วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightมติส.ว.157เสียงคว่ำญัตติทำประชามติยกร่างรธน.ใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มติส.ว.157เสียงคว่ำญัตติทำประชามติยกร่างรธน.ใหม่

มติส.ว. 157 เสียงคว่ำญัตติทำประชามติยกร่างรธน.ใหม่ เสียงแตก 2 ฝ่ายทั้งเห็นด้วย-คัดค้าน ส่อขัดรธน. แถมผลาญงบหลวงกว่า 15,000ล้าน

วันที่ 21 ก.พ.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน การให้ความเห็นชอบผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรที่ให้ส่งเรื่องต่อครม.เพื่อพิจารณาการทำประชามติการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ที่มาจากการเลือก ตั้งของประชาชน โดยนายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะประธานกรรมาธิการสามัญพิจารณาการศึกษาการจัดทำประชา มติ โดยการตั้งสภาผู้แทนราษฎร ได้รายงานผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมวุฒิสภา ระบุว่า กมธ.คัดค้านการทำประชามติดังกล่าวเพราะขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งคำถามการทำประชามติยังไม่มีความชัดเจน เพราะเป็นการถามเรื่องการตั้งส.ส.ร.มายกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้ปรากฏในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจในเนื้อหาและข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ขณะที่การจัดทำประชามติดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดทำประชามติถึง 3 ครั้ง ครั้งละ 5,000 ล้านบาท รวม 15,000 ล้านบาท แม้จะให้เลือกตั้งวันเดียวกับการเลือกตั้งส.ส. แต่ก็ต้องแยกหน่วยเลือกตั้งออกมาจากการเลือกตั้งส.ส.และมีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยโดยเฉพาะ

จากนั้นที่ประชุมเปิดโอกาสให้ส.ว.อภิปรายแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยส.ว.แสดงความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนรายงานของกมธ.ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และฝ่ายที่เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ครม. เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ โดยฝ่ายที่ไม่สนับสนุนการทำประชามติให้เหตุผลว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราแทนการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ เพราะการทำประชามติอาจเป็นต้นตอสร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชนตามมาได้ การเสนอทำประชามติครั้งนี้ นักการเมืองต้องการใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงให้แก่ตัวเอง อาทิ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว.อภิปรายว่า เป็นห่วงการทำประชามติจะทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนรอบใหม่ การอ้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นฉบับเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย เอาอะไรมาวัด มองว่าเหตุผลที่ต้องการล้มรัฐธรรมนูญปี 2560 เพราะเป็นฉบับปราบโกง ถ้าทุจริตแล้วถูกจับได้จะถูกสิทธิการเมืองตลอดชีวิต จึงต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ เพื่อนิรโทษกรรม ปลดโทษทุจริตให้โกงหนักกว่าเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการทำประชามติยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาทิ นายคำนูญ สิทธิสมาน นายเสรี สุวรรณภานนท์ มองว่า อำนาจการทำประชามติ ไม่ใช่ส.ว.เป็นผู้ชี้ขาด ควรส่งเรื่องให้ครม.เป็นผู้ตัดสินใจ หากส.ว.ขัดขวางการทำประชามติ จะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ส.ว.ถูกมองในแง่ลบมากขึ้น โดนฝ่ายการเมืองหยิบไปเป็นเครื่องมือหาเสียงโจมตีส.ว.สร้างคะแนนนิยมให้ตัวเอง โดยนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.อภิปรายว่า ถ้าส.ว.เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ครม.พิจารณาการทำประชามติ จะมีผลดี 3 ข้อคือ 1.ส.ว.จะมีส่วนร่วมในการแก้รัฐธรรมนูญ ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ 2.ได้ภาพพจน์ที่ดีว่า ส.ว.มีความเป็นประชาธิปไตย 3.การเห็นด้วยกับการทำประชามติไม่ให้เกิดความเสียหายกับส.ว. เพราะเป็นอำนาจครม.ชี้ขาดการจัดทำประชามติ

ทั้งนี้หลังจากอภิปรายยาวนานกว่า 3.30 ชั่วโมง ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติไม่เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ครม.เพื่อพิจารณาการทำประชามติยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยคะแนน 157 ต่อ 12 งดออกเสียง 13 ไม่ลงคะแนน 1

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img