วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlight"ฝ่ายค้าน"ยก 5 เหตุผลคำวินิจฉัยไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของรธน.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ฝ่ายค้าน”ยก 5 เหตุผลคำวินิจฉัยไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของรธน.

“ฝ่ายค้าน” ออกแถลงการณ์น้อมรับคำตัดสินศาลรธน. ยก 5 เหตุผลไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของรธน.จี้ยุติบทบาททางการเมือง ไม่ต้องอ้างผลคำวินิจฉัย หวังอยู่ในอำนาจต่อ

วันที่ 30 ก.ย.65 ที่รัฐสภา พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน อาทินายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายสุรเชษฐ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นายจารุพล เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อชาติ นายวิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และนายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย เพื่อติดตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินกรณีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญแถลงเสร็จพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ออกแถลงการณ์แถลงการณ์ โดยนพ.ชลน่าน อ่านแถลงการเรื่อง ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเ.อ.ประยุทธ์ ยังไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ จากกรณี พล.อ.
ประยุทธ์ ได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วครบ 8 ปี ในวันที่ 24 ส.ค.57

โดยให้เหตุผลสรุปว่า การดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย 60 ซึ่งเป็นวันที่รัฐธรรมนูญ60 มีผลใช้บังคับนั้น พรรคร่วมฝ่ายค้านน้อมรับคำวินิจฉัยของศาล และเห็นพ้องต้องกันว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมีความคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผล

ดังนี้1. การพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น นอกจากจะต้องหาความหมายจากถ้อยคำตามลายลักษณ์อักษรแล้ว ต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย โดยต้องพิจารณาในขณะเมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่าได้มีการพิจารณาถึงสาระสำคัญหรือเหตุผลเบื้องหลังของแต่ละมาตราไว้อย่างไร เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ


จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามความเห็นของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความคิดและความรู้สึกของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละช่วงเวลาได้ เมื่อในชั้นร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ ที่ห้ามการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี โดยมิได้บัญญัติข้อยกเว้นใดๆ ไว้ ได้มีความเห็นของกรรมการร่าง
รัฐธรรมนูญและประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปรากฎชัดในบันทึกการประชุม อันเป็นหลักฐาน ที่ชัดเจนถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่า ให้นับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงอยู่ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 60 ด้วย และมาตรา 264 ให้นับความเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่อง จึงไม่อาจแปลความเป็นอย่างอื่นได้เลยว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ นั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.57 เป็นต้นไปเท่านั้น

2.การวินิจฉัยให้เริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.60 อันเป็นวันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 60 มีผลใช้บังคับนั้น จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีสิทธิดำรงตำแหน่งนายกฯหลัง 2 วาระ ในครั้งนี้แล้วอีก 2 ปี จนถึงปี 68 นั้น น่าจะเป็นการตีความที่ขัดหรือรัฐธรรมนูญ (พราะจะส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ สามารถดำรงตำแหน่งได้รวม 10 ปี ซึ่งเกินกว่า 8 ปี และเกินกว่า 6 วาระ ปกติของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันผิดไปจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 60 และรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าที่ต้องการจำกัดวาระและ
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีให้เกิน 2 วาระ หรือเกินกว่า 8 ปี และยังขัดต่อการ
รับรู้ทั่วไปของประชาชนว่า พล.อ.ประยุทธ์ นั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค?57 ซึ่งการตีความในลักษณะนี้ จะมีผลแปลกประหลาดคือ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในวันที่ 6 เม.ย.60 ที่รัฐธรรมนูญ 60 ประกาศใช้ ระยะเวลา 8 ปี ก่อนวันที่ 6 เม.ย.60 กลับไม่นำมานับ แต่หลังจากวันที่ 6 เม.ย.60 กลับนำมานับ ทั้งๆ ที่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯฉบับเดียวกัน


ดังนั้นในชั้นเริ่มต้นของการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์เมื่อปี 57 แม้พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 158 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญปี 60
ตาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 59 ได้บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ให้ความเห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีจึงถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ ย่อมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 60 มาตรา 264

  1. เมื่อรัฐธรรมนูญปี 69 ถูกอ้างความชอบธรรมจากผู้มีอำนาจบ่อยครั้งว่ารัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงและผ่นการลงประชามติของประชาชน การตีความพล.อ.ประยุทธ์ จันทโอชา ได้อยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปีได้ นอกจากขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยด้วย อันถือเป็นการากฐานของะบอบประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการผูกขาดว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเสียเองย่มเป็นการทำลายคุณค่าความเป็นกฎหมาย เมื่อศาลรัฐธรมนูญอำนาจหน้าในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญแต่การวินิจฉัย
    รัฐธรรมนูญ ม้ผลคำวินิจฉัยจะทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประโยชน์แต่ก็จะเป็น ทัดฐานทางกฎหมายและอาจนำมาซึ่งปัญหาคามขัดแย้งที่ใหญ่หลวงในสังคมอำนาจการไม่ยอมรับในผลของคำวินิจฉัยได้
  2. พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมีการปฏิรูปกระบวนการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเสียใหม่ ให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่เหมาะสม เพื่อมิให้มีการอาศัยผลของคำวินิจฉัยที่ผูกพันทุกองค์กร ไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมและไม่คำนึงถึงบรรทัดฐานทางกฎหมายที่ถูกต้องได้
    พรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่าแม้ผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้พล.อ.ประยุทธ์ มีสิทธิดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ แต่พล.อ.ประยุทธ์ ก็ควรทบทวนบทบาทตัวเองว่าสิ่งที่ตนเองเคยสัญญาไว้กับประชาชนเมื่อตอน ทำรัฐประหารว่าจะอยู่ไม่นานและจะปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ นั้น ถามว่าเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้วถือว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการอยู่ในอำนาจหรือ และการอยู่ในอำนาจเพื่อสืบทอดอำนาจต่อไปจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างไร ในเมื่อสิ่งที่เคยพูดไว้ยังทำไมได้สักเรื่อง แต่กลับสร้างปัญหามากมายให้กับประเทศและประชาชน พล.อ.ประยุทธ์ ควรใช้โอกาสนี้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองของตนเสีย โดยไม่ต้องไปกล่าวอ้างผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่ออยู่ในอำนาจต่อไปก็จะถือเป็นคุณูปการของประเทศ
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img