วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightเผยโควิดในไทยเพิ่มขึ้นแต่มีอาการน้อย “สธ.”ย้ำ“ยึดแนวทางการรักษาแบบเดิม”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เผยโควิดในไทยเพิ่มขึ้นแต่มีอาการน้อย “สธ.”ย้ำ“ยึดแนวทางการรักษาแบบเดิม”

ปลัดสธ.ย้ำคงการรักษาโควิดแบบเดิม ปรับการฉีดวัคซีนปีละครั้งพร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยันสายพันธุ์ที่พบในไทย XBB 1.5 ไม่ใช่ XBB.1.6 ชี้ไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตลอดเวลา

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 66 ที่กระทรวงสาธารณสุข ภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า สถานการณ์โรคขณะนี้ เป็นไปตามที่มีการคาดการณ์ไว้หลังจากที่ประชาชนมีการเดินทางพบปะทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น แต่ยังเป็นสถานการณ์ที่รับมือได้ เพราะถึงแม้จะมีการติดเชื้อมากขึ้นแต่อาการไม่มาก จำนวนผู้ใส่ท่อช่วยหายใจรวมทั้ง 12 เขตสุขภาพขณะนี้มีไม่ถึง 20 คน และในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต 2 รายถือว่าน้อยมาก

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ตอนนี้สถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของทั่วโลก ประการต่อมา คือเรื่องของสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่มีการรายงานอยู่ไม่ว่าจะเป็น XBB ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิคอน การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องติดตามเฉยๆ ยังไม่ถึงกับเป็นสายพันธุ์ที่ต้องกังวลมากนักไม่ว่าจะเป็น XBB.1.16 ในแง่ของความรุนแรงยังไม่มีหลักฐานว่ารุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ส่วนเรื่องของการติดง่ายขึ้นกว่าเดิมหรือไม่นั้น หลบภูมิคุ้มกันได้หรือไม่ ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ก็พบว่าอาจจะติดได้ง่ายขึ้นแต่ไม่ได้เป็นการติดง่ายแบบมีนัยยะสำคัญมากนักใน ดังนั้น การดูสถานการณ์ควรดูทั้งเรื่องของสายพันธุ์ อาการทางคลินิก ระบาดวิทยาควบคู่กันไป การดูข้อมูลเพียงด้านใดด้านเดียวอาจจะไม่ครบถ้วน

นพ.โอภาส กล่าวว่า ดังนั้นที่ประชุมเห็นสถานการณ์ตรงกันว่า ถึงแม้จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่อาการไม่รุนแรง ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรง หรือมีอาการมาก หรือกลุ่มเสี่ยงยาต้านไวรัสทั้งหลายยังใช้ได้ดีอยู่ ยังไม่มีข้อมูลว่าเชื้อไวรัสไม่ตอบสนองต่อยาต้านไวรัส ไม่ว่าจะเป็นฟาวิพิราเวียร์ โมนูลพิราเวียร ริมดิสเซเวียร์ Long acting antibody ก็ยังมีประโยชน์ในการรักษาอยู่ ที่ประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีการประชุมตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรักษายังคงเหมือนเดิม คือคนอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ไม่ต้องกินยาอะไร ส่วนกลุ่มเสี่ยงอาการน้อย ก็ให้ยาตามแนวทางเดิม เพียงแต่ปรับการให้ยาบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องและเข้าใจมากขึ้น ส่วนกรณีที่มีโรงเรียนแพทย์ ปรับแนวทางการให้ยานั้น ตนได้มีการพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลแล้ว ยืนยันว่าสื่อบางสื่อ มีการสื่อสารข้อความของอาจารย์ออกไปไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ยืนยันว่ายาต่างๆ มีเพียงพอ โมนูละราเวียร์มีหลายล้านเม็ด แพ็คโลวิดก็มีสามารถรักษาได้เป็นหมื่นคน เรมดิสซีเวียร์ มีเป็นแสน ดังนั้นสบายใจได้ เราไม่ขาดแคลนยารักษา

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ประชุม เห็นชอบตามที่อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันมีคำแนะนำว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะเป็นการฉีดประจำปีเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นยุทธศาสตร์ภาพรวมการจัดการเรื่องโรคโควิด-19 เราจะจัดการมันเหมือนกับโรคประจำถิ่นโรคที่มีการระบาดตามฤดูกาล ดังนั้นการฉีดวัคซีนจะฉีดควบคู่กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ซึ่งจะมีการรณรงค์ในการฉีดทั้งประเทศวันที่ 1 พ.ค. ในกลุ่มเสี่ยง 608 บุคลากรทางการแพทย์แลสาธารณสุข และ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) รวมทั้งเด็ก ส่วนถ้าประชาชนคนอื่นมีความประสงค์ก็สามารถฉีดได้เช่นเดียวกัน โดยฉีดคู่กันทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์

ทั้งนี้ มีข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า คนที่มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ น้ำมูก ส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ 65% เป็นโควิด 3% ดังนั้นตัวที่พบมากคือไข้หวัดใหญ่ การป้องกันจะคล้ายคลึงกันคือฉีดวัคซีน คนที่มีอาการทางเดินหายใจ ไม่สบายก็ใส่หน้ากากอนามัยก็จะลดการแพร่กระจายเชื้อไปได้ ทั้งนี้ในช่วงบ่ายวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับแพทยสภา จะมีการสื่อสารผ่าน Facebook Live ให้กับแพทย์ทั้งประเทศได้รับทราบ เพื่อให้ผู้รักษาเข้าใจข้อมูลที่ตรงกัน เพราะที่ผ่านมาข้อมูลที่อยู่ในโซเชียลมีเดียเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งไม่ถูกต้องทำให้แพทย์เกิดความสับสน หลังจากนี้ก็จะมีการสื่อสารไปถึงอสม.ด้วย

เมื่อถามว่า ตอนนี้คนตื่นสถานการณ์โรคแล้วแห่ไปฉีดวัคซีน ถามว่ามีความจำเป็นหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนก็ฉีดได้เลย ฉีดพร้อมไข้หวัดใหญ่จะสะดวกที่สุด เพราะการระบาดของมันจะใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ไม่ต้องไปนับแล้วว่ากี่เข็ม ต่อไปจะฉีดปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เวลาฉีดห่างจากเข็มสุดท้าย 3 เดือน หรือว่าติดเชื้อมาแล้ว 3 เดือนก็สามารถรับวัคซีนได้ สถานการณ์การติดเชื้อการระบาด ไม่มากอย่างอัตราผู้เสียชีวิตในสัปดาห์ที่ผ่านมามีอยู่ 2 ราย เคสเพิ่มขึ้นแต่เนื่องจากของเดิมเรามีเคสน้อยมาก

ดังนั้นถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็เลยเยอะ แต่จากการสอบถามเตียงโรงพยาบาลถึงผู้ที่มีอาการหนักก็ถือว่าน้อยมากๆ อย่างไรก็ตามก็ต้องมีความระมัดระวัง สบายใจเกินไปก็ไม่ดี ตื่นตระหนกเกินไปเดี๋ยวชีวิตจะอยู่ไม่เป็นสุขก็ขอให้ใช้ชีวิตอย่างทางสายกลาง มีความระมัดระวังโดยเฉพาะกลุ่ม 608 คนที่ยังไม่รับวัคซีนประจำปี หากสะดวกก็สามารถติดต่อขอรับวัคซีนใกล้บ้านได้

“การเพิ่มขึ้นขณะนี้ยังห่างไกลจากสมัยก่อนเยอะมากตอนนี้คนที่ใส่ท่อช่วยหายใจทั้ง 12 เขตสุขภาพมีไม่ถึง 20 คน และเราติดตามทุกวัน ทุกสัปดาห์อยู่แล้ว อย่างคนที่ไปทำกิจกรรมสงกรานต์ กลับมาที่ทำงานอยู่ที่บ้าน หากมีอาการไข้ ไอ น้ำมูก สามารถตรวจ ATK ได้ หากมีอาการก็ไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาต่อไป ขอย้ำว่าสายพันธุ์นี้ยังไม่มีข้อมูลว่ารุนแรงกว่าเดิม ดูเหมือนว่าจะติดง่ายกว่าเดิม แต่ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการไม่ได้มีนัยยะสำคัญ สายพันธุ์ที่พบในบ้านเราคือ xbb 1.5 ไม่ใช่ XBB.1.6 ขออย่ากังวล ไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตลอดเวลา แต่เรามีทีมติดตามอยู่” นพ.โอภาส กล่าว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img