วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกNEWS“นิดาโพล” เผยผลสำรวจการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“นิดาโพล” เผยผลสำรวจการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

นิด้าโพล เผยผลโพลการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 85.13 ไม่เคย ส่วนสาเหตุที่ทำให้นักเรียน/นักศึกษาถูกลวนลาม หรือล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 56.22 ระบุว่า นิสัย/พฤติกรรมเฉพาะตัวของผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ รองลงมาร้อยละ 26.40 การแต่งกายของนักเรียน/นักศึกษา

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “การถูกล่วงละเมิดทางเพศ” ทำการสำรวจนักเรียน นักศึกษา ที่มีอายุ 15 – 25 ปี กระจายทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,197 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเคยถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.13 ระบุว่า ไม่เคย ขณะที่ ร้อยละ 13.28 ระบุว่า เคย และร้อยละ 1.59 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นการถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่

​ด้านสาเหตุที่ทำให้นักเรียน/นักศึกษาถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.22 ระบุว่า นิสัย/พฤติกรรมเฉพาะตัวของผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ รองลงมา ร้อยละ 26.40 ระบุว่า การแต่งกายของนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 11.70 ระบุว่า การลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศได้รับแรงจูงใจจากการเสพสื่อออนไลน์ และ/หรือ สื่อกระแสหลักร้อยละ 10.03 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 8.94 ระบุว่า กริยา ท่าทาง ของนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 5.43 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมกับผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ 

ร้อยละ 3.76 ระบุว่า ผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ตระหนักว่าเป็นเรื่องการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 3.51 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาถูกล่อลวงร้อยละ 1.50 ระบุว่า สถานะทางสังคม/เศรษฐกิจของนักเรียน/นักศึกษาที่ด้อยกว่า (จึงไม่กล้าปฏิเสธ) ร้อยละ 1.25 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาไม่รู้/ไม่ตระหนักว่าเป็นการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 0.84 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาไม่นึกว่าเป็นการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ (ไม่เป็นไรเป็นเรื่องธรรมดา) ร้อยละ 0.42 ระบุว่า สภาพความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาของนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.09ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

​สำหรับบุคคล/หน่วยงานที่จะบอกเมื่อถูกครู/อาจารย์ ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.17ระบุว่า บอกผู้ปกครอง รองลงมา ร้อยละ 21.89 ระบุว่า บอกครู/อาจารย์ท่านอื่น ร้อยละ 18.13  ระบุว่า แจ้งความกับตำรวจร้อยละ 11.28 ระบุว่า บอกเพื่อนสนิท ร้อยละ 4.26 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวมตำรวจ) ร้อยละ 2.59 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านมูลนิธิ/สมาคม หรือ NGOs ที่เกี่ยว ข้อง ร้อยละ 1.59 ระบุว่า ปิดเป็นความลับ ร้อยละ 1.17 ระบุว่า บอกพี่น้อง ร้อยละ 1.09 ระบุว่า บอกแฟนร้อยละ 0.92 ระบุว่า ระบายผ่าน social media ร้อยละ 0.84 ระบุว่า บอกญาติสนิทและร้อยละ 0.50 ระบุว่า บอกสื่อ (เช่น รายการวิทยุ)

เมื่อถามถึงบุคคล/หน่วยงานที่จะบอกเมื่อถูกเพื่อน/บุคคลอื่น ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.64 ระบุว่า บอกผู้ปกครอง รองลงมา ร้อยละ 28.65 ระบุว่า บอกครู/อาจารย์ ร้อยละ19.05 ระบุว่า แจ้งความกับตำรวจ ร้อยละ 8.19 ระบุว่า บอกเพื่อนสนิท ร้อยละ 3.09 ระบุว่า ปิดเป็นความลับ ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวมตำรวจ) ร้อยละ 2.26 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านมูลนิธิ/สมาคม หรือ NGOs ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 1.25 ระบุว่า บอกพี่น้อง ร้อยละ 0.84 ระบุว่า บอกญาติสนิทร้อยละ 0.67 ระบุว่า ระบายผ่าน social media และร้อยละ 0.50 ระบุว่า บอกแฟนและบอกสื่อ (เช่น ราย การวิทยุ) ในสัดส่วนที่เท่ากัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img