วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกNEWSนายกฯรับลูก‘แลนด์บริดจ์’ดันเชื่อมต่อมหาอำนาจ เป็นศูนย์กลางมั่นคงทางพลังงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯรับลูก‘แลนด์บริดจ์’ดันเชื่อมต่อมหาอำนาจ เป็นศูนย์กลางมั่นคงทางพลังงาน

“เพื่อไทย” ชงโครงการแลนด์บริดจ์ ระดับโลก-มาในเวลาที่ใช่ แนะสานต่อยกระดับความเจริญขนส่งเดินเรือ “เศรษฐา” รับลูกบิ๊กเมกะโปรเจค เชื่อมต่อประเทศมหาอำนาจ ดันเป็นศูนย์กลางมั่นคงทางพลังงาน จ่อรับฟังเสียงประชาชนพื้นที่

เมื่อวันที่ 4 ม.ค.67 เวลา 12.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท วาระแรก เป็นวันที่ 2 โดยน.ส.ศรญาดา ปาลิมมาพันธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายตอนหนึ่งถึงถึงโครงการแลนด์บริดจ์ว่า มีการประเมินว่าจะทำให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ของทุกปี ซึ่งในงบฯปี 67 นี้ ได้จัดทำเพื่อศึกษาความเหมาะสม การออกแบบเบื้องต้น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์รูปแบบการลงทุน และยังมีการตั้งงบฯพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ให้มีความสมบูรณ์ และเมื่อโครงการแลนด์บริดจ์เกิดขึ้นในอนาคต ตนหวังว่ารัฐบาลจะจัดงบฯในปี 2568 เพื่อรองรับการสร้างโอกาสให้โครงการแลนด์บริดจ์ เพราะหัวใจของโครงการนี้จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น แล้วยังทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ เกิดความเจริญรอบๆโครงการ ซึ่งรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ชูธงโครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการระดับโลก เพื่อให้เป็นเส้นทางเดินเรือของโลกโดยผ่านประเทศไทย

“โครงการนี้มาในเวลาที่ใช่ เพราะปัจจุบันช่องแคบมะละกาเริ่มแออัด โครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นเส้นทางสำรองเชื่อมทั้งทางทะเล และทางบก ช่วยสร้างห่วงโซ่การขนส่งภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก พาประเทศไทยไปสู่การลงทุนสร้างความเจริญให้ประเทศ” น.ส.ศรญาดา กล่าว

ต่อมาเวลา 12.20 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้เดินทางมาถึง พร้อมเข้าชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯถึงโครงการแลนด์บริดจ์ว่า โครงการดังกล่าวทำให้ไทยอยู่ในหมุดหมายการผลิตของต่างประเทศทั่วโลก โดยหลายประเทศต้องการเข้ามาตั้งโรงงานในไทย แต่โรงงานผลิตหลายสินค้าไม่สามารถตั้งได้เพราะต้องการสร้างให้ใหญ่กว่านั้นเนื่องจากต้องส่งสินค้าไปทั่วโลก แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาตอนนี้ คือ ช่องแคบมะละกาที่แออัดและเกิดอุบัติบ่อยครั้ง ทำให้การขนส่งสินค้าต้องเข้าคิว และใช้เวลาจำนวนมาก อย่างไรก็ดีในช่วง 10-15 ปี เชื่อว่าจะมีปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้น และมีมูลค่าสินค้าใช้เส้นทางเดินเรือเพิ่ม โดยช่องแคบดังกล่าวบริหารไม่เกิดประโยชน์สุงสด

“การทำแลนบริดจ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันขนส่งทั่วโลก 60% ผ่านช่องแคบมะละกา หากมีปัญหเรื่องขนถ่ายสินค้า รัฐบาลจึงตระหนักทำเรื่องแลนด์บริดจ์ และจุดยืนของเราคือเป็นกลาง ความขัดแย้งระหว่างจีน และสหรัฐอเมริกาที่มีความรุนแรง แต่เขาต้องค้าขาย เมื่อประเทศไทยเป็นกลางเสนอตัวทำแลนบริดจ์ เชื่อมโลกทั้งโลก และจีน สหรัฐอเมริกาสามารถใช้เป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าได้ดี” นายเศรษฐา กล่าว

นายกฯ ชี้แจงด้วยว่า การทำแลนด์บริดจ์ถือเป็นเรื่องจำเป็น แต่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือเพิกเฉยต่อเสียงประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลดำเนินการสำรวจความคิดเห็นรับฟังความเห็น พรรคร่วมฝ่ายค้าน ภาคประชาคม และประชาชนในพื้นที่ รวมถึงนักธุรกิจทุกคน ให้แน่ใจว่าโครงการดังกล่าวาเป็นเมกะโปรเจ็คที่สำคัญของโลก นอกจากนี้โครงการแลนด์บริดจ์ทำให้หลายประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีความมั่นคงด้านพลังงานอยากเข้ามาลงทุน สร้างโรงกลั่นน้ำมัน และโรงงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าจะทำให้ไทยมีความมั่นคงทางพลังงาน และมีความพร้อมยืนในโลกที่ขัดแย้ง พึ่งตนเองได้ ให้ชีวิตประชาชนยกระดับ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img