วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlight‘ส.ว.เสรี’หอบหลักฐานยื่น‘กกต.’ฟัน‘พิธา’ ยกเคสโอนที่ดินปราณบุรีเทียบโอนหุ้นสื่อ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ส.ว.เสรี’หอบหลักฐานยื่น‘กกต.’ฟัน‘พิธา’ ยกเคสโอนที่ดินปราณบุรีเทียบโอนหุ้นสื่อ

“ส.ว.เสรี” จ่อหอบหลักฐานยื่นกกต.ตรวจสอบคุณสมบัติถือหุ้นสื่อ “พิธา” พรุ่งนี้ ยกเคสโอนที่ปราณบุรีให้ตัวเองปี 60 เทียบ

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.66 ที่รัฐสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวว่า ในวันที่ 28 มิ.ย. กมธ.ฯจะเข้าพบนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมคณะกกต.และเลขาธิการ กกต. ตามที่ได้นัดหมายไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อพูดคุยและรับฟังประเด็นของปัญหา อุปสรรคของการจัดการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา รวมถึงสอบถามถึงการดำเนินการของ กกต. ในการไต่สวนกรณีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล กรณีที่รู้ตัวว่า ขาดคุณสมบัติ แต่ยังยินยอมให้พรรคส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งส่อขัดกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง มาตรา 151 หรือไม่

นายเสรี กล่าวด้วยว่า ในการทำงานของ กมธ.ฯนั้น ได้ตรวจสอบกรณีที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของนายพิธาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวโยงกับการถือหุ้นไอทีวี ที่แม้ว่า ล่าสุดนายพิธาจะโอนหุ้นดังกล่าวให้ทายาทคนอื่นไปแล้ว แต่จากการตรวจสอบของกมธ.ฯ ที่ได้รับเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีครอบครองที่ดิน พบว่า นายพิธา ฐานะผู้จัดการมรดก ได้ดำเนินการโอนที่ดิน อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคิริขันธ์ ให้กับตนเองฐานะทายาทแล้ว ตั้งแต่ปี 2560 ดังนั้นแสดงว่า นายพิธาฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการแบ่งมรดกให้ทายาทแล้วตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งอาจจะรวมถึงเรื่องหุ้นไอทีวีด้วยเช่นกัน และคงไม่ถือครอง โดยไม่ดำเนินการใดๆ มาถึง 17 ปี

“กรณีที่นายพิธาโอนหุ้นไอทีวีให้ทายาทไปเร็วๆ นี้ ไม่สามารถปฏิเสธพฤติกรรมของตนเองได้ เพราะเมื่อนำกรณีการโอนที่ดินปราณบุรีให้ตนเองในปี 2560 แสดงว่าการจัดการมรดกอื่นๆ ต้องจัดการไปแล้วเช่นกัน อีกทั้งในประเด็นเรื่องหุ้นไอทีวีนั้น นายพิธาได้ใส่ชื่อของตนเองมาตั้งแต่ช่วงปี 2549- 2550 เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีประเด็นคำพิพากษาของศาลฏีกา ที่ตัดสินว่ามรดกตกทอดถึงทายาททันทีที่เจ้าของทรัพย์มรดกกนั้นตาย ทำให้กรรมสิทธิในทรัพย์ ซึ่งหมายถึงมรดกนั้นตกสู่ทายาททันที”นายเสรี กล่าวและว่า ในการพบกับ กกต.​นั้น ตนจะนำเอกสารที่ได้ รวมถึงผลการตรวจสอบ มอบให้กับ กกต. ไปพิจารณาด้วยเช่นกัน

เมื่อถามว่า นายพิธามั่นใจว่า เสียง ส.ว.จะสนับสนุนให้ได้เป็นนายกฯ ตามเกณฑ์ 376 เสียง นายเสรี กล่าวว่า “หากเสียงถึง 376 ก็ได้เป็น ไม่ได้ห้าม แต่ผมทราบว่ามี ส.ว.ที่เอาคุณพิธา มีไม่เกิน 5 คนเท่านั้น ส่วนคนที่เคยบอกว่าจะสนับสนุน เช่น นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ นายตวง อันทะไชย พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนนท์ ไม่เคยบอกชื่อว่าเป็นคุณพิธา บอกแค่ว่าหากสภาฯรวมเสียงข้างมากมาเสนอเท่านั้น”

เมื่อถามว่า การตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิธาที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า ขาดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งนายกฯ นายเสรี กล่าวว่า ส.ว.มีสิทธิที่จะตรวจสอบแคนดิเดตนายกฯได้ เพราะตามมาตรา 272 ที่กำหนดให้ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ ทั้งนี้บทบัญญัติได้โยงมาตรา 159 พ่วงกับต้องมึคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม มาตรา 160 ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่และอำนาจของ ส.ว. ตามมาตรา 82 เข้าชื่อ 1 ใน 10 ของสมาชิกวุฒิสภา 250 คนหรือ 25 เสียง เพื่อยื่นต่อประธานวุฒิสภา ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ต้องทำก่อนการโหวตนายกฯ โดยขณะนี้ ส.ว. อยู่ระหว่างหารือเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้ง อย่างไรก็ดีในประเด็นคุณสมบัติของนายพิธานั้น ยังมีอีกช่องทาง คือ กกต. สามารถดำเนินการได้ เพราะมีอำนาจ หากไม่ทำ จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img