วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกNEWSกรมชลฯเตรียมชงครม.ดันโครงการขุดอุโมงค์ผันน้ำยวม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กรมชลฯเตรียมชงครม.ดันโครงการขุดอุโมงค์ผันน้ำยวม

กรมชลประทาน จ่อชง ครม.ดันโครงการขุดอุโมงค์ผันน้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน เติมน้ำเขื่อนภูมิพล จ.ตาก แก้แล้งท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ทุ่มงบ7หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 5 ม.ค.นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมขออนุมัติการตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ว่า ได้ร่วมพิจารณาขออนุมัติการตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ซึ่งกรมชลประทานมีโครงการที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปที่จำเป็นต้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 7 รายการ (ภายใต้โครงการ จำนวน 4 โครงการ)  ประกอบไปด้วย โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และโครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-หนองค้อ บางพระ จังหวัดชลบุรี

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวว่าโครงการศึกษาผันน้ำยวม มาเติมน้ำเขื่อนภูมิพล เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ได้ส่งรายงานผลการศึกษาโครงการให้กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)เพื่อพิจารณาผลกระทบอย่างรอบด้าน และหลังจากนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบอนุมัติโครงการ

ทั้งนี้ เอกสารของกรมชลประทาน ระบุว่าโครงการผันน้ำยวมไปให้เขื่อนภูมิพล ประกอบด้วยเขื่อนกั้นแม่น้ำยวมความสูง 69 เมตร ใน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 2,075 ไร่ สถานีสูบน้ำบ้านสบเงาและอาคารประกอบ อุโมงค์คอนกรีต ความยาว 61 กิโลเมตร เจาะผ่านผืนป่าต้นน้ำรอยต่อ 3 จังหวัด จุดกองดินที่ขุดขึ้นจากอุโมงค์ 6 จุด และพื้นที่ปากอุโมงค์บริเวณบ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งโครงการนี้แบ่งแนวส่งน้ำออกเป็น 2 ทาง เฉพาะโครงการผันน้ำจากแม่น้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน เจาะอุโมงค์ผ่านป่าใน จ.เชียงใหม่ เพื่อส่งน้ำลงเขื่อนภูมิพล โครงการมีมูลค่าก่อสร้าง 70,000 ล้านบาท

โครงการนี้จะเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรในฤดูแล้ง จำนวนกว่า 1.6 ล้านไร่ เพิ่มพลังงานการผลิตไฟฟ้าให้เขื่อนภูมิพล เฉลี่ย 417 ล้านหน่วยต่อปี นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการผลิตน้ำประปา การประมงในเขื่อนและการท่องเที่ยว ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบ ไม่เกิน 30 ราย

สำหรับบริเวณบ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ปลายทางของปากอุโมงค์ ก่อนน้ำลงสู่เขื่อนภูมิพล พื้นที่นี้ห่างจากสันเขื่อนภูมิพลราว 10 กิโลเมตร เป็นเขตรอยต่อระหว่าง จ.เชียงใหม่กับ จ.ตาก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img