วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกNEWS“รมว.ยธ.”โยน“อธิบดีกรมคุก”รายงานความเห็น “ทักษิณ”นอนรพ.ตำรวจเกิน 120 วัน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รมว.ยธ.”โยน“อธิบดีกรมคุก”รายงานความเห็น “ทักษิณ”นอนรพ.ตำรวจเกิน 120 วัน

ทวี”โยน “อธิบดีกรมราชทัณฑ์”รายงานความเห็น ปมอนุญาต “ทักษิณ”นอนรพ.ตำรวจเกิน 120 วัน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 ม.ค.67 ที่กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือตำรวจ 191 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวง ลาดยาว เขต จตุจักร กทม. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีการรักษาตัวภายนอกเรือนที่รพ.ตำรวจของนสายทักษิณชินวัตร อดีตนายกฯ และเป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อวันที่ 22 ธ.ค 66 ที่ผ่านมา ครบระยะเวลานอนพักรักษาตัวเกินกว่า 120 วัน หลังเข้ารับการรักษาตั้งแต่ 22 ส.ค.ว่า วานนี้ (5 ม.ค.) ภายหลังเสร็จสิ้นจากการประชุมอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2567 ตนได้สอบถามไปยังนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทราบว่าทางแพทย์ผู้ทำการรักษานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีผลรายงานทางแพทย์มาเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ซึ่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยืนยันว่าแพทย์ได้รายงานความเห็นมาแล้ว พร้อมกับแพทย์ของราชทัณฑ์ก็ได้รายงานความเห็นเช่นเดียวกัน

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสาร คาดว่าในวันทำการปกติ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ จะมีการรายงานความเห็นเสนอมายังตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้รับทราบ อย่างไรก็ตาม ผลรายงานความเห็นของแพทย์ ในทางกฎหมายไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่อาจจะเป็นการสื่อสารกว้างๆแทน ส่วนกรณีที่กรรมาธิการตำรวจ นำโดยนายชัยชนะ เดชเดโช ประธานกรรมาธิการ การตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร เตรียมเดินทางเข้าเยี่ยมนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ รพ.ตำรวจ ชั้น 14 ในวันที่ 12 ม.ค.นี้นั้น ยังไม่มีหนังสือเข้ามาแจ้งยังตนแต่อย่างใด

พ.ต.อ.ทวี ยังกล่าวถึงระเบียบ แนวทางการปฏิบัติ และกำหนดคุณสมบัติของผู้ต้องขัง ที่จะต้องมารองรับระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่า ด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 ว่า ระเบียบดังกล่าวเป็นอำนาจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และตนทราบว่าทางคณะกรรมการราชทัณฑ์จะมีการนัดประชุมในเรื่องนี้ ซึ่งตนในฐานะประธาน เห็นว่าควรจะมีการประชุมในทุกเดือน เพราะว่าเราต้องการพัฒนาพฤตินิสัย นำเอาคนที่อยู่ในเรือนจำซึ่งเป็นผู้ก้าวพลาดให้ได้รับการพัฒนา เพราะปัจจุบันมีการนำผู้ต้องขังเข้า-ออก เรือนจำเฉลี่ยแล้ว 10,000 รายต่อปี

ดังนั้น เราต้องการให้คนที่ออกจากราชทัณฑ์ ได้รับการพัฒนาพฤตินิสัย หรือในทางกฎหมาย ก็คือ การได้รับการศึกษา ได้รับการอบรมคุณธรรม การงานอาชีพ เพื่อได้ค้นหาศักยภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งในเรื่องนี้ได้ถูกบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 จึงต้องมีกฎระเบียบคุมขังภายนอกเรือนจำเกิดขึ้น อีกทั้งข้อเท็จจริงระเบียบนี้จะต้องออกภายใน 90 วันตั้งแต่มีกฎหมายหลัก แต่ก็ไม่มีการออกระเบียบ ซึ่งพอเราได้เข้ามาเป็นรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะยกมาตรฐานหลักนิติธรรม การสอบสวนจะต้องมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การจับผิดข้าราชการเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะประเทศไทยเราสอบตกในเรื่องของการคุมขังผู้ต้องขัง เราได้คะเเนนเพียง 0.25 % เท่านั้น ซึ่งถ้าเราไม่พัฒนาเรือนจำ หรือผู้ต้องขัง หลักนิติธรรมก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากในบางประเทศได้มีการนำผู้กระทำความผิดไปแยกไว้ในชุมชนได้

พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า ตนจึงได้สั่งการไปยังคณะกรรมการราชทัณฑ์ว่าควรจะมีการประชุมในทุกเดือน หรือเดือนละครั้งก็ยังดี เพราะยังมีหลายเรื่องที่จะต้องให้การแก้ไข อย่างเช่น กรณีผู้ต้องขังที่ตั้งครรภ์ ภายหลังการคลอดอาจจะไม่มีสถานที่เลี้ยงเด็กที่มีประสิทธิภาพ หรือในกรณีผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยเป็นมะเร็งอีกจำนวนมาก รวมถึงกรณีผู้ต้องขังที่อยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ตนมองว่าในขณะที่พวกเขาเหล่านี้อยู่ภายในเรือนจำ ก็ควรได้รับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมยืนยันว่าระเบียบคุมขังภายนอกเรือนจำไม่ได้มีเจตนาจะออกเพื่อใครเพียงคนเดียว

ทั้งนี้ พ.ต.อ.ทวี กล่าวปิดท้ายว่า ส่วนการพิจารณาอนุญาตให้อดีตนายกรัฐมนตรี นอนพักรักษาตัวภายนอกเรือนจำเกินกว่า 120 วันหรือไม่นั้น ในวันทำการราชการปกติ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ จะเป็นผู้เสนอมายังตนให้รับทราบ แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะเป็นวันที่เท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจการพิจารณาอนุญาตผู้ต้องขังให้มีการรักษาตัวภายนอกเรือนจำ เป็นของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ แต่อย่างไรก็ต้องมีการรายงานมายังตนให้รับทราบตามขั้นตอน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img