วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlightห่วง“ขยะพลาสติก”จากฟู้ดเดลิเวอรี่ล้น “วราวุธ”สั่งปลัดทส.วางแนวทางแก้ไข
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ห่วง“ขยะพลาสติก”จากฟู้ดเดลิเวอรี่ล้น “วราวุธ”สั่งปลัดทส.วางแนวทางแก้ไข

“วราวุธ” ห่วงวิกฤติโควิดทำ “ขยะพลาสติก” อันเกิดจากฟู้ดเดลิเวอรี่ล้น พ่วง “ขยะหน้ากากอนามัย” ที่้แล้วทิ้งกันเกลื่อน สั่ง “ปลัดทส.” หามาตรการ วางแนวทางแก้ไข ประสานภาคธุรกิจอย่างเร่งด่วน ด้าน “จตุพร” เป็นห่วงปัญหาขยะตกค้างในทะเล ตั้งทุ่นดักขยะ 5 แม่น้ำสายหลัก-สายรองแล้วกว่า 30 จุด

เมื่อวันที่ 14 ก.ค.64 นายวราวุธ ศิลปะอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากวิกฤติสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงไม่คลี่คลาย หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ “ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์” กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากการศึกษาคาดการณ์ปริมาณขยะพลาสติกจากธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ปี 2563 มีขยะเกิดขึ้นราว 1,120-3,080 ล้านชิ้น และคาดว่าในปี 2565 จะมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นถึง 1,747-4,804 ล้านชิ้น แม้บางองค์กรพยายามลดขยะโดยการให้ผู้ใช้บริการไม่รับช้อนและส้อมพลาสติกได้ แต่หากผู้ใช้บริการต้องการ ก็สามารถร้องขอได้ตามปกติ ผลที่ตามมาคือ ปริมาณขยะพลาสติกก็ลดลงไปได้ไม่มากจากการคาดการณ์ นอกจากนี้ ยังมีขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วถูกทิ้งกันอย่างเกลื่อนกลาด ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ซึ่งตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งหามาตรการและวางแนวทางแก้ไข รวมถึงรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน โดยได้มอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ กำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประสานภาคธุรกิจ ร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

ด้านนายจตุพร กล่าวว่า ปัญหาขยะตกค้างในทะเล ยังคงเป็นปัญหาสำคัญและต้องเร่งแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะจากเครื่องมือประมงและขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นขยะที่เกิดจากกิจกรรมบนฝั่งเป็นหลัก การเก็บขยะในทะเลไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ตนได้ย้ำกับนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต้องเร่งหาทางดักขยะที่ไหลมาทางแม่น้ำสายหลักไม่ให้ลงสู่ทะเล ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งทุ่นดักขยะในแม่น้ำ 5 สายหลัก และแม่น้ำสายรองกว่า 30 จุด อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องเพิ่มจุดดักขยะก็ต้องเร่งทำ อีกทั้งขยะที่หลุดลงทะเลไปแล้ว ต้องเร่งเก็บให้เร็ว ก่อนที่จะสร้างผลกระทบให้กับระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเล

นายจตุพร กล่าวว่า ในช่วงที่ตนดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ก็ได้จัดสร้างเรือเก็บขยะไว้ถึง 4 ลำ เพื่อช่วยเก็บขยะในทะเล และกำหนดมาตรการชายหาดปลอดบุหรี่ใน 24 ชายหาดของ 15 จังหวัดชายทะเล ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะและก้นบุหรี่ที่จะหลุดรอดลงเป็นขยะทะเลได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ตนได้กำชับไปกับกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ให้ต่อยอดโครงการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและจัดการขยะทะเลให้เป็นระบบมากขึ้น ยิ่งในช่วงที่ธุรกิจส่งอาหารออนไลน์มีแนวโน้มสูงขึ้นแบบนี้ ขยะในทะเลอาจจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ต้องวางแผนรับมือให้ได้ และกระตุ้นจิตสำนึกของทุกคนให้ใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก็ได้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ประจักษ์ แต่เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ก็คงต้องเพิ่มมาตรการและทำงานให้หนักขึ้น และต้องร่วมมือบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และนักท่องเที่ยว ให้หันมาใส่ใจในความสำคัญ และผลกระทบที่จะเกิดกับระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเลได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img