล สว. อภิปรายแสดงความเห็นถึงข่าวสารที่ปรากฏออกมาในขณะนี้ในโซเชียลมีเดีย มีหลายข้อความที่ส่งผลต่อความร้าวลึกสร้างความบาดหมางต่อความรู้สึกของผู้หนีภัยฯ จึงสื่อสารฝากถึงประชาชนคนไทย เพราะมีชาวเมียนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก อาจเกิดความไม่พอใจและกระทบกระทั่งกัน ดังนั้นการใช้ถ้อยคำในสื่อโชว์โซเชียลต้องมีความระมัดระวัง ซึ่งจะต้องดำรงความเป็นกลางของประเทศ และผูกมิตรกับทุกฝ่าย

จากนั้นนายถวิล ชี้แจงว่า เข้าใจถึงสถานการณ์ในเมียนมาที่มีความซับซ้อน และอาจมีสถานการณ์การอพยพขนาดใหญ่หลายทิศทาง ดังนั้นการเตรียมรองรับตามมาตรการที่มีอยู่ปัจจุบันอาจไม่เพียงพอชี้ว่าฝ่ายความมั่นคงจะต้องประเมินเป็นระยะต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เพียงสถานการณ์ของ ชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในเมียนมาเท่านั้น ยังมีกรณีที่ประเทศมหาอำนาจ ทั้งจีน อินเดีย สหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้องทำให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นมาก และยืนยันการจัดการของไทยวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดและไม่ก้าวก่ายแทรกแซง สืบเนื่องจากเหตุการณ์เครื่องบินเมียนมาเข้ามาสนามบินจังหวัดตาก เมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา

“และยืนยันว่ากองทัพเมียนมาไม่สามารถใช้ดินแดนของไทยเข้ามาตั้งฐานทัพการสู้รบได้ และย้ำถึงแนวทางการแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมายึด 5 ข้อหลักของอาเซียน จึงอยากให้ให้วุฒิสภาชุดต่อไปศึกษารายละเอียดและสถานการณ์เพิ่มเติมในอนาคต เพื่อให้หาแนวทางแก้ไขปัญหาผู้อพยพรุ่นเก่ากว่า 77,000 คน เพื่อปิดพื้นที่พักพิง 4 จังหวัด ส่วนผู้อพยพใหม่ที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมา ยึดแนวทางที่ดำเนินมาเมื่อสถานการณ์ในเมียนมาสงบเรียบร้อยก็ให้เดินทางกลับภูมิลำเนา สำหรับรายงานของกรรมาธิการการต่างประเทศเรื่องนี้จะส่งต่อให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการต่อไป”นายถวิล กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img