วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightสคบ.เปิดสถิติร้องเรียนซื้อสินค้าออนไลน์-ทำ ความงามครองแชมป์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สคบ.เปิดสถิติร้องเรียนซื้อสินค้าออนไลน์-ทำ ความงามครองแชมป์

สคบ.ออกโรงเตือนระวังออนไลน์ฉ้อโกง เปิดสถิติร้องเรียน “ซื้อสินค้าออนไลน์-ความสวยความงาม” ครองแชมป์ ขู่ลงโทษหลอกลวงขายสินค้าออนไลน์จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และโฆษก สคบ. เปิดเผยว่า ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเรื่อง แนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์ และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา พ.ศ. 2565 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศใช้แล้วมีผลตั้งแต่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา

ซึ่งประกาศดังกล่วทำให้การโฆณษณามีความทันสมัยและทันกับสถานการณ์ของสื่อในปัจจุบันที่มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้น ทั้งสื่อออนไลน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเป็นการรวบรวมประกาศหลายฉบับมารวบไว้ในฉบับเดียว ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการทำบัญชีแนบท้ายเพิ่มเติม ตัวอย่างข้อความโฆษณาที่อาจเข้าข่ายเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เพราะเป็นข้อความที่ยากต่อการพิสูจน์

อาทิ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า ขอสงวนสิทธิ์ปัดเศษส่วนลดขึ้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เมื่อใช้แล้วจะเห็นผลทันที เห็นผลภายใน 7 วัน ไม่ถูกใจยินดีคืนเงิน ยอดขายอันดับ 1 ผ่านมาตรฐานจากสถาบันการทดสอบจากต่างประเทศ รับทำพิธีเรียกคนรักกลับคืนมา เสริมบารมี เพิ่มยอดขาย เพิ่มเสน่ห์ เป็นต้น

สำหรับหลักการโฆษณาที่ สคบ.ยึดเป็นแนวทางการก็คือ ต้องโฆษณาที่เป็นธรรม เช่น โฆษณาว่าขายปากกาสีน้ำเงิน และคนซื้อหรือลูกค้าก็อยากได้ปากกาสีน้ำเงิน คนขายก็ต้องส่งปากกาสีน้ำเงินให้ตามโฆษณา ไม่ใช่ส่งปากกาสีแดงให้ หรือพูดง่าย ๆ ว่าสินค้าต้องตรงปก

นอกจากนี้ที่ผ่านมามีร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องโฆษณาเข้ามาที่ สคบ.เป็นจำนวนมาก เช่น ปี 2565 ที่ผ่านมา มีประมาณ 2,764 เรื่อง จากปี 2564 มีเรื่องร้องเรียน 4,592 เรื่อง และหากพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องการซื้อสินค้าออนไลน์ และความสวยความงาม เช่น ทำจมูก เสริมหน้าอก ฉีดฟิลเลอร์ ฯลฯ แล้วมีปัญหาและอีกเรื่องหนึ่งที่มีการร้องเรียนมากในปี 2564 คือ การจองตั๋วเครื่องบิน หรือสายการบินที่ไม่ปฏิบัติตามที่โฆษณาไว้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

อย่างไรก็ตาม จากสถิติการร้องเรียนดังกล่าว ที่ผ่านมา สคบ.ได้เคลียร์และยุติเรื่องไปได้ประมาณ 70-80% ส่วนบทลงโทษว่าด้วยการโฆษณา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปร

สำหรับการซื้อขายออนไลน์ที่เป็นการหลอกลวงที่ควรสังเกต หลัก ๆ สคบ.จะแยกเป็น 2 ส่วนคือ กรณีที่ผู้ประกอบการที่มีเจตนาที่จะค้าขายจริง มีสินค้าจริง ตรงนี้ไม่ค่อยกังวลสคบ.มักจะเจรจายุติเรื่องได้ ไกล่เกลี่ยได้

แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ขายที่ไม่ได้มีเจตนาขายจริง แต่ก็มาสร้างแพลตฟอร์มบนอากาศ ทำร้านค้าบนอากาศ บนออนไลน์ คนเหล่านี้เขาไม่ได้มีเจตนาขายสินค้า แต่มีเจตนาจะหลอกลวง ซึ่งหลัง ๆ มานี้มีการร้องเรียนเข้ามามาก ยกตัวอย่าง ไม่ได้สั่งซื้อสินค้า แต่มีสินค้ามาส่งถึงหน้าบ้านและมีการเก็บเงินปลายทาง หรือสั่งซื้อสินค้าแต่ไม่ได้สินค้า เป็นต้น

กรณีนี้เป็นการฉ้อโกงทางออนไลน์ มีความผิดทางอาญาด้วย ซึ่ง สคบ.ก็ได้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อที่จะปิดเว็บไซต์และตัดกระบวนการ แต่ก็ยอมรับว่าการตรวจสอบอาจจะไม่ง่ายนัก เพราะทุกวันนี้คนที่จะโกงมักจะมีการทำหรือหลอกลวงเป็นขบวนการ มีการทำบัญชีม้า บัญชีผี บางกรณีผู้ประกอบการรายเดียวมีสินค้าแค่ไอเท็มเดียวก็อาจจะมีการหลอกลวงได้เป็น 100 เป็น 1,000 ราย ซึ่งที่ผ่านมามีการร้องเรียนเข้ามาพอสมควร และเรื่องที่มีร้องเรียนเข้ามามากก็มีโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม การเคลมเรื่องราคาสินค้าที่สูงเกินความจริง สามารถร้องเรียนสายด่วนที่ 1166 ได้ (ในเวลาราชการ)

นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค สคบ.ยังได้เพิ่มช่องทางการร้องเรียนด้วยการเปิดการรับการร้องเรียนร้องทุกข์ทางออนไลน์ด้วย ซึ่งการแจ้งเบาะแสดังกล่าว สคบ.ก็จะเก็บข้อมูลผู้แจ้งไว้ เพื่อที่จะไม่ให้ผู้แจ้งได้รับความเดือดร้อน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img