วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlightบอร์ดหนี้สาธารณะไฟเขียวค้ำหนี้น้ำมันเพิ่ม8หมื่นล้านบาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

บอร์ดหนี้สาธารณะไฟเขียวค้ำหนี้น้ำมันเพิ่ม8หมื่นล้านบาท

บอร์ดหนี้สาธารณะอนุมัติแผนบริหารหนี้ค้ำประกัเงินกู้ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 80,000 ล้านบาท ทำให้หนี้ต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 61.42% เตรียมชงครม.อนุมัติ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ได้เห็นชอบการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบ ประมาณ 66 ครั้งที่ 1 โดยสาระสำคัญได้เพิ่มกรอบวงเงินค้ำประกันเงินกู้ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 80,000 ล้านบาท เข้าไปอยู่ในแผนบริหารหนี้สาธารณะ เมื่อรวมกับก่อนหน้านี้ที่ค้ำประกันไปแล้ว 30,000 ล้านบาท เท่ากับว่าคลังจะค้ำประกันรวมเป็น 110,000 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 66 มีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 60.43% เป็น 61.42% แต่ยังเป็นไปตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ไม่เกิน 70% และในเร็ว ๆ นี้ จะเสนอให้ ครม. เห็นชอบแผนต่อไป

“เดิม ครม. มีมติให้กระทรวงการคลังเข้าไปช่วยค้ำประกันช่วยกองทุนน้ำมันฯ ได้สูงสุด 150,000 ล้านบาท ซึ่งทางพลังงานอยากให้คลังเข้าไปช่วยค้ำให้ทั้งหมด แต่เราก็มองว่าก่อนหน้านี้ค้ำให้แล้ว 30,000 ล้านบาท การเข้าไปช่วยค้ำเพิ่มอีก 80,000 ล้านบาท น่าจะเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องค้ำให้ครบ เพราะขณะนี้สถานการณ์ราคาพลังงานก็เริ่มคลี่คลาย ราคาน้ำมันตลาดโลกก็ปรับลดลง ขณะเดียวกันทางกองทุนน้ำมันฯ เองก็จัดเก็บรายได้เข้ามาเพิ่มสภาพคล่องได้บ้างแล้ว อย่างไรก็ดีในอนาคตหากมีความจำเป็น คลังก็สามารถทบทวนปรับแผนบริหารหนี้เข้าไปช่วยค้ำเพิ่มได้”

ส่วนรายละเอียดแผนบริหารหนี้สาธารณะ ด้านอื่นไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไร  โดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลปีงบประมาณ 66 วงเงิน 695,000 ล้านบาท ยังคงไว้เท่าเดิม เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้เริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง อีกทั้งคลังยังจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ปีนี้น่าจะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทยไม่น่าจะต่ำกว่า 20 ล้านคน

สำหรับการพิจารณาการขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 5 บาท ที่จะสิ้นสุดวันที่ 20 ม.ค.นี้ ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ยังตอบไม่ได้ว่าจะต่ออายุหรือไม่ ซึ่งต้องดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แม้ภาพรวมราคาน้ำมันตลาดโลกจะลดลง แต่จะต้องดูราคาดีเซลที่อ้างอิงราคาจากตลาดสิงคโปร์เป็นส่วนประกอบด้วย

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 66 จัดเก็บรายได้สุทธิ 424,738 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 55,418 ล้านบาท และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.5% โดยการจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ มาจากรายได้พิเศษจากการนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน รายได้จากสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และรายได้จากการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่วิทยุระบบเอฟเอ็ม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img