วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightเศรษฐกิจโลกฟื้นดัน''ส่งออกไทย''เดือนก.ย.โต 2.1%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เศรษฐกิจโลกฟื้นดัน”ส่งออกไทย”เดือนก.ย.โต 2.1%

พาณิชย์เปิดตัวเลขส่งออกเดือนก.ย.ขยายตัว 2.1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังเศรษฐกิจคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว ทั้งจีน-อาเซียน แม้ว่าตลาดสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นหดตัว พร้อมเฝ้าระวังสงครามอิสราเอล-ฮามาส คาดทั้งปีโต 1%


นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขส่งออกของไทยเดือน ก.ย. 66 ขยายตัว 2.1% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยมีมูลค่า 25,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 888,666 ล้านบาท เป็นผลมาจากเศรษฐกิจคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวขึ้น

ทั้งนี้หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 1% ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบตามเมกะเทรนด์ เช่น โซลาเซลล์ และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังคงอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลักยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก

ทั้งนี้การส่งออกไทย 9 เดือนแรก ของปี 2566 ติดลบ 3.8% มูลค่า 213,069 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7.2 ล้านล้านบาท เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 1.2 % การนำเข้า มีมูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 6.0 ดุลการค้า 9 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 12% (YoY) พลิกกลับมาขยายตัวในรอบ 5 เดือน โดยสินค้าเกษตร ขยายตัว 17.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน

สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 5.4 % พลิกกลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว 66.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เวียดนาม และฮ่องกง) ข้าว ขยายตัว 51.4 % ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และเบนิน)

ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 3.7% กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้) น้ำตาลทราย ขยายตัว 16.3% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน และสิงคโปร์)

ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว  12.8% กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัว  27.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) 

ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัว  17.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน เกาหลี และออสเตรเลีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัว  3.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม เมียนมา และอียิปต์) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว  7.9 %ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ กัมพูชา และเมียนมา)ไข่ไก่สด ขยายตัว 52.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน มัลดีฟส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัว  12% หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ขยายตัวในตลาดลิเบีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ จีน และอาร์เจนตินา) ยางพารา หดตัว 30.3% หดตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดตุรกี ฝรั่งเศส กัมพูชา โรมาเนีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

ไก่แปรรูป หดตัว 11.2 %หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และไอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ แคนาดา ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และฝรั่งเศส) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัว 7.9% หดตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร)

ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัว  3.9% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียแคนาดา และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน เนเธอร์แลนด์ ลาว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา

สำหรับการส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดจีนที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการกลับมาขยายตัวในรอบหลายเดือนของตลาดอาเซียน (5) และเอเชียใต้ แต่สหรัฐฯและญี่ปุ่นหดตัว อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังหลายตลาดยังคงมีความไม่แน่นอน จากปัจจัยกดดันของเศรษฐกิจโลก

ส่วนแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป  ประเมินว่าการส่งออกในไตรมาส 4 ของปี 2566 จะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19  คาดส่งออกทั้งปีโต 1%

ขณะที่กระแสความมั่นคงทางอาหาร และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารที่ไทยมีศักยภาพ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมยังสามารถเติบโตได้ตามเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลและพลังงานสะอาด

โดยกระทรวงพาณิชย์ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและเดินหน้าเจรจาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ จากปัญหาความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอล-กลุ่มฮามาส ซึ่งอาจจะขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการค้าของโลกในระยะถัดไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img