วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกNEWS"อนุชา" เผยไทยจ่อใช้  "Chula Cov19" เม.ย.65 ชี้คุณภาพเทียบวัคซีน mRNA 
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อนุชา” เผยไทยจ่อใช้  “Chula Cov19” เม.ย.65 ชี้คุณภาพเทียบวัคซีน mRNA 

“โฆษกรัฐบาล” เผยไทยพัฒนาวัคซีนเอง 2 ส่วน เปิดใช้ “Chula Cov19” เม.ย.65 ชี้คุณภาพเหมือน mRNA  ส่วนวัคซีนใบยาใช้กลางปีหน้า

เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ “แจงให้เคลียร์กับทีมโฆษกรัฐบาล” ถึงการพัฒนาวัคซีนของคนไทย ว่า วันนี้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 25,818,666โดส แบ่งเป็นเข็มแรก 19,586,009 โดส เข็มที่สอง 5,705,200โดส และเข็มที่สาม 527,457โดส โดยเป็นวัคซีนซิโนแวค แอสตราเซเนกา โมเดอร์นา และไฟเซอร์

นอกจากวัคซีนที่ได้จากต่างประเทศแล้ว ยังจะมีวัคซีนที่พัฒนาในประเทศไทยใน  2 ส่วน คือส่วนแรก พัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ Chula Cov19 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์วิจัยวัคซีนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยมีแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดคนเทคโนโลยีการผลิต แบบmRNAดูการผลิตและวิจัยโดยตรง วัคซีนชนิดนี้จะใช้เหมือนกับวัคซีนชนิดmRNA และคาดว่าจะเตรียมใช้จริงช่วงเดือนเม.ย.2565

นายอนุชา กล่าวว่า จากผลการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครสามารถกระตุ้นภูมิชนิดแอนตี้บอดี้ได้เทียบเท่ากับวัคซีนmRNA สามารถยับยั้งการจับโปรตีนได้เท่ากับวัคซีนไฟเซอร์ และไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง มีเพียงอ่อนเพลียไข้ต่ำหนาวสั่นบ้างสำหรับผู้ที่ได้รับเข็มสอง และอาการดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ส่วนที่สองคือวัคซีนใบยา ของบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งพัฒนาโดยเซลล์พืช เรียกว่าใบยาฟาร์มมิ่ง

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผลิตโมเลกุลโปรตีน ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ต้นทุนต่ำกว่าชนิดอื่น และเป็นการวิจัยผลสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าภายในปลายเดือนส.ค.หรือต้นก.ย.จะเริ่มคัดเลือกอาสาสมัครเพื่อมาทดสอบในระยะที่หนึ่ง หากทดสอบในคนผ่านทุกระยะและปลอดภัย คาดว่าจะเริ่มผลิตและใช้วัคซีนชนิดนี้ได้กลางปี 2565 หรือไตรมาสที่สามโดยจะผลิตได้ประมาณ 5 ล้านโดสหรือ 60 ล้านโดสต่อปี

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img