วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlightแวดวงสื่อดิ้น-ต้านกม.ปราบเฟคนิวส์ ‘เถกิง’ลากไส้สื่อกระแสหลักเจ็บแสบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แวดวงสื่อดิ้น-ต้านกม.ปราบเฟคนิวส์ ‘เถกิง’ลากไส้สื่อกระแสหลักเจ็บแสบ

“กฎหมายปราบเฟคนิวส์” ทำคนในวงการสื่้อดิ้นพล่าน รวมตัวค้าน รณรงค์เปลี่ยนโปรไฟล์ “หยุดคุกคามสื่อ” แต่เจอ “เถกิง สมทรัพย์” ลากไส้ “สื่อกระแสหลัก-สื่อใหญ่” ที่เพลี่งพล้ำต่อเทคโนโลยี หยิบประเด็นในโซเชียลที่เป็น “เฟคนิวส์” โดยไม่ตรวจสอบ ไปเล่นตามกระแสจนทำให้ขาดความน่าเชื่อถือเอง

กรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกข้อกำหนดห้ามเสนอข่าวที่อาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว โดยให้อำนาจ กสทช. แจ้งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสั่งระงับได้ พร้อมส่งตำรวจดำเนินคดี มีผลวันที่ 30 ก.ค.นี้ ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในวงการสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก โดย 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน รวมตัวคัดค้าน พร้อมรณรงค์ให้ใช้กรอบรูปโปร์ไฟล์ (Facebook Photo Frame) เพื่อเรียกร้องให้หยุดการใช้พรก.ฉุกเฉิน-หยุดคุกคามสื่อ-หยุดคุกคามประชาชน ซึ่งทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ ในหมู่สื่อสารมวลชนกันอย่างกว้างขวาง

แม้แต่นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อสารมวลชนอาวุโส ยังออกมาแสดงความเห็นว่า…“อาวุธของสื่อคือข้อเท็จจริงและความน่าเชื่อถือ เราไม่มีอาวุธอย่างอื่น อาวุธนี้จะทำให้ประชาชนเห็นว่า เราทำหน้าที่ได้ดีแค่ไหน แน่นอนว่า เป้าของพรก.ฉุกเฉินฯของเขา อาจจะไม่ใช่สื่ออย่างพวกเรา แต่หมายถึงทั้งประเทศ นักวิชาการ หมอ หมอชนบท หมอเกษียณ อาสาสมัคร ที่ขึ้นภาพคนนอนตายที่บ้าน ที่ทำให้นายกรัฐมนตรีและครม.หวั่นไหวจริงๆ แต่ถามว่า ใครจะเป็นคนรับกรรมตรงนี้ก่อน ก็ตกมาที่สื่อก่อน”

อย่างไรก็ตาม มีอีกความเห็นหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นการตีแสกหน้าวงการสื่อสารมวลชนได้อย่างถึงแก่น นั่นคือ นายเถกิง สมทรัพย์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ผู้มีประสบการณ์ในการจัดรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์อย่างโชกโชน และยังเคยเป็นกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส แสดงความเห็นไว้น่าสนใจว่า…“ฝุ่นตลบเรื่องสื่อกับคำสั่งจัดการกับ Fake news.. น่าจะฟุ้งอีกหลายวัน แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์นี้จะเรียก “ความเป็นมืออาชีพของสื่อสารมวลชน” ออกมาให้โดดเด่น

1.สื่อมวลชนอาชีพที่เคยยิ่งใหญ่ในสื่อกระแสหลัก ต่างเพลี่ยงพล้ำให้กับสื่อที่มาจากการเติบโตของ “เทคโนโลยี”..

2.โลกออนไลน์ สร้างโอกาสให้กับทุกคนสามารถ “เป็นเจ้าของสื่อ” ได้เท่าเทียมกัน

3.ส่งผลให้สื่อมวลชนวิชาชีพจำนวนมากถูกกลืนไปกับกระแสออนไลน์..

4.ไม่เพียงแต่เรื่อง แพลตฟอร์ม เท่านั้นที่ถูกกลืน..แต่ความเป็น “มืออาชีพทางด้านวารสารศาสตร์/นิเทศศาสตร์” ก็โดนกลบกลืนไปด้วย

5.สื่อมวลชนวิชาชีพที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดี ต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสสื่อออนไลน์ที่เน้นความรวดเร็ว สีสัน และหลากหลาย

6.กองบรรณาธิการข่าว ที่ยึดหลักการคัดกรองข่าว สร้างสรรค์ข่าว เจาะข่าว สัมภาษณ์ข่าว ด้วยจรรยาบรรณที่สั่งสอนกันมา…หายไปเกือบหมดจากวงการสื่อ

7.สื่อดังๆ พิธีกรเก่งๆ ใช้ความสามารถในการ “เล่าข่าว คุยข่าว” หยิบชิ้นข่าวมาจาก “แหล่งข่าวต่างๆ” นำเสนอให้เท่าทันการแข่งขัน

8.บ่อยครั้งไปหยิบ “ข่าวที่ไม่ได้ตรวจสอบซ้ำ” มานำเสนอและขยี้ปรุงแต่งให้ถูกใจผู้ชมของตนเอง

9.บ่อยครั้ง สื่อกระแสหลักหยิบ “ประเด็นที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ” ขึ้นมาตรวจสอบกลางอากาศ ( ในขณะที่สื่อมวลชนมาตรฐานในต่างประเทศจะตรวจสอบข่าวก่อนที่จะนำมาออกอากาศในวงกว้าง)

10.มองในแง่ลบ การควบคุมสื่อคราวนี้คือการจำกัดเสรีภาพ

11.มองในแง่บวก มันอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้กับทุกฝ่ายได้ตั้งสติกับ “ชิ้นข่าว” ทุกชิ้นว่า ควรสนใจตรวจสอบความถูกต้องให้มากขึ้นก่อนนำมาใช้งานในสื่อกระแสหลักที่ประชาชนติดตามจำนวนมาก

12.สื่อมวลชนที่ทำ “สถานีข่าว” อาจต้องหันมาเน้นเรื่อง “ความถูกต้อง” มากขึ้นกว่า “ความเร็วที่ไม่ได้ตรวจสอบ” (รวมทั้งประโยชน์ต่อประชาชนในชิ้นข่าวนั้นมีขนาดไหน )

13.ทีมข่าวที่เคยเกรียงไกร บรรณาธิการข่าวที่เคยเก่งๆ ทำงานกันเป็นระบบ …อาจมีโอกาสฟื้นคืนมาใหม่

14.แถลงการณ์ของ 6 องค์กรวิชาชีพ ที่ระบุว่ารัฐบาลอ้างเรื่อง Fake news เพราะบริหารผิดพลาดนั้น ก็เป็นถ้อยแถลงที่ไม่สมกับเป็นองค์กรวิชาชีพ เพราะ Fake news มันมีตลอดเวลาไม่ว่ารัฐบาลจะบริหารดีหรือบริหารล้มเหลว…

15.สื่อมวลชนกระแสหลักก็ตกเป็นเครื่องมือ Fake news บ่อยครั้ง เพราะขาดการจัดการตามหลักวิชาที่ควรจะเป็น

16.และที่สำคัญ Fake news ก็ทำร้ายเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารที่ดีของประชาชน…Fake news ร้ายกาจยิ่งกว่าพรบ.ควบคุมสื่อฯฉบับใดๆทั้งสิ้น เพราะกฎหมายแบบนี้นานๆทีจึงจะประกาศใช้ แต่ Fake news ทำงานตลอดเวลา

17.ในวิกฤติสื่อกับรัฐบาลคราวนี้ น่าจะเป็น “โอกาส” ของสถานีข่าวกระแสหลักที่จะหันมายึดหลัก “ช้าแต่ชัวร์ หรือ เร็วแต่ใช่” ด้วยการใช้หลักนิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์ให้เข้มข้นขึ้น และจะได้สิ่งที่คุณสุทธิชัย หยุ่น บอกว่า อาวุธของสื่อมวลชนมีเพียง ข้อเท็จจริงกับความน่าเชื่อถือ..

18.เราจะเห็นว่าในสื่อใหญ่ๆระดับโลก ยังคงรักษามาตรฐานข่าวของตัวเองไว้ได้ ไม่ตกเป็นเครื่องมือเผยแพร่ Fake news เสียด้วยซ้ำ เพราะยึดมั่นในระบบการทำงานข่าวอย่างมืออาชีพทุกวินาที

19.แต่สื่อใหญ่ๆของเรา ตกเป็นเหยื่อให้กับ Fake news และข่าวที่ไม่ได้มาตรฐานนิเทศศาสตร์.. ตลอดเวลา..”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img