วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
หน้าแรกNEWS“รฟท.”ทุ่มงบ 33 ล้าน เปลี่ยนชื่อสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รฟท.”ทุ่มงบ 33 ล้าน เปลี่ยนชื่อสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

บมจ.ยูนิคฯ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ลงนามสัญญาการรถไฟฯ ปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์การรถไฟฯ มูลค่าโครงการ 33.16 ล้านบาท ขณะที่ “ศักดิ์สยาม” สั่งปลัดกระทรวงคมนาคมตรวจสอบ หลังมีการติงว่าจ้างราคาสูง

รายงานข่าวแจ้งว่า นายเติมพงษ์ เหมาะสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ทำหนังสือแจ้งข่าวการลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถึงกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 29 ธ.ค.2565 ที่ผ่านมา

โดยระบุว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้าง กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่าโครงการ 33,169,726.39 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อสถานีกลางบางซื่อว่า “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” อ่านว่า “สะ-ถา-นี-กลาง-กรุง-เทบ-อะ-พิ-วัด” (Krung Thep Aphiwat Central Terminal) หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร พร้อมกับพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะที่ 1 ว่า “นครวิถี” อ่านว่า “นะ-คอน-วิ-ถี” (Nakhon Withi) หมายถึง เส้นทางของเมือง และพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะที่ 1 “ธานีรัถยา” อ่านว่า “ทา-นี-รัด-ถะ-ยา” (Thani Ratthaya) หมายถึง เส้นทางของเมือง

สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2550 โดยได้เริ่มก่อสร้างงานโยธา งานระบบไฟฟ้าเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2555 ต่อมาในปี 2556 การรถไฟฯ ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง

โดยปรับแบบสถานีกลางบางซื่อให้รองรับรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดทดลองให้บริการเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2564 เป็นต้นมา และในวันที่ 19 ม.ค.2566 การรถไฟฯ จะมีการย้ายรถไฟขบวนรถเชิงพาณิชย์ 52 ขบวน จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีเปลี่ยนป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ ที่ต้องใช้งบประมาณกว่า 33 ล้านบาทว่า ตนมอบปลัดกระทรวงฯไปตรวจสอบแล้ว ต้องไปดูว่าราคากับปริมาณงานเป็นอย่างไร เพราะเป็นป้ายทำพิเศษตัวหนังสือจะใหญ่อย่างที่เห็น ซึ่งรวมป้ายทั้งหมดในสถานีมีหลายรายการ

ส่วนที่หลายคนมองว่าค่อนข้างมีราคาแพงนั้น เดี๋ยวคงจะมีการชี้แจง โดยปกติมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง.ตรวจสอบอยู่แล้วไม่ต้องไปกลัวเรื่องแบบนี้ ทำอะไรไม่ได้หรอก ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก คาดว่าไม่เกิน 7 วันจะทราบรายละเอียด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img