วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกHighlight“GC”จับมือ“ทส.” พัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล ต้นแบบพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“GC”จับมือ“ทส.” พัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล ต้นแบบพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง

GC จับมือทส.จัดทำโครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล พัฒนาพื้นที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมลดขยะพลาสติกได้กว่า 4,500 กิโลกรัม

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ในพิธีส่งมอบโครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน สร้างประโยชน์ต่อชุมชน ควบคู่กับการรักษาความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมพิธี

นายวราวุธ เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ GC ได้ร่วมดำเนินการบริเวณพื้นที่รอบสระน้ำของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมระยะทาง 320 เมตร นับเป็นความร่วมมือที่จะส่งเสริมให้สังคมได้เห็นถึงประโยชน์ของการหมุนเวียนทรัพยากรผ่านการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี หมุนเวียนกลับมาสร้างคุณค่า และสร้างประโยชน์ ให้ “พลาสติก เทิร์นเมือง” เป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ส่งต่อสู่การอัพไซเคิล ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เผยว่า โครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล เป็นการออกแบบร่วมกับชุมชนในพื้นที่โดยคำนึงถึงระบบนิเวศและการใช้งานอย่างสมดุลโดยยังพอรักษาความเป็นธรรมชาติที่หลากหลาย โดย GC มีนวัตกรรมและแพลตฟอร์ม “YOUเทิร์น” ที่เป็นการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร ตั้งแต่การคัดแยกพลาสติกใช้แล้ว การจัดเก็บ การขนส่ง ไปจนถึงการนำไปรีไซเคิลสร้างมูลค่าเพิ่ม

ในโครงการนี้ ซึ่งได้แก่ ถนนอัพไซเคิลระยะทาง 130 เมตร ผลิตจากยางมะตอยผสมพลาสติกใช้แล้วประเภทฟิล์ม, แผ่นทางเดินอัพไซเคิลระยะทาง 190 เมตร และท่าน้ำอัพไซเคิล ที่ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วประเภทฟิล์ม ซึ่งย่อยสลายยาก แต่ก็สามารถวิจัย และพัฒนาเป็นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า มีความแข็งแรงเหมือนกระเบื้อปกติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกไปสู่หลุมฝังกลบมากกว่า 4,500 กิโลกรัม พร้อมช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 4,700 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้มากกว่า 495 ต้น ซึ่งจะสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนให้กับทุกคน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img