วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกHighlight“เงินบาทกลับทิศแข็งค่า” จับตาประชุมบีโอเจวันนี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทกลับทิศแข็งค่า” จับตาประชุมบีโอเจวันนี้

เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลร์ แข็งค่าขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนค่าลง-นักลงทุนเทขายทองทำกำไร ลุ้นผลประชุมบีโอเจวันนี้ หากล็อกอัตราดอกเบี้ยในระยะยาว-ปรับเงินเฟ้อสูงขึ้น หนุนเงินเยนแข็งค่า

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์“แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.13 บาทต่อดอลลาร์หลังการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ

อย่างไรก็ดี ในวันนี้ การเคลื่อนไหวของเงินบาทอาจผันผวนมากขึ้น โดยต้องระวัง ความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุมของ BOJ ซึ่งอาจส่งผลให้ เงินเยนญี่ปุ่นแกว่งตัวแข็งค่า หรือ อ่อนค่าได้มาก ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของ BOJ โดยเราประเมินว่า หาก BOJ ได้พูดถึงการทบทวนกรอบของบอนด์ยีลด์ 10 ปีหรือ ทบทวนผลกระทบของนโยบาย Yields Curve Control หรือ มาตรการที่ธนาคารกลางต้องการจะล็อกอัตราดอกเบี้ยในระยะยารวมถึงมีการปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจนทำให้เงินเยนแข็งค่าเร็วสู่ระดับ 126 เยนต่อดอลลาร์ ก็อาจกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง

พร้อมกับหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับ 32.80 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก ในทางกลับกันการอ่อนค่าของเงินเยนสู่ระดับ 130 เยนต่อดอลลาร์ ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้านแถว33.20-33.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ (สถิติย้อนหลัง 10 ปี ชี้ว่า เงินบาทมักอ่อนไหว หรือมี Beta ที่สูง กับการอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่น มากกว่าในช่วงเงินเยนแข็งค่าขึ้น)มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.80-33.20 บาทต่อดอลลาร์

บรรยากาศในฝั่งตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ พลิกกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น โดยดัชนี Dow Jones ปรับตัวลง -1.14%ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.20% หลังรายงานผลประกอบการของสถาบันการเงินขนาดใหญ่อย่าง Goldman Sachs ออกมาน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 4 ของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่จะทยอยประกาศออกมา

โดยหากผลประกอบการออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก็อาจกดดันให้ ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะลดการถือครองหุ้นที่ผลประกอบการและแนวโน้มผลประกอบการแย่ลง กดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจย่อตัวลงได้ หลังจากปรับตัวขึ้นได้ดีนับตั้งแต่ต้นปีนี้

ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ยังคงเดินหน้าปรับตัวขึ้น +0.40% ตามความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้ารายสำคัญของยุโรป อย่าง จีน โดยล่าสุดรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนในเดือนธันวาคม อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales)ได้ออกมาดีกว่าคาดไปมาก สะท้อนว่าจุดเลวร้ายสุดของเศรษฐกิจจีนในช่วงการระบาดของโอมิครอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ซึ่งภาพดังกล่าวได้หนุนให้ ราคาหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมที่พึ่งพายอดขายจากในจีนต่างปรับตัวสูงขึ้น อาทิ Diageo +2.4%,Hermes +1.8% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน (Equinor +1.8%, BP +0.8%)ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันที่ตอบรับต่อความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อตัวลงและแกว่งตัวใกล้ระดับ 102.3 จุด หลังค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 128.5 เยนต่อดอลลาร์ จากที่ก่อนหน้าอ่อนค่าไปเกือบแตะระดับ 129 เยนต่อดอลลาร์ ท่ามกลางมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพุธนี้ ทาง BOJ อาจส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดต่างรอจังหวะให้เงินเยนอ่อนค่าลง เพื่อเพิ่มสถานะ Short USDJPY (มองเงินเยนแข็งค่าขึ้น)

อย่างไรก็ดี แม้ว่า เงินดอลลาร์จะย่อตัวลงบ้าง รวมถึงบรรยากาศในตลาดการเงินจะอยู่ในภาวะระมัดระวังตัว ทว่า ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) กลับยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,910-1,915 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินผลการประชุมของ BOJ ซึ่งอาจส่งผลต่อทั้งเงินดอลลาร์ รวมถึง บอนด์ยีลด์ฝั่งสหรัฐฯ ได้ ซึ่งเราประเมินว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจขายทำกำไรทองคำก่อนรับรู้ผลการประชุม BOJ ได้บ้าง ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะจับตาไฮไลท์สำคัญ อย่าง การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะรับรู้ผลการประชุมราว10.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย (ส่วนการแถลงต่อสื่อมวลชน โดยผู้ว่า BOJ อาจมีในช่วงบ่ายโมง) เบื้องต้นผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังการทยอยส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด/ตึงตัวมากขึ้น

ทั้งนี้ เรามองว่า BOJ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% พร้อมทั้งคงเป้าบอนด์ยีลด์ 10 ปี ที่ระดับ 0.00%+/-0.50% ตามเดิม แต่หาก BOJ มีการพูดถึงการทบทวนกรอบของบอนด์ยีลด์ 10 ปี หรือ ทบทวนผลกระทบของนโยบาย Yields Curve Control รวมถึงมีการปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ผู้เล่นในตลาดอาจตีความว่า BOJ ได้ส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับถัดไปแถว 126 เยนต่อดอลลาร์ได้ ในทางกลับกัน หาก BOJ ย้ำจุดยืนไม่รีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจเห็นเงินเยนญี่ปุ่นผันผวนอ่อนค่าสู่ระดับ 130.5 เยนต่อดอลลาร์ได้เช่นกัน

และนอกเหนือจากผลการประชุมของ BOJ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอย่างยอดค้าปลีก (Retail Sales) โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจกดดันยอดค้าปลีก (Retail Sales) โดยเฉพาะในส่วนของยอดขายยานยนต์หรือสินค้าคงทน อย่าง เฟอนิเจอร์ รวมถึง การปรับตัวลงของราคาพลังงานที่อาจกดดันยอดขายที่เกี่ยวกับพลังงานเช่นกันจะทำให้โดยรวม ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือนธันวาคม อาจหดตัว -0.9% จากเดือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้อที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากขึ้น ก็อาจทำให้บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดเริ่มมีมุมมองสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราลดลงเป็น +0.25% ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป ซึ่งผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในวันนี้เช่นกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img