วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlight‘ซีพี’ร่อนหนังสือขอต่ออายุส่งเสริมลงทุน รอบสุดท้ายโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ซีพี’ร่อนหนังสือขอต่ออายุส่งเสริมลงทุน รอบสุดท้ายโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

“กลุ่มซีพี” ทำหนังสือถึง “บีโอไอ” ขอต่ออายุบัตรส่งเสริมการลงทุนรอบสุดท้าย ด้าน “นฤตม์” เผยต้องรอให้ “รฟท.-สกพอ.” ตอบกลับมาก่อนเหตุเป็นโครงการใหญ่อยู่ภายใต้อีอีซี

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บริษัท บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มซีพี ในฐานะบริษัทเอกชนคู่สัญญากับรัฐร่วมลงทุนในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่ากว่า 2.24 แสนล้านบาทได้ทำหนังสือถึงบีโอไอ ขอต่ออายุบัตรส่งเสริมการลงทุน จากเดิมที่สิ้นสุดในวันที่ 22 ม.ค.67 โดยบีโอไอได้ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการไฮสปีดเทรนถึงการขอต่อบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต้องรอทั้ง 2 หน่วยงานตอบกลับมาก่อน ว่าการขยายสัญญาอีกครั้งมีความเหมาะสม หรือมีข้อแนะนำอย่างไรบ้าง เพราะโครงการไฮสปีดเทรนเป็นโครงการขนาดใหญ่และอยู่ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จากปกติที่การต่ออายุบัตรส่งเสริมการลงทุนสามารถพิจารณาได้เองตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ตามกฎหมายกรณีมีเหตุผลและความจำเป็น บีโอไอจะอนุมัติให้ขยายเวลาการส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมให้ ไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 4 เดือน ซึ่งจะดำเนินการผ่านระบบงานบัตรส่งเสริม (Promotion Certificate System) หากมีการต่ออายุออกบัตรส่งเสริมครั้งนี้ จะทำให้เอกชนได้รับการขยายเวลารับการส่งเสริมการลงทุนถึงวันที่ 22 พ.ค. 67 เป็นครั้งที่ 3 ครั้งสุดท้ายตามกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้เอกชนคู่สัญญาเคยได้รับการเสนอขอต่ออายุมาแล้ว 2 ครั้ง

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน มีระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการกว่า 224,544 ล้านบาท นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนข้ามชาติ รวมทั้งยังเป็นโครงการสำคัญที่เชื่อมต่อกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างเตรียมเสนอการแก้ไขร่างสัญญาฯ ต่อคณะกรรมการกำกับแก้ไขสัญญาฯ หลังจากนั้นจะส่งร่างแก้ไขสัญญาฯให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบภายในสัปดาห์หน้า ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน 

ทั้งนี้คาดว่า สำนักงานอัยการสูงสุด จะตรวจสอบแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนก.พ. 67 นี้ ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการอีอีซี พิจารณา หลังจากนั้นจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ คาดว่าจะลงนามสัญญาแก้ไขร่างสัญญาฯ ได้ภายในกลางเดือนมี.ค. 67 ต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img