วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightหอการค้าไทยวอนทุกภาคส่วนยอมรับผลเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หอการค้าไทยวอนทุกภาคส่วนยอมรับผลเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

ประธานส.อ.ท.ระบุการเลือกเลือกตั้งถือเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองไทย-ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต อยากให้รัฐเร่งตั้งครม.ไม่เกิดช่องว่างทางสุญญาการ ขณะที่หอการค้าไทยวอนทุกภาคส่วนยอมรับผลเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย คาดรูปแบบเป็นรัฐบาลผสม

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า หอการค้าไทยหวังว่าทุกภาคส่วนจะยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้ตามระบอบประชาธิปไตย สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลเชื่อว่าน่าจะออกมาในรูปแบบรัฐบาลผสม และควรเร่งจัดตั้งให้แล้วเสร็จตามกรอบของระยะเวลา เพราะหากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ล่าช้า จะยิ่งส่งผลกระทบต่อทั้งความเชื่อมั่นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณและนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่รอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาเร่งดำเนินการ

ถ้าหากมีการจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วก็จะสามารถขับเคลื่อนประเทศ และตอบสนองต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นเป้าหมายสำคัญ คือ ต้องสามารถตกลงแนวทางการทำงานและนโยบายของพรรคร่วมให้ชัดเจนและลงตัว ไม่เกิดความขัดแย้งและต้องมีเสถียรภาพ ซึ่งที่ผ่านมาต่างก็มีรัฐบาลผสมที่สามารถบริหารประเทศไปได้

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า  การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการเมืองไทย และจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยสิ่งที่ภาคเอกชนคาดหวังเป็นลำดับแรกคือการเร่งจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เข้ามาทำหน้าที่โดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดช่วงสุญญากาศหรือเว้นว่างในการบริหารประเทศ

สำหรับนโยบายของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งและเข้ามาทำหน้าที่รัฐบาลชุดใหม่ มีความเห็นว่าบางนโยบายของพรรคการเมืองหลายเรื่องเป็นประโยชน์นำไปใช้เป็นแนวทางในการทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนได้ ดังนั้น หากรัฐบาลชุดใหม่นำนโยบายหาเสียงที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ มาพิจารณาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพการณ์ในแต่ละช่วงได้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ  และต้องเร่งแก้ปัญหาปัญหาปากท้องของประชาชนและการเร่งแก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่อยากให้เร่งดำเนินการ

นอกจากนี้ อยากให้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ทำให้อันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ หรือ Ease of Doing Business ของไทยปรับตัวดีขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดการทำงานที่สร้างสรรค์บรรลุเป้าหมายร่วมกันเพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า   การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2566  ขึ้นกับหน้าตารัฐบาลใหม่ หากยังเป็นขั้วเดิม  นโยบายและการบริหารประเทศก็คงเหมือนเดิม แต่หากเป็นขั้วใหม่ มุมมองต่อความเชื่อมั่นของการลงทุนใหม่ และการใช้จ่ายก็จะดีขึ้น เศรษฐกิจจะยิ่งดีขึ้นไปอีก หากขั้วใหม่ผลักดันนโยบายและบริหารจัดการประเทศได้ตามที่ได้หาเสียงไว้ อย่างไรก็ตาม คาดทั้งปี 2566 จีดีพีไทยจะขยายตัวได้เกิน 3% แน่นอน  


 นอกจากนี้จะไม่เกิดความวุ่นวายภายในประเทศหลังการเลือกตั้ง และได้รัฐบาลเสียงข้างมาก มีเสถียรภาพและมีเวลาจัดการบริการประเทศได้ครบเทอม เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีและบุคคลที่จะเข้าดูแลในแต่ละกระทรวง รวมถึงการลงในรายละเอียดของการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่จะใช้เวลาระยะหนึ่ง ซึ่งดูจากโพลและการดีเบตก่อนเลือกตั้ง เห็นน้ำหนักเทไปขั้วประชาธิปัตย์

นอกจากนี้ความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยและต่างชาติ กำลังใช้จ่ายจะฟื้นตัวขาขึ้นและจีดีพี จะดีขึ้นหรือแย่ลง ขึ้นกับหน้าตารัฐบาลใหม่ ก็หวังว่าไทยจะไม่เป็นประเทศโหล่สุดของอาเซียน

สำหรับนโยบายแรกที่ประชาชนและนักธุรกิจอยากเห็นการแก้ปัญหาคือ  1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างไร แม้ว่าทุกพรรคระบุว่าจะผลักดันความเป็นอยู่ให้ประชาชนดีขึ้น ลดต้นทุน ลดภาระ เพิ่มรายได้ แต่ยังไม่เห็นความชัดเจนของแผนงานจะเพิ่มกำลังซื้อประชาชน วิธีการลดภาระค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะค่าไฟ ค่าน้ำ ต้นทุนผลิตสินค้าและราคาสินค้าที่ยังสูงได้อย่างไร  โดยเฉพาะต้นทุนภาคเกษตร และเอสเอ็มอีที่เป็นรายย่อยจริงๆ ที่ยังมีหนี้ครัวเรือนสูง

ทั้งนี้กำลังเก็บข้อมูลและวิเคราะห์หนี้ชาวนาไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนให้รัฐบาลใหม่ได้รู้ว่าอะไรต้องแก้ไข ภาคเกษตรวันนี้รัฐบาลนี้ออกมาพูดว่าราคาดี แต่ต้นทุนผลิตสูง แต่ก็ไม่อาจผลักภาระให้ผู้ซื้อได้  ขณะที่การรับซื้อสินค้าเกษตรจากพ่อค้าคนกลางก็ยังไม่ได้ให้ราคา  เช่น ทุเรียน หลายพื้นที่ระบุว่าราคารับซื้อยังไม่เกินกก.ละ 50 บาท  แต่ราคาปลายทางแพงมาก ก็อ้างในเรื่องต้นทุนหีบห่อและค่าขนส่ง รายได้ที่เพิ่มขึ้นตกไปอยู่กับพ่อค้าคนกลางมากกว่าเกษตรกร

ขณะที่ส่งออกปีนี้มีโอกาสบวกและติดลบ 1% นั้น รัฐบาลใหม่จะทำอย่างไร ที่ผ่านมาความสามารถการแข่งขันส่งออกของไทยด้อยกว่าหลายประเทศในอาเซียน ทั้งเรื่องต้นทุนสูงกว่า จากค่าไฟ วัตถุดิบหรือวัสดุเพื่อแปรรูป ราคาผลิตต่อชิ้น แรงงาน ล้วนเป็นปัจจัยสะสมต่อต้นทุนผลิตไทยแพงขึ้นๆ เรื่องเหล่านี้รัฐบาลใหม่จะทำอย่างไรที่จะทิ้งห่างมาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย  

ขณะเดียวกันอิทธิพลและบทบาทของจีนต่างชาติที่กำลังเข้าแย่งพื้นที่ขายในไทย ไม่ว่าจะทุนจีน ทุนตะวันตก หรือการเข้ามาของสหรัฐในเอเซียแปซิฟิก ที่จะมีผลต่อห่วงโซ่ซัพพลายเชน และภูมิรัฐศาสตร์ ต้องเพิ่มความเข้าใจให้ประชาชนและธุรกิจได้รับรู้ว่ารัฐบาลจะรับมือและทำอย่างไร เชื่อว่ารัฐบาลใหม่“เข้าใจ แต่จะแก้ไขอย่างไร  เพื่อให้ไทยหลุดพ้นะรั้งท้ายประเทศในอาเซียน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img