วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlight‘’หมอมนูญ’’ชี้ถึงเวลาต้องใช้ ATK กับผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อ ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง  
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘’หมอมนูญ’’ชี้ถึงเวลาต้องใช้ ATK กับผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อ ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง  

’นพ.มนูญ’’แนะควรใช้ชุดตรวจ ATK เฉพาะในรายที่มีอาการผิดปกติ สงสัยว่าติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงที่รับเชื้อไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง  เหตุไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 7 พ.ย.64 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ fc“ โดยระบุว่า แต่ก่อนเราเคยเชื่อว่าการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 โดยใช้ชุดตรวจแบบรวดเร็ว Antigen Test Kit หรือ ATK บ่อยๆ มีประโยชน์ในการตรวจคัดกรอง สามารถแยกผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการออกจากผู้ไม่ติดเชื้อ ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้

เราทราบดีว่าวิธีตรวจ ATK มีความความจำเพาะต่ำประมาณร้อยละ 70 เท่านั้น หากตรวจได้ผลบวก จำเป็นต้องยืนยันด้วยการตรวจรหัสพันธุกรรม RT-PCR

แต่ปัจจุบันหลังเริ่มใช้งานจริง เราพบว่าการตรวจ ATK อาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้คัดกรองหาผู้ติดเชื้อในคนที่ไม่มีอาการ เพราะสร้างปัญหาใหม่ตามมามากมาย เสียทั้งเงิน ต้องตรวจซ้ำด้วย RT-PCR เสียเวลา สร้างความเครียด ความหวาดกลัว ตื่นตระหนกตกใจโดยไม่จำเป็น อาจเพิ่มจำนวนคนติดเชื้อ เพราะเอาคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ ไปกักตัวอยู่ร่วมกับคนติดเชื้อโควิดในโรงพยาบาลสนามเป็นต้น

อย่างกรณีโรงเรียนที่ จ.มุกดาหาร ตรวจ ATK ได้ผลบวกปลอมในเด็กและครูประมาณ 100 คน ทำให้ทุกคนถูกกักตัว บางคนถูกแยกตัวไปอยู่ในโรงพยาบาลสนาม โรงเรียนทำความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ปิดการเรียนการสอนชั่วคราวรวม 10 วัน

ต่อมามีการส่งเก็บสิ่งส่งตรวจไปตรวจรหัสพันธุกรรม RT-PCR ซ้ำ ซึ่งผลออกมาเป็นลบ ไม่พบว่าคนไหนติดเชื้อ แสดงว่า ATK ให้ผลบวกปลอมเยอะมาก

ปกติแล้วผู้ที่ติดเชื้อต้องมีผลการตรวจเป็นบวก และผู้ที่ไม่ติดเชื้อต้องมีผลการตรวจเป็นลบ หากตรวจแล้วพบผลบวก ควรเป็นบวกจริง ทำให้ค่อนข้างมั่นใจว่าติดเชื้อสูง ไม่ใช่บวกปลอมเป็นจำนวนมากอย่างในโรงเรียน จ.มุกดาหาร

ถึงเวลาแล้วเราควรพิจารณาแนวทางใหม่ในประเทศไทย ควรใช้ชุดตรวจ ATK เฉพาะในรายที่มีอาการผิดปกติ สงสัยว่าติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงที่รับเชื้อ เช่นมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ไม่ใช่นำไปตรวจเชิงรุก คัดกรองคนที่ไม่มีอาการ และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงอย่างที่กำลังทำขณะนี้ ประโยชน์ที่ได้ ไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img