วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightผลศึกษาชี้ต้องเพิ่มมาตรการคุมเข้มข้น ก่อนระบบสาธารณสุขจะล่ม-รพ.เต็มล้น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ผลศึกษาชี้ต้องเพิ่มมาตรการคุมเข้มข้น ก่อนระบบสาธารณสุขจะล่ม-รพ.เต็มล้น

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิดในปัจจุบัน ทาง ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงิน Sasin School of Management (สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อจำลองสถานการณ์การระบาดและนำมาช่วยในการตัดสินใจในการควบคุมการระบาด

ซึ่งจากแบบจำลองพบว่า ณ ปัจจุบัน มาตรการควบคุมการระบาดยังไม่เพียงพอ  มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเพิ่มมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มข้นมากขึ้น  ก่อนที่ระบบสาธารณสุขจะเสี่ยงล่ม 

ผศ.ดร.ชนวีร์ ได้วิเคราะห์สถานการณ์จาก 5 ฉากทัศน์ คือ 1) ไม่มีมาตรการเพิ่มเติมและกระจายวัคซีนที่ได้รับไปทั่วประเทศ 2) ไม่มีมาตรการเพิ่มเติมแต่กระจายฉีดวัคซีนเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงก่อน 3) กรณีที่รัฐเริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายมาตรการ เช่น อนุโลมให้เปิดหน้ากากพูดในที่ประชุมได้ และฉีดในพื้นที่เสี่ยงสูงก่อน 4) กรณีที่รัฐส่งสัญญาณเข้มมาตรการ เช่น จับและลงโทษผู้ที่ไม่สวมหน้ากากในที่สาธารณะจริงและออกข่าว และฉีดในพื้นที่เสี่ยงสูงก่อน 5) เหมือนฉากทัศน์ที่ 4 แต่เพิ่มเติมว่าจะมีการจัดการร่วมรบ (organized attack) โดยบริหารจัดการให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสูงสามารถหยุดกิจกรรมทางสังคมเป็นเวลา 10 วันได้โดยพร้อมเพรียงกัน หรือถ้าจำเป็นต้องไปพบคนอื่นก็ห้ามพบกันเกิน 2 คน ต้องรักษาระยะห่าง 1-2 เมตรตลอดเวลา ใส่หน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่นอกบ้านอย่างเข้มข้นเป็นเวลา 10 วัน ถ้าทุกคนในทุกส่วนของพื้นที่สีแดงร่วมมือและทำพร้อมเพรียงกันเป็นเวลา 10 วัน ก็จะช่วยกดการระบาดลงมาได้อย่างแรงและเร็ว โดยต้องเตรียมการช่วยเหลือผู้ที่จะได้รับผลกระทบล่วงหน้าให้พร้อม เช่น จัดจุดแจกอาหาร กระจายทั่วเมืองในช่วงสิบวันนั้น เป็นต้น 

ผลจากแบบจำลองจะเห็นว่า ในฉากทัศน์ที่ 1-3 (เส้นประ สีน้ำเงิน ส้ม เขียว ตามรูป) จำนวนผู้ป่วยในช่วงปลายเดือนก.ค. จะเพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 เท่าจากปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขจะเสี่ยงล่ม โรงพยาบาลจะเต็มล้น แต่คิดว่าเราคงไม่ไปถึงจุดนั้น เพราะในที่สุดรัฐบาลก็ต้องล็อกดาวน์แบบรุนแรงถ้าจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่จะเป็นการล็อคดาวที่ยืดเยื้อและยาวนาน กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงถ้าออกมาตรการล่าช้า  

ด้านการบริหารวัคซีนควรเน้นฉีดพื้นที่สีแดงที่มีการระบาดก่อน เพราะจะช่วยทำให้ควบคุมการระบาดได้เร็วกว่า ดังจะเห็นจากจำนวนผู้ติดเชื้อในฉากทัศน์ 2 ลดลงจากในฉากทัศน์ 1 ถึง 60% อีกทั้งการระบาดก็จะสงบเร็วกว่า 

ส่วนฉากทัศน์ที่ 4-5 (เส้นไข่ปลา สีฟ้า และ ม่วง ตามรูป) จะเห็นว่าถ้ารัฐบังคับใช้มาตรการปัจจุบันให้เข้มข้นมากขึ้นอย่างจริงจัง จะทำให้จํานวนผู้ติดเชื้อชะลอตัว แต่ยังไม่สามารถกดลงได้จนกว่าวัคซีนจะเริ่มส่งผลในช่วงส.ค. วิธีการที่จะกดลงให้เร็วและแรงที่สุดก็ต้องเป็นการร่วมใจกันหยุดกิจกรรมพร้อมเพียงกัน ในฉากทัศน์ 5 ซึ่งจะสามารถกดตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ลงมาในระดับ 600 คนต่อวันได้ ในสถานการณ์ที่คับขันเช่นนี้ ควรจะทำการร่วมรบ (organized attack) แบบฉากทัศน์ 5 ที่ทุกคนต้องเสียสละร่วมเจ็บกันในช่วง 10 วันนี้ ไม่ปล่อยให้ โรงแรมและร้านอาหารต้องเจ็บปวดแบบยืดเยื้ออยู่ฝ่ายเดียว ต้องกดตัวเลขให้ลงต่ำในระดับที่ควบคุมได้ให้เร็วที่สุด  ต้องให้อยู่ในระดับที่สามารถทำการล้อมวงเชื้อ (contact tracing) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันการ ซึ่งเมื่อควบคุมการระบาดได้ ผู้คนจะเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม 

หมายเหตุ: การศึกษานี้ตั้งอยู่ในสมมติฐานที่จะฉีดวัคซีนให้ประชาชนแค่เข็มเดียวก่อนเริ่มเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อกระจายวัคซีนที่ได้รับมาให้ทั่วถึงได้มากที่สุดก่อน และยังไม่ได้เอากรณีโรงพยาบาลเต็ม เข้ามาคำนวณในครั้งนี้ ซึ่งถ้าเอามาคิดด้วยจะพบว่าฉากทัศน์ที่ 1-3 จะได้ตัวเลขที่แย่กว่านี้เนื่องจากควบคุมการระบาดยากขึ้น ไม่สามารถสอบสวนเพื่อกักตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดในวงแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สามารถรักษาผู้ป่วยอาการหนักได้ทัน และแบบจำลองนี้จะไม่รวมตัวเลขจากเรือนจำ

…………………………………

บทความนี้เขียนโดย ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงิน Sasin School of Management (สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img