วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlight7 ปัจจัยเสี่ยงกระทบส่งออกไทยปีเถาะ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

7 ปัจจัยเสี่ยงกระทบส่งออกไทยปีเถาะ

ม.หอการค้าไทย วิเคราะห์ส่งออกไทยปี 66 ขยายตัวไม่เกิน 1.5 % โตต่ำสุดในรอบ 3 ปี เจอ 7 ปัจจัยเสี่ยง จับตามาตรการด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคมของต่างประเทศ ซ้ำเติมส่งออกไทย

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า คาดการณ์ส่งออกไทย ปี 2566 ว่าจะขยายตัว -0.5%-1.5% โตต่ำสุดในรอบ 3 ปี คิดเป็นมูลค่า 295,203 ล้านดอลลาร์ โดยมีค่ากลางเฉลี่ยอยู่ที่ 1% มูลค่า 290,819-296,665 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตลาดส่งออกสำคัญขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน อาทิ สหรัฐอเมริกา ลดเหลือ 0.6% จาก 14.5%, ญี่ปุ่น ลดลงเหลือ 0.3% จาก 0.8%, สหภาพยุโรป ลดลงเหลือ 0.1% จาก 7.7% และอาเซียน ลดเหลือ 1.2% จาก 13.1% เป็นต้น

การส่งออกไทยมี 7 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ 1.เศรษฐกิจโลกและคู่ค้าชะลอตัว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าจีดีพีโลกจะโตเพียง 2.7% ต่ำกว่า 3.2% ในปีก่อน ขณะที่การค้าของโลกปีนี้ ขยายตัว 1% น้อยกว่าปีก่อนที่ 3.5% 2.สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังยืดเยื้อตลอดทั้งปีนี้ทำให้จีดีพีโลกหายไป 0.4-1% และฉุดให้มูลค่าการส่งออกไทยหายไป 0.7-1.7% หรือคิดเป็นมูลค่า 2,011-5,028 ล้านดอลลาร์ หรือ 72,396-181,008 ล้านบาท

3.ราคาน้ำมันยังสูงเฉลี่ยที่ 80-120 ดอลลาร์ต่อบาเรล เพราะจีนใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศ, อากาศแปรปรวนกระทบความต้องการพลังงานในยุโรปและโอเปกลดยังกำลังการผลิตอีก 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน 4.อัตราเงินเฟ้อยังสูงที่ 1-3% แต่อาจลดลง ตามทิศทางปรับดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และธนาคารกลางของประเทศอื่น ส่วนค่าเงินบาท คาดว่าจะเคลื่อนไหวในระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากปีก่อนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 35.1ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

5.ราคาวัตถุดิบและสินค้าจะเพิ่มขึ้น 14% จากปัญหาสงคราม 6.เฟดอาจควบคุมเงินเฟ้อตามเป้า 2% ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ย เข้าสู่กรอบ 5.00-5.25% ถือเป็นสูงสุดในรอบ 15 ปี และ 7.ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯจะทำให้เกิดมาตรการตอบโต้ทางการค้าส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโลกและไทย อาทิ อุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ โทรศัพท์เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า รองเท้า อาหารทะเล รถยนต์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลกระทบจากการเปิดประเทศของจีนด้วยว่า จะส่งผลอย่างไรต่อการส่งออกของไทยอย่างไร หากโควิดไม่ระบาดในจีนจะส่งผลดีทำให้มูลค่าส่งออกไปยังตลาดจีน เพิ่มขึ้น 33,336-41,652ล้านบาท แต่หากโควิดระบาดในจีน และรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดจนต้องปิดประเทศอีกครั้ง อาจะกระทบทำให้มูลค่าส่งออกไทย หายไป 4,896-24,120 ล้านบาท

รวมไปถึงต้องติดตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคมของต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยปี 2566ด้วย โดยเฉพาะกรณีที่

1.สหภาพยุโรปจะบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ ปาล์มน้ำมัน วัวและผลิตภัณฑ์ และกาแฟของไทย เนื่องจากก่อนหน้านี้อียูออกมาระบุว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวเข้าข่ายบุกรุก ทำลายป่า

2.กฎหมาย Clean Competition Act (CCA) โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอน ของสหรัฐ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.67 โดยจะมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม, ปุ๋ย, ปิโตรเคมี, ซีเมนต์, เหล็ก, อะลูมิเนียม, กระจก, กระดาษ และเอทานอล เป็นต้น

3. มาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.66 โดยจะมีผลกระทบต่อสินค้าในกลุ่มเหล็ก เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และพลาสติก ไฮโดรเจน เป็นต้น

4. การเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกใหม่ ของสหรัฐฯ (ยังไม่กำหนดวันเริ่มใช้บังคับ) โดยจะมีผลกระทบกับสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img