วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกHighlightส่งออกมิ.ย.พุ่ง 11.9% เตรียมถกทูตพาณิชย์ลุยตลาดรอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่งออกมิ.ย.พุ่ง 11.9% เตรียมถกทูตพาณิชย์ลุยตลาดรอง

“จุรินทร์” เผยตัวเลขส่งออก มิ.ย. มูลค่า 2.6 หมื่นล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 11.9% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 เตรียมถกทูตพาณิชย์รับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย-ขยายตลาดรอง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์   รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์  เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่า 26,553.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 907,286 ล้านบาทขยายตัว  11.9  % เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 และการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของการส่งออกในเดือน มิ.ย.นี้ 

ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 28,082.3 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 24.5 %  ขาดดุล 1,529.2 ล้านดอลลาร์  ขณะที่ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2565 (มกราคม-มิถุนายน) การส่งออก มีมูลค่า 149,184.8 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 12.7%  การนำเข้า มีมูลค่า 155,440.7 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 21.0 %   ขาดดุล  6,255.9 ล้านดอลลาร์ 

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการส่งออกคือ การทำงานร่วมกับภาคเอกชน ความต้องการอาหารทั่วโลกสูงขึ้น ภาคการผลิตทั่วโลกยังขยายตัว และค่าเงินบาทที่อ่อนค่า

ส่วนตลาดที่ขยายตัวในระดับสูง 5 อันดับแรกประกอบด้วย เอเชียใต้ ขยายตัว 49.5% รองลงมาเป็นอาเซียน (5 ประเทศ) ขยายตัว 35.6% แคนาดา ขยายตัว 26.2% ตะวันออกกลาง 24.0% และ CLMV ขยายตัว 19.5%

ส่วนเป้าหมายการส่งออกทั้งปีนี้กระทรวงยังไม่มีการเป้าหมาย แต่ตัวเลขการส่งออก  6 เดือน ขยายตัว12.7 % ก็เกินเป้าที่กระทรวงวางไว้เดิม 4 % :ซึ่งกระทรวงยังคงเดิหน้าผลักดันการส่งออกของไทยต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เตรียมประชุมทูตพาณิชย์เดือน ส.ค. นี้ เพื่อเร่งกิจกรรมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเน้นการการผลักดันการส่งออกในเมืองรอง  38 เมือง 25 ประเทศ การผลักดันซอฟพาวเวอร์ การค้าออนไลน์ เป็นต้น  ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการค้าโลกยังเป็น เศรษฐกิจโลกถดถอย และเงินเฟ้อทีปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า  (สนค.)  กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกนี้สะท้อนความสามารถในการผลิตสินค้าอาหารของไทยป้อนสู่ตลาดโลก และสอดรับนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิตโลก สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 24 สำหรับด้านตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ อาเซียน สหภาพยุโรป และตลาดรอง ได้แก่ เอเชียใต้ ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา ทั้งนี้ การส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2565 ขยายตัว 12.7%  และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 9.0 %

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img