วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightวิป3ฝ่ายซักคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ จับตาท่าที“พท.”เดินตามหรือคัดค้าน!?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

วิป3ฝ่ายซักคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ จับตาท่าที“พท.”เดินตามหรือคัดค้าน!?

จับตา !! “วันนอร์” วงหารือวิป 3 ฝ่ายโหวตนายกฯ 22 ส.ค.นี้ เปิดวาระหารือจ่อ พิจารณาซักปมคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม “แคนดิเดตนายกฯ” ให้เวลารวม 4 ชม. รอดูท่าที “พท.” เดินตามหรือคัดค้าน?

วันที่ 18 ส.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า เวลา 10.00 น. วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้นัดตัวแทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) และตัวแทนพรรคการเมืองหารือต่อแนวทางการประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 22 ส.ค. นี้ โดยมีวาระสำคัญ คือ การลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272

ทั้งนี้ในการประชุมตัวแทนวิปวุฒิสภา และพรรคการเมือง ดังกล่าว มีวาระพิจารณาที่สำคัญ คือ แนวทางการจัดสรรเวลาพิจารณาในการประชุมรัฐสภา ซึ่งมีวาระต้องพิจารณา 2 เรื่อง คือ ญัตติด่วนด้วยวาจา ตามข้อบังคับการประชุม ข้อ 32 (1) เรื่อง ขอให้รัฐสภามีมติทบทวนการพิจรณามติ เมื่อ 19 กรกฏาคม ว่าการเสนอชื่อบุคคลเดิมให้รัฐสภาเห็นชอบเป็นนายกฯ นั้นไม่สามมารถเสนอตนเดิมได้ ซึ่ง นายรังสิมันต์ โรม สส. พรรคก้าวไกลเสนอ

และ วาระพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ทั้งนี้ได้ยกประเด็นที่เป็นข้อสรุปจากการประชุมคณะกรรมการประสานงาน และเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่า หลังจากที่เสนอชื่อบุคคลต่อรัฐสภาแล้ว จะเปิดให้มีการอภิปรายประเด็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วิสัยทัศน์ของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ

พร้อมกำหนดเวลาอภิปรายดังนี้ สว. จำนวน 1 ชั่วโมง สส. จำนวน 3 ชั่วโมง โดยให้ตัวแทนพรรคการเมือง พรรคละ 1 คนเป็นผู้อภิปราย ทั้งนี้การอภิปรายดังกล่าวต้องยุติในเวลา 15.00 น. เพื่อให้การลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเดินหน้าได้ ทั้งนี้การออกเสียงดังกล่าวจะเป็นไปอย่างเปิดเผย และขานชื่อสมาชิกรัฐสภาทีละรายตามลำดับอักษร เบื้องต้นคาดว่าจะขานชื่อลงมติแล้วเสร็จเวลา 17.30 น.

อย่างไรก็ตามในการประชุมตัวแทนวิปวุฒิสภา และพรรคการเมืองนั้น จะมีประเด็นที่เป็นข้อสรุปอีกครั้งโดยยึดการฟังความเห็นของพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ที่เตรียมเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาลงมติเป็นนายกรัฐมนตรีว่าจะให้บุคคลที่ถูกเสนอชื่อใช้เวทีรัฐสภาเพื่อแสดงวิสัยทัศน์หรือชี้แจงต่อรัฐสภาในประเด็นที่ซักถามหรือไม่

เนื่องจากข้อบังคับการประชุมรัฐสภา และรัฐธรรมนูญ ไม่ได้กำหนดเป็นบทบังคับให้บุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ นั้นต้องแสดงวิสัยทัศน์ และแม้หากมีสมาชิกรัฐสภาเสนอเป็นญัตติและขอลงมติ ไม่ถือว่าเป็นบทบังคับให้ แคนดิเดตนายกฯ ที่เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นต้องจับตาที่พรรคเพื่อไทยว่าจะเห็นด้วยหรือดำเนินการอย่างไรหลังจากที่ก่อนหน้านี้ปฏิเสธให้นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ ที่เตรียมเสนอชื่อต่อรัฐสภา ร่วมประชุมและชี้แจงประเด็นที่ถูกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เปิดเผยถึงพฤติกรรมที่ส่อว่าหลบเลี่ยงภาษีซื้อที่ดินย่านสารสิน และการใช้นอมินีซื้อที่ดินย่านทองหล่อ.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img