วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightเอกชนร้องรัฐอุ้ม“เอสเอ็มอี” ฝ่าค่าแรง-เอฟที-ดอกเบี้ยพุ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เอกชนร้องรัฐอุ้ม“เอสเอ็มอี” ฝ่าค่าแรง-เอฟที-ดอกเบี้ยพุ่ง

สมาคมอาหารสำเร็จรูปโอดต้นทุนพุ่งรับดอกเบี้ยขาขึ้น- ค่าแรง-ค่าเอฟจ่อขยับ วอนรัฐช่วยเอสเอ็มอีปรับโครงสร้างหนี้-หนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ


นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารมีต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นมากและจะปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก เพราะรัฐบาลมีแผนที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 5-20% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็งจะกระทบมาก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น

นอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 0.75% ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคการผลิตเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันภาคการผลิตมีสัดส่วนสินเชื่อเป็นมูลค่ามากถึง 2.29 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12.6% ของมูลค่าสินเชื่อทั้งระบบ

ทั้งนี้กลุ่มผู้ผลิตโดยเฉพาะรายที่เป็นเอสเอ็มอีที่มีการกู้ยืมเงินมาลงทุนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจหลังโควิด 19 กำลังได้รับผลกระทบจากการลงทุนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจหลังโควิด 19 กำลังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยมาก เพราะปัจจุบันเอสเอ็มอีทั่วประเทศมียอดคงค้างเงินสินเชื่อสูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.35% ของยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อรวมทั้งประเทศที่ 18 ล้านล้าน

นอกจากนี้ค่าเอฟทีเดือนก.ย.-ธ.ค. 2565 จะขึ้นอีก 68.66 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็นเอฟทั้งสิ้น 93.43 สตางค์ อาจทำให้ค่าไฟต้องปรับสูงขึ้นถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วยในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี คาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1-10%

ดังนั้นขอให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในกลุ่มเอสเอ็มอี และประชาชนผู้มีรายได้น้อย เช่น ออกมาตรการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้การพักชำระหนี้ และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการปรับตัวรับมือกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

อย่างไรก็ตาม กนง. ควรปรับดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยน ให้เหมาะสมต่อการนำเข้าและส่งออก เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ปรับตัวได้ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ควรควบคุมการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ให้เหมาะสมด้วย เพื่อบรรเทาผลกระทบให้อุตสาหกรรม

ส่วนปัญหาด้านต้นทุนค่าไฟฟ้านั้นอยากขอให้รัฐแก้ปัญหา ที่ต้นเหตุ และสนับสนุนให้เอกชนลงทุนด้านโซลาร์เซลล์และซอซื้อ ขายไฟฟ้ากันเองโดยไม่ต้องผ่านการไฟฟ้า ในราคาที่แข่งขันได้ รวมไปถึงการลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Solar Cell รวมทั้งควรสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวในการติดตั้งแผงอุปกรณ์โซลาร์เซลล์แก่ผู้ประกอบการ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img