วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightค่าไฟฟ้าเดือนพ.ค.-ส.ค.66 พุ่ง ครัวเรือนจ่าย 5.24 บาทต่อหน่วย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ค่าไฟฟ้าเดือนพ.ค.-ส.ค.66 พุ่ง ครัวเรือนจ่าย 5.24 บาทต่อหน่วย

“กกพ.” ประเมินค่าไฟฟ้างวด 2 เดือนพ.ค.-ส.ค.2566 ภาคครัวเรือนจ่ายเพิ่มแตะ 5.24 บาทต่อหน่วย หากรัฐไม่กำหนดให้แยก 2 ราคาเหมือนปัจจุบัน ลุ้นก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยเข้ามาในระบบตามแผนย้ำสิ้นปีนี้ถึงต้นปีหน้าหากแอลเอ็นจีตลาดโลกราคาลดลง ค่าไฟฟ้าอาจปรับลดลงได้

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ โฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. กำลังรวบรวมปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ทั้งราคาก๊าซธรรมชาติ, ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี), กำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย, อัตราค่าเงินบาท, ความต้องการใช้ไฟฟ้า และปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2566

“หากสมมติฐานต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ในงวดก่อน ค่าไฟฟ้าของประเทศ ก็อยู่ในระดับ 5.2407 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันทั้งประเทศ หากภาครัฐไม่มีนโยบายกำหนดให้ กกพ.คำนวณอัตราค่าไฟฟ้าเป็น 2 กลุ่มเหมือนงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.นี้”

ทั้งนี้ ในระยะสั้นโอกาสที่จะเห็นอัตราค่าไฟฟ้าปีนี้กลับไปต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย คงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยยังไม่เป็นไปตามแผน อีกทั้งต้นทุนราคาพลังงานยังทรงตัวในทิศทางขาขึ้น แต่หากกำลังการผลิตก๊าซฯจากอ่าวไทยเพิ่มขึ้น และราคาแอลเอ็นจีอ่อนตัวลง เป็นไปตามวัฏจักรและผู้นำเข้าของไทยเจรจาต่อรองกับผู้ผลิตให้ลดลงได้ ก็มีโอกาสที่ค่าไฟฟ้าจะทยอยปรับลดลงในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567

ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายแบ่งอัตราค่าไฟฟ้าเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย คิดอัตราเรียกเก็บเฉลี่ย 4.7176 บาทต่อหน่วย และกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น (ที่ไม่ใช่บ้านอยู่อาศัย) คิดอัตราเรียกเก็บเฉลี่ย 5.3325 บาทต่อหน่วย

สำหรับแนวทางการกำกับกิจการพลังงานของ กกพ. ในระยะต่อไป จะมุ่งสร้างกลไก เพื่อเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน ทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติ ที่อาจมีการปรับปรุงโครงสร้าง รองรับการแข่งขันในขณะที่ยังคงต้องรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมสนับสนุนการใช้พลังงานสีเขียว ในราคาที่ยอมรับได้ ติดอาวุธผู้ประกอบการเอกชนในเวทีการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ระยะเร่งด่วน กกพ.ยังคงให้ความสำคัญกับการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ เช่น น้ำมัน พลังน้ำ และพลังงานหมุนเวียน เพื่อมาทดแทนการนำเข้าแอลเอ็นจี ที่มีราคาแพงในระยะสั้น ซึ่งจากนี้ไป คงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อรองรับการใช้พลังงานสีเขียว ตอบสนองความต้องการภาคธุรกิจการค้า และการลงทุนของภาคเอกชนระหว่างประเทศ ที่มีความ ต้องการซื้อและได้รับการรับรองการใช้ไฟฟ้า จากพลังงานสะอาดในการลดอุปสรรคทางการค้า และการลงทุนจากมาตรการภาษีคาร์บอนข้ามแดน (CBAM)

นอกจากนี้ ข้อกีดกันทางการค้าการลงทุนอื่นๆ ยังเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญ ได้แก่ ไฟฟ้าสีเขียว (Green Tariff) ที่ออกแบบให้มีการขายไฟฟ้าพร้อมใบรับรอง (Rec) ที่สามารถระบุที่มาของแหล่งผลิตไฟฟ้าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียว โดยไม่ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและยุ่งยากกับกระบวน การออกใบรับรอง ปัจจุบัน Green Tariff ได้รับความนิยม และมีให้ใช้แล้วในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img