วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกNEWS"ชินวรณ์"ชี้สภาล่มซ้ำได้ หากฝ่ายค้านยื้ออีก ชง 3 ทางออก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ชินวรณ์”ชี้สภาล่มซ้ำได้ หากฝ่ายค้านยื้ออีก ชง 3 ทางออก

“ชินวรณ์” ชง 3 แนวทางพิจารณากม.เลือกตั้งส.ส. ระบุปชป.ไม่ขัดปล่อยดำเนินการตามข้อบังคับ-รัฐธรรมนูญ รับสภาฯอาจล่มหากฝ่ายค้านยื้ออีก ชี้เป็นเรื่องกลไกปกติ

วันที่ 4 ส.ค.65 ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคน่งมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล กล่าวถึงผลการหารือคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่ายว่า 1.ที่ประชุมมีมติให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันที่ 10 ส.ค.เวลา 09.00 น. เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. เหลืออีกเพียง 4 มาตราเท่านั้น เชื่อว่าจะพิจารณาถึงร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. …. เพราะ 2.วันที่ 11ส.ค. เวลา 09.30 น.ประชุมสภาฯ และ3.วันที่ 17-19 ส.ค.จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

นาบชินวรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ในวาระที่ 2 – 3 คาดว่าจะเป็นไปตามข้อบังคับและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีทางออกอยู่ 3 ทาง คือ 1.หากที่ประชุมรัฐสภาให้ความเห็นชอบในวาระ 2 และ 3 จะต้องส่งไปให้องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องคือ กกต. ได้ให้ความเห็นว่าขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือมีข้อเสนอแนะในการที่จะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ 2.หากว่าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบก็ถือว่าร่างกฎหมายลูกฉบับนี้ตกไป ถ้าจะมีการหยิบยกขึ้นมาใหม่จะต้องเริ่มต้นกระบวนการพิจารณาใหม่ และ3.หากที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา132(1) คือต้องนำร่างที่เสนอในวาระที่ 1 คือ สูตรคำนวณส.ส.หาร 100 เข้ามา เพื่อที่จะให้สภาให้ความเห็นชอบส่งไปยังนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 81 และ มาตรา 148 ตามลำดับต่อไป

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยออกมายอมรับว่าจะใช้กลไกดึงเวลาให้เกิน 180 วัน ในส่วน พรรคประชาธิปัตย์ มีแนวทางนี้หรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า เรื่องการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ มีความเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งเห็นด้วยกับหาร 100 และหาร 500 ซึ่งฝ่ายที่เห็นด้วยกับหาร 100 เห็นว่าควรให้เป็นไปตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ ส่วนเสียงข้างน้อยในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่เห็นว่าควรหาร 500 เมื่อนำมาเข้าสู่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ที่ประชุมก็เห็นด้วยกับเสียงข้างน้อยไปด้วย ขณะที่อีกส่วนเห็นว่า การที่จะไม่ให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณากฎหมาย อาจจะมีปัญหาในเชิงปฏิบัติได้ จึงมีทางเดียวคือถ้าทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวพิจารณาไม่ทัน 180 วัน จะถือว่าต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ คือการนำร่างที่ครม. เสนอเข้ามา คือ หาร 100 ส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ มีจุดยืนให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญทุกประการ เนื่องจากเราเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐสภามีความเป็นอย่างไรก็ต้องดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญ

“ถ้าเขามีทิศทางให้เสร็จไม่ทัน 180 วัน รัฐสภาก็อาจจะล่มอีกได้ถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นกลไกที่สามารถทำได้ จึงอยากทำความเข้าใจว่าเวลาพิจารณากฎหมาย อยากให้เป็นไปตามข้อบังคับ และรัฐธรรมนูญ ไม่อยากให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐสภามุ่งเน้นแต่เรื่องหาร 100 หรือหาร 500 ทั้งที่ประชาชนมีปัญหาเรื่องปากท้อง ผมยืนยันในฐานะส.ส.เขตคนหนึ่ง ให้ความสำคัญกับปากท้องของประชาชนเป็นหลัก แต่เรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่อง 1 ใน 100 ที่รัฐสภาต้องแก้ไขให้เกิดดุลยภาพ” นายชิณวรณ์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img