วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlight“สศช.”ยันเศรษฐกิจเดินหน้าฉลุย งบเบิกจ่ายรออยู่ 1.9 ล้านล้านบาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สศช.”ยันเศรษฐกิจเดินหน้าฉลุย งบเบิกจ่ายรออยู่ 1.9 ล้านล้านบาท

“สศช.” เผยเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังเดินหน้าต่อไปได้ เหตุยังมีงบประมาณที่รอการเบิกจ่ายพ่วงยาวไปถึงไตรมาส 1/67 วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านบาท หวั่นเศรษฐกิจโลกชะลอตัวกดดันการส่งออก

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 4/66 คาดวาจะมีงบเบิกจ่ายจากการลบงทุนวงเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยมาจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการเตรียมพร้อมเบิกจ่ายงบลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท อีกส่วนคืองบประมาณที่เป็นงบประจำ และงบประมาณผูกพันที่ต้องมีการเบิกจ่ายประมาณ 9 แสนล้านบาท

ส่วนไตรมาสที่ 1 ปี 67 จะมีเม็ดเงินที่สามารถเบิกจ่ายลงระบบเศรษฐ กิจได้อีกประมาณ 7 แสนล้านบาท โดยมาจากงบประมาณประจำและรายการผูกพันงบประมาณของหน่วยงานราชการประมาณ 6.5 แสนล้านบาท และเงินจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจอีกประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

“ไตรมาสสุดท้ายของปีไปจนถึงไตรมาส1 ปีหน้า ยังมีเม็ดเงินที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจจากงบประจำ งบผูกพันของหน่วยงานราชการ และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจกว่า 1.8 – 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการบริโภคและใช้จ่ายภายในประเทศ แต่เงื่อนไขที่สำคัญคือต้องมีการเร่งรัดการจัดทำงบประมาณ และประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 67 ได้ภายในไตรมาส 1/67 ”

สำหรับเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ดีมีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ โดยในเรื่องของการท่องเที่ยวปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 2 ล้านคนต่อเดือน และจะเพิ่มขึ้นในช่วงไฮซีซั่นของปีโดยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 28 ล้านคน

ส่วนที่รัฐบาลพยายามทำต่อเนื่องคือดึงนักท่องเที่ยวรายได้สูงเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทย ควบคู่กับการให้วีซ่าเพื่อพำนักระยะยาว (LTR Visa) ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจอื่น เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์ เป็นต้น

ดนุชา พิชยนันท์

ขณะที่การบริโภคภายในประเทศถือว่าฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการอุปโภคภาคเอกชนก็ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เดือน เม.ย.อยู่ที่ระดับ 7.6 เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.ที่อยู่ที่ระดับ 6.7 ส่วนเรื่องของราคาเชื้อเพลิง ทั้งราคาน้ำมัน ก๊าซ และค่าไฟฟ้าถือว่ามีแนวโน้มราคาลดลงตามทิศทางราคาพลังงานในตลาดโลกที่ลดลง

ด้านปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังของเศรษฐกิจภายในของไทยคือเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะหนี้การเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการเพิ่มขึ้นของการผิดชำระหนี้ ขณะที่หนี้บัตรเครดิตก็ยังเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้นอกจากการดูรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้นต้องสร้างความเข้าใจในเรื่องความรู้ทางการเงินไม่ให้มีการใช้จ่ายเกินตัว และก่อหนี้มากกว่าความสามารถของการชำระหนี้ที่จะสามารถจ่ายได้

ขณะที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยมาจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกใน 5 ปีข้างหน้าจะขยายตัวได้ประมาณ 3.2% โดยจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เห็นได้จากมูลค่าการส่งออกติดลบต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา

นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งหากเงินเฟ้อปรับลดลงช้าก็จะส่งผลต่อเรื่องของอัตราดอกเบี้ยด้วย อีกเรื่องที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและกระทบกับเศรษฐกิจไทยก็คือเรื่องของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ซึ่งความขัดแย้งยังคงอยู่ไม่ได้หายไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img