วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกNEWS“ภูมิธรรม”จ่อร่อนหนังสือถาม“กกต.” ทำประชามติแก้รธน. พ่วงเลือกตั้งนายกอบจ.ได้หรือไม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ภูมิธรรม”จ่อร่อนหนังสือถาม“กกต.” ทำประชามติแก้รธน. พ่วงเลือกตั้งนายกอบจ.ได้หรือไม่

“ภูมิธรรม” จ่อร่อน นส.ถาม “กกต.” 3 ข้อ สัปดาห์หน้า ทำประชามติแก้ รธน. พ่วงเลือกตั้ง นายกอบจ.ได้หรือไม่ เล็งรับฟังความเห็นผ่านสภาฯ หากมีข้อโต้แย้ง พร้อมส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ คาดเสร็จก่อนปีใหม่

วันที่ 26 พ.ย.2566 ที่จ.เชียงราย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำรัฐธรรมนูญ ขณะนี้เหลือเพียงการรับฟังความเห็นจาก สส.และ สว. ซึ่งได้ทำแบบสอบถามไปแล้ว เพื่อรอนำไปหารือร่วมกันเมื่อเปิดประชุมสภาฯ และคิดว่าไม่เกินกลางเดือนธ.ค. น่าจะรับฟังมาได้หมด หลังจากนั้นจะนำไปสรุปร่วมกันว่าส่วนใหญ่ประชาชนคิดอย่างไร เห็นต่างอย่างไร โดยให้บันทึกไว้ทั้งหมดว่ามีมุมใดบ้าง จากนั้นส่ง ครม.พิจารณา

เมื่อถามถึงกรณีเรื่องการศึกษาทำประชามติ นายภูมิธรรม กล่าวยอมรับว่า ยังมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการทำประชามติ ว่าจะทำ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน เพราะหากส่งศาลรัฐธรรมนูญแล้วตีความว่าเราไม่สามารถทำได้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายจะตกไป ความคิดเห็นที่ทำมาก็จะตกไป ดังนั้นในสัปดาห์หน้าจะลงนามหนังสือ เพื่อสอบถามไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3 ข้อ ว่า 1.การตีความของ กกต. จะมีการทำประชามติกี่ครั้ง 2.เพื่อประหยัดงบประมาณ จะสามารถจัดทำประชามติ ไปพร้อมกับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น เช่น นายก อบจ.ทั่วประเทศ ที่จะมีขึ้นในปีหน้าได้หรือไม่ และ 3.โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น หากจะใช้โซเชียลมีเดียมาร่วมลงทะเบียนได้หรือไม่ หากทำได้จะสะดวกมากขึ้น อาจทำให้การใช้จ่ายในการเลือกตั้งลดน้อยลงไปมาก

นายภูมิธรรม กล่าวอีกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีปัญหาเรื่องการตีความ ว่าใครมีอำนาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จึงมีการเสนอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยื่นศาลรัฐธรรมนูญในการตีความเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจของคณะกรรมการฯ จึงเสนอให้พรรคการเมืองที่อยู่ในที่ประชุม ไปปรึกษาหารือ เพื่อให้มีการเสนอผ่านสภาฯ และ ให้สภาฯ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยให้ไปหาข้อสรุปกันในสภาฯ หากมีข้อขัดแย้งสภา ก็จะเป็นผู้เสนอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ

นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ยังกำชับให้อนุกรรมการการศึกษาฯ ได้ศึกษาควบคู่ขนานกันไปเลยว่า หากจำเป็นต้องมาแก้ มาตรา 256 เพื่อเปิดช่องให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.)ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ เพราะจากการรับฟังความเห็นถ้าเอา สสร. เลือกตั้งบางกลุ่มวิชาชีพไม่มีโอกาส จึงน่าจะมี สสร. ที่มาจากการสุ่มหาจากวิชาชีพต่างๆ ที่ไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไป จึงมอบให้อนุกรรมการศึกษาฯ ไปดูว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img