วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlight‘อนุทิน’แจง‘’โควิด ฟรี คันทรี’’ ตั้งเป้าเสียชีวิตต้องเป็นศูนย์ปี65
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘อนุทิน’แจง‘’โควิด ฟรี คันทรี’’ ตั้งเป้าเสียชีวิตต้องเป็นศูนย์ปี65

‘อนุทิน’ แจงหลักเกณฑ์’’โควิด ฟรี คันทรี’’คือประเทศที่ปลอดโควิดหรือควบคุมโรคได้  คนเสียเป็นศูนย์  พร้อมเดินหน้าทำให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นภายในปี 65

เมื่อวันที่ 28 ม.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เปิดเผยถึงการตรียมมาตรการเพื่อทำให้โควิด -19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย ว่า เป็นเรื่องที่เราต้องวางเป้าหมายเอาไว้และวางมาตรการในการดูแลผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อต่างๆ ย้ำว่าไม่ได้จะเร่งตัวเลข แต่ต้องการลดความรุนแรง และสามารถอยู่ร่วมกับมันได้ กลไกต่างๆ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ผู้คนได้ทำมาหากินการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น การผลิต ส่งออกกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากสุด

สำหรับเรื่องการเป็น COVID Free Country  หมายความว่าเป็นประเทศที่ปลอดโควิด หรือควบคุมโรควิดได้ ซึ่งทุกคนต้องการให้เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว การจะปลอดได้ก็ด้วยการฉีดวัคซีน มียารักษาโรคเพียงพอ ความร่วมมือของประชาชนป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด คำว่า COVID Free ไม่ได้หมายความว่าโควิดไม่มีแล้วในโลก แต่หมายความว่าโควิดทำอะไรเราไม่ได้ ซึ่งเราจะทำให้ไปในทิศทางนั้นให้จนได้ โดยเฉพาะทำให้ลดการเสียชีวิตให้น้อยลง อยากให้เป็นศูนย์ให้ได้ ซึ่งปีที่แล้วเราก็สามารถทำได้ การเสียชีวิตเป็นศูนย์นานถึง 6 เดือน จนเกิดการระบาดใหม่ จากการสังสรรค์ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ซึ่งปัจจุบันก็ยังพบการติดเชื้อจากการรับประทานอาหารร่วมกัน ดื่มเหล้าร่วมกัน ดังนั้นรู้เหตุแล้วก็ต้องพยายามเลี่ยง เพราะฉะนั้นย้ำว่าเป้าหมายคือลดตายให้เป็นศูนย์ หากกรณีมีการเสียชีวิตก็ต้องไปดูว่ามีปัจจัยอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เช่น กลุ่ม 608 ซึ่งเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ หรือไม่ เป็นต้น หากนับว่าเสียชีวิตเพราะโควิด ก็คงไม่จบ แต่หากเสียชีวิตจากการติดเชื้อ แล้วเชื้อลงปอด แบบนี้เป็นเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องมาว่ากันต่อ 

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ณ วันนี้โควิด ยังไม่ได้เป็นโรคประจำถิ่น แต่เราก็มีการวางหลักเกณฑ์ เพื่อทำแผนดำเนินการเพื่อทำให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นภายในปี 2565 โดยแบ่งออกเป็น 2 เฟส แบ่งเป็น 6 เดือนแรก และ 6 เดือนหลัง หากไม่มีเชื้อกลายพันธุ์เข้ามา ประมาณ 6 เดือนก็จะพยายามทำให้ได้ โดยการฉีดวัคซีน การควบคุมโรค การประกาศกฎหมาย การรักษาพยาบาลก็สอดคล้องกัน

ส่วนเรื่องการรักษา ก็เป็นไปตามสิทธิซึ่งประเทศไทยมีทั้งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ สำหรับคนที่ได้หลักประกันเช่นแรงงานต่างด้าว ก็ต้องดูแลกันต่อไป ทั้งนี้ที่ผ่านมาใช้งบประมาณในการดูแลไปแล้วกว่า 4 พันล้านบาท เมื่อของบประมาจากรัฐบาล ก็ให้มาไม่เคยต่อรอง ดังนั้นการเป็นโรคประจะจำถิ่นไม่ได้กระทบสิทธิการรักษา 

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต / กระทรวงสาธารณสุข

นพ.เกียรติภูมิ  กล่าวต่อว่า วันนี้ (28 ม.ค.) เป็นวันครบครอบการตั้ง EOC กระทรวงสาธารณุสุขตอบโต้สถานการณ์โควิด -19 2 ปีมาแล้วประชุมกันนานกว่า 411 วัน เพราฉะนั้นไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ กระทรวงสาธารณสุขจะประกาศอะไรออกมา แต่ผ่านการประชุมหารือร่วมกันแล้ว โดยดูเรื่องความรุนแรงของโรค การมีภูมิต้านทานของคนในประเทศ ความสามารถในการรักษา เวชภัณฑ์ การรับรู้ของประชาชน และอื่นๆ 2 ปีที่ผ่านมาเราจึงต้องพยายามทำให้ไม่เกินปีนี้โควิดจะต้องเป็นโรคประจำถิ่น เพราะถ้าปล่อยไปเฉยๆ ก็จะใช้เวลามาก อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว แต่ก็ใช้การบริหารจัดการ ซึ่งเราก็ทำมาตลอด แลเราก็ทำได้ ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจึงได้กำหนดเกณฑ์การเป็นโรคประจำถิ่นและกำหนดมาตรการวิธีต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกัน.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img