วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightสรุปง่ายๆวัคซีนโควิดแต่ละค่าย คนไทยควรจะใช้ยี่ห้อไหนกันดี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สรุปง่ายๆวัคซีนโควิดแต่ละค่าย คนไทยควรจะใช้ยี่ห้อไหนกันดี

สรุปแบบง่ายๆ “วัคซีนโควิด” แต่ละยี่ห้อที่ทั่วโลกใช้กัน “Pfizer / Moderna / AstraZeneca / SinoVac” แต่ละยี่ห้อมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร คนไทยจะใช้ยี่ห้อไหนดี เพราะวัคซีนแต่ละตัวนั้น มีสมบัติแตกต่างกัน ผลการเลือกใช้ก็จะแตกต่างกัน

เมื่อวันที่ 14 ม.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสัตวแพทย์ ศิวะ พีระเกียรติขจร ได้สรุปรายละเอียดของวัคซีนยี่ห้อต่างๆ ที่ใช้กับโรคโควิด-19 ว่าแต่ละยี่ห้อมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง โดยอธิบายในเฟซบุ๊ก “ศิวะ พีระเกียรติขจร” มีเนื้อหาดังนี้…COVID-19 Vaccine : ความอลหม่านในทางเลือกของการฉีด และการตัดสินใจในการเลือกการใช้ …ตอนนี้มีหลากกระแสหลายเสียงมาก ในการสนับสนุนการเลือกวัคซีนต่าง ๆ ที่เริ่มมีออกมา ที่แต่ละคนก็มีแนวคิดที่แตกต่างกันไป … ซึ่งไม่แปลกเลยสำหรับแนวคิดที่แตกต่างกัน เพราะว่าวัคซีนแต่ละตัวนั้น ต่างก็มีสมบัติที่แตกต่างกันไปมากพอสมควร ที่ทำให้ผลของการใช้และการเลือกใช้งานที่ยังมีความแตกต่างกันอยู่ครับ
…….
Pfizerเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในแง่ของการเคลมผลลัพธ์ที่อัตราการคุ้มกันอยู่ที่ 95% … ถ้ามองในแง่ของตัวเลขประสิทธิภาพวัคซีน… ในทางเทคนิคถือว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มกันโรคได้ค่อนข้างดี ภายหลังจากการฉีดโดสที่ 2 (โดสแรก 50-60%+ โดสที่ 2 คุ้มกันได้ 95%) … ช่วงแรกตัวเลขก็ยังขรุขระที่ 50 กว่าถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ จนในที่สุดเมื่อการทดลองสิ้นสุดในระยะ 2 เดือนเศษ ในที่สุดก็เคลมข้อสรุปที่ 95%… แต่ก็ยังก็เป็นวัคซีนที่ต้องดูผลข้างเคียง ที่ดูลักษณะของผลข้างเคียงแล้ว นอกจากผลข้างเคียงทางระบบภูมิคุ้มกันทั่วไปอาจจะต้องระวังระบบไหลเวียนโลหิต (หรือหมุนเวียนโลหิต) เรื่องภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และเรื่องผลต่อระบบอื่น ๆ เพิ่มเติมกันอยู่บ้าง ในบางบริเวณที่มีความเปราะบาง ทั้งจากตารางที่สรุปเช่นอาการไส้ติ่งอักเสบหรือเจ็บแขนที่บริเวณฉีด หรือจากเคสเลือดออกในสมองของคุณหมอที่ทำวัคซีนจนเสียชีวิต ซึ่งต้องไปดูกันต่อว่าเป็นผลจากวัคซีนหรือไม่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันหรือเปล่า
https://www.nytimes.com/…/health/covid-vaccine-death.html

ข้อที่น่าจะต้องพิจารณามากพอสมควรสำหรับวัคซีนของไฟเซอร์คือ condition ในการเก็บและขนส่ง โดยเฉพาะประเทศที่ไฟไม่เสถียรอย่างประเทศเรา ที่น่าจะต้องคิดให้ดี เพราะแม่วัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูง แต่นั่นคือการการันตีที่ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันผลิตและเก็บอยู่ใน condition ที่ลบ 70-84 องศา และหากอุณหภูมิสูงเกิน -70 องศาระยะเวลาจะลดลงวูบเหลือเพียงระดับวัน สัปดาห์หรือ 1 เดือน … ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้อุปกรณ์ในการเก็บเฉพาะอย่างตู้ Ultra-low Temp. Freezer และวิธีการขนส่งที่น่าจะไม่ธรรมดามากนัก … ซึ่งหากไม่เก็บในสภาพนี้ หรือมีการแกว่งของสภาพเช่นไฟฟ้าขัดข้องซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ตามต่างจังหวัดของประเทศไทย ตู้เย็นงอแง การรับช่วงต่อของตู้เย็นใบที่ 2 จะเป็นเรื่องที่ยากด้วยราคาและการแพร่กระจายของตู้เย็นชนิดที่เหมาะสม แล้วก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้วัคซีนเสื่อม จากสภาพที่ผันแปรไปในการเก็บวัคซีนซึ่งทำให้หวังผลได้น้อยลงมากถึงไม่ได้ผล

และการออกหน่วยฉีดภายนอกโรงพยาบาลของวัคซีนประเภทนี้ คงเป็นไปไม่ง่ายนัก ทำให้การเรียกฉีดวัคซีนอาจทำได้ในวงแคบและใช้เวลานานกว่าที่จะทำวัคซีนได้ถึงระดับที่สามารถก่อให้เกิด herd immunity … ดราม่าพิมรี่พาย น่าจะทำให้คนได้คำตอบพอประมาณ ว่าจะให้การ Handle vaccine ไปใช้พ้นจากรั้วโรงพยาบาลขั้นตติยภูมิหรือต่ำกว่าโรงพยาบาลทุติยภูมิขั้นกลางในไทยดูจะยังยากเลย … และคนที่อยู่ในต่างจังหวัดจริง ๆ ที่อยู่จากห่างไกลจากตัวเมือง ก็คงเข้าใจดีว่าความขลุกขลักของระบบไฟฟ้าบ้านเรามันเป็นยังไง และอุปกรณ์ไฟฟ้าจะพังเนื่องจากระบบไฟฟ้าได้บ้างขนาดไหน
….
Modernaสมดุลของวัคซีนในแง่ประสิทธิภาพ และการเก็บรักษา … ที่ยังต้องดูผลข้างเคียงเล็กน้อย เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ใช้ mRNA technique ที่หวังผลในการสร้างแอนติเจนโดยตรงจากเซลล์ host โดยไม่ใช้ไวรัสใด ๆ เป็นตัวนำเข้าสู่เซลล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่น่าสนใจอีกบริษัทหนึ่งเนื่องจากสามารถเก็บในอุปกรณ์แช่เย็นที่หาซื้อได้ไม่ยากนัก แม้ว่าอาจไม่ง่ายเท่าการใช้ตู้เย็นทั่วไป แต่ตู้แช่ไอศกรีมหรือตู้แช่แข็งเก็บอาหารสดหรือเนื้อเยื่อทั่วไปอย่างตู้ไฟเบอร์ขาว ๆ ที่เห็นตามร้านขายอาหารแช่แข็ง ที่สามารถทำอุณหภูมิได้ต่ำกว่า -20 ก็พอที่จะหาซื้อได้ในแต่ละพื้นที่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

ซึ่งความกังวลในแง่ของเทคนิคจะลดลงต่ำมาก แม้ว่าความกังวลในเรื่องของการเก็บรักษาอาจจะมากกว่าอีก 2 บริษัทที่เหลือ ที่ไม่ว่าตู้เย็นแบบ wind chill freezer หรือตู้แช่ธรรมดาที่ไหนก็สามารถแช่ได้ หรือถ้าขัดข้องหลัก ๆ น้ำแข็งและเกลือก็ยังทำความเย็นได้มากพอที่จะป้องกันวัคซีนเสื่อมได้ ในแง่ของผลข้างเคียงหลัก ๆ จากอาการ ก็ยังพบอยู่จำกัดในขอบเขตของระบบภูมิคุ้มกัน และอาการข้างเคียงทั่ว ๆ ไปของการใช้เวชภัณฑ์ ซึ่งก็มักเกิดได้จากกระบวนการทำวัคซีนได้ ที่ต้องจับตามองผลข้างเคียงที่สำคัญเล็กน้อยเล็กน้อยคือเรื่องของข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่อาจเกิดขึ้นได้


…..
AstraZenecaจุดแข็งอยู่ที่อุณหภูมิรักษา แต่จุดที่ต้องจับตา คือโอกาสสำเร็จ และผลข้างเคียง หนึ่งในวัคซีน ที่คาดว่าจะนำมาใช้ในไทยตั้งแต่แรก ซึ่งใช้กระบวนการผลิตแบบ Recombinant vaccine ที่ตัดต่อหน่วยพันธุกรรมของโควิด 19 ลงสู่ไวรัสที่ไม่ก่อโรคตามปกติในคนเพื่อสร้างพาหะเข้าสู่เป้าหมาย (สร้าง viral vector) ซึ่งมีความอลหม่านเล็ก ๆ ในแง่ของการนำเสนอผลหลาย ๆ ครั้ง โดยที่พบในปัจจุบันคือโอกาสสำเร็จในการทำวัคซีนประมาณ 60-90% ซึ่งความอลหม่านคือผลของการฉีดและมีความหลากหลายและมีการปรับ condition การทดลองมาก่อนบ้างเนื่องจากหลาย ๆ เหตุผล เช่นช่วงแรกอาจมีการหวังผลเป็น single-shot vaccine มีการปรับ condition มาเมื่อพบว่าผลลัพธ์ที่ดีควรทำเป็น double shot มากกว่า

ด้วยเทคนิคที่อาจไม่ทันสมัยเท่าวัคซีนของ 2 บริษัทแรก อาจมีส่วนทำให้เปอร์เซ็นต์หวังผลต่ำลงมาบ้าง แต่ด้วยเทคนิคมีที่เคยทำกันมาบ้างแล้วกับหลายวัคซีนทั้งในคนและในสัตว์ เชื่อว่ามนุษย์อย่างพอคุ้นเคยกับเทคนิคและการสังเกตข้อและผลข้างเคียงได้ แต่คุณความดีที่แท้จริงของวัคซีนชนิดนี้คือโอกาสเสื่อมสภาพต่ำกว่า 2 บริษัทแรกพอสมควรโดยเฉพาะ Pfizer ที่ condition การเก็บมีผลต่อโอกาสการเสื่อมสภาพมากที่สุด โดยบริษัทนี้ผลิตวัคซีนที่สามารถเก็บได้ในตู้แช่ธรรมดาได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
https://www.reuters.com/…/fact-check-mrna-vaccines-kept…

ผลข้างเคียงที่เกิดที่น่าเป็นกังวลคือการพบเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการทำวัคซีน ที่เป็นผลจากการสร้างภูมิคุ้มกันหรือเป็นเรื่องจากตัววัคซีนเองยังต้องไปจำแนกอีกทีหนึ่ง ซึ่งทำให้เป็นที่จับตามองในแง่ที่ว่าทางแอสตร้าเซเนก้าได้ใช้ Non-neurotropic adenovirus มาใช้หรือไม่ ซึ่งยังต้องจับอาการของผู้ป่วยภายหลังจากการทำวัคซีนที่อาการทางประสาทนั้น ทำให้การใช้วัคซีนชนิดนี้ยังต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดยังต้องช่วยดูแล โดยคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์
…..
SinoVac วัคซีนที่แม้เทคนิคเก่า แต่ก็ยังพอเก๋าใช้ได้อยู่ …… รถเก่า ๆ ที่บางคนมองว่ามันมีความเก่าและยังวิ่งได้อยู่ฉันใด … เทคนิคเก่า ๆ อย่าง killed vaccine หรือ inactivated vaccine ก็ยังพอใช้งานได้ในปัจจุบัน … ถ้าหากผลของภูมิคุ้มกันที่สามารถก็ได้ไม่ต่ำลงไปกว่านี้อีกนะ 55555… และแน่นอนว่ารถเก่า ๆ ถึงแม้ออฟชั่นจะไม่หลากหลาย รวมทั้งสมรรถนะของรถก็ไม่หวือหวาเหมือนรถสมัยใหม่ แต่ก็ยังกันแดดกันฝนได้พอประมาณ

… จากข่าวล่าสุดที่ออกมาว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจาก Sinovac ที่ดูต่ำกว่าทุกเจ้า (อยู่ที่ 50-70%) ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมายมากนัก เนื่องจากเทคนิคที่ใช้นั้นถือว่ายังมีความเพลย์เซฟและไม่หวือหวาซับซ้อนมากเหมือนทางฟากตะวันตก สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือผลของการทำวัคซีนที่อัตราประสิทธิภาพและความสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 50 กว่า ๆ ถึง 78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะดูต่ำกว่าชาวบ้านอยู่พอประมาณ ด้วยเหตุผลทางเทคนิคในการกระตุ้นภูมิ แต่ก็แลกเปลี่ยนด้วยเทคนิคการเก็บรักษาที่ง่ายขึ้นในสภาพการเก็บภายในตู้เย็นธรรมดาได้ และถือว่าอยู่ได้นานพอสมควร ซึ่งเคยมีข่าวว่าเก็บได้นานถึง 3 ปี
https://www.reuters.com/…/sinovacs-covid-19-vaccine…

ความน่ากังวลของวัคซีนประเภทนี้มีค่อนข้างน้อย เพราะเรารู้จักกับวัคซีนเชื้อตายมานานมากแล้ว แต่สิ่งที่ยังต้องทดลองกันต่อไปก็เพื่อดูว่ามันมีผลลบยังไงบ้างซึ่งอาจจะเกิดจากสารที่อาจนำมาทำเป็น adjuvant หรืออาจปนเปื้อนมาได้ครับ จุดอ่อนของวัคซีนชนิดนี้ น่าจะอยู่ที่เรื่องของราคาต่อประสิทธิภาพที่อาจดูต่ำกว่า และแม้ผลการทดลองที่ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่ด้วยขนาดของตัวอย่างทดลอง ยังมีไม่มากนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไปครับ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img