วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกNEWS"เพื่อไทย" เปิดตัวทีม "โฆษกชุดใหม่" ลุยาสื่อสารเชิงรุก-เชิงลึก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เพื่อไทย” เปิดตัวทีม “โฆษกชุดใหม่” ลุยาสื่อสารเชิงรุก-เชิงลึก

“เพื่อไทย” เปิดตัวทีม “โฆษกชุดใหม่” “บรู๊ค ดรุพร” นำทัพเดินหน้าสื่อสารเชิงรุก -เชิงลึก พร้อมโต้เฟกนิวส์

วันที่ 23 ม.ค.2567 นายดนุพร ปุณณกันต์ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดตัวทีมโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้แก่ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ กรรมการบริหารพรรค และโฆษกพรรคเพื่อไทย น.ส.ชญาภา สินธุไพร สส.ร้อยเอ็ด และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย

นายดนุพร กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับครูไทยทั่วประเทศ หลังจากวันนี้ ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบ ยกเว้นมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2542 เว้นในส่วนที่เกี่ยวกับการอยู่เวรรักษาการณ์ของหน่วยงานราชการ ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง มองว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไป โดยยังคงให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น การรักษาความปลอดภัยให้โรงเรียน รักษาความปลอดภัยของครู ต้องควบคู่กัน มติ ครม.ในครั้งนี้ ทำให้เรา ‘คืนครูสู่ห้องเรียน’ ลดภาระงานที่ไม่ใช่หน้าที่สอนลงไปได้อีกอย่างหนึ่ง

โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ปรับรูปแบบการทำงานให้ใกล้ชิดและมีความใส่ใจในการรับฟังปัญหาที่ประชาชนทั้งประเทศที่สะท้อนมายัง สส.ของพรรคเป็นอย่างมาก โดยนางสาวแพทองธารได้เข้าร่วมการประชุมภูมิภาค ทุกห้องย่อยประชุม ก่อนที่จะเข้าร่วมการประชุมใหญ่ โดยในวันนี้ สส.พรรคได้สะท้อนปัญหายาเสพติด ราคาพืชผลทางการเกษตร การแก้ไขปัญหาหนี้สิน ทั้งจุดอ่อน จุดด้อย เพื่อที่จะได้ปรับปรุงการทำร่วมกันและประสานการทำงานกับรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน เป็นการทำงานที่สอดรับกันในทุกมิติ ทั้งส่วนของพรรค ส่วนงานสภา และฝ่ายบริหารอย่างเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียวกัน

นายดนุพร กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับทีมโฆษกพรรคเพื่อไทย ที่ผ่านมาเมื่อเป็นฝ่ายค้านเราทำงานเต็มที่ เมื่อเป็นรัฐบาล ต้องแยกกันทำงานหลายกลุ่ม ทั้งในส่วนของทีมสื่อสารของพรรค และรัฐบาล โดยขณะนี้ ทีมโฆษกพรรค ได้ประสานข้อมูลกับทั้งโฆษกรัฐบาล โฆษกกระทรวงต่างๆ เพื่อทำงานในเชิงลึกในการพูดคุย หารือ และเตรียมงาน ทั้งในส่วนของงานนายกรัฐมนตรี และกฎหมายที่มีความสำคัญ ที่เตรัยมบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภา เช่น สมรสเท่าเทียม Sex worker ทั้งนี้คำติชมจากทุกฝ่าย เรายินดีรับฟังทุกข้อคิดเห็น และเราจะมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาการสื่อสารให้รวดเร็วมากขึ้น โดยต้องมาพร้อมกับความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลที่ต้องตรวจสอบก่อนชี้แจงข้อเท็จจริงถือว่ามีความสำคัญที่สุด

ด้านนายชนินทร์ กล่าวว่า กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ว่า จุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ สส.พรรคเพื่อไทย ทุกคน ลงชื่อร่วมกันเสนอต่อสภา มีความขัดแย้งหรือไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อเสนอของรัฐบาลหรือไม่นั้น ขอย้ำว่า การดำเนินการของพรรคเพื่อไทยเป็นไปเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ไม่มีปัญหาใดๆ ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

สำหรับแนวทางของพรรคเพื่อไทย ได้เคยเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ในขณะนั้นมีการพิจารณาร่างนี้ในสภาในวาระ 1 และวาระ 2 จนมีการร้องศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการลงมติในวาระ 3 โดยหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว พรรคเพื่อไทยยังยืนว่าสามารถพิจารณาร่างนี้ต่อได้จนจบกระบวนการ และเราได้มีมติรับร่างในวันนั้น แต่เนื่องด้วยมีผู้ที่มีความเห็นต่าง ทำให้การลงมติในวาระ 3 ในวันนั้น ไม่สามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นเราได้ยื่นร่างนี้เข้าไปอีกครั้ง ในสมัยประชุมถัดไป แต่ไม่ได้รับการบรรจุวาระในสภา

“พรรคเพื่อไทยยังยืนยันตามหลักการและจุดยืนเดิมที่มีมาตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว เราเชื่อว่าการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 สามารถดำเนินการได้ โดยที่ไม่ต้องทำประชามติก่อน เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่าการจะดำเนินการต้องถามพี่น้องประชาชนก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งการแก้ไขมาตรา 256 ไม่ถือเป็นการจัดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการจัดเตรียมวิธีการร่างรัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นญัตติเพื่อพิจารณาร่างนี้เข้าสู่สภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา”

นายชนินทร์ กล่าวอีกว่า การทำประชามติ ควรทำ 2 หรือ 3 ครั้ง ตนในฐานะอดีตคณะกรรมการฯ มองว่า แนวทางที่นายชูศักดิ์ และพรรคเพื่อไทย ดำเนินการ มีการพูดคุยกันในคณะกรรมการฯมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เนื่องด้วยคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งโดยรัฐบาล รับผิดชอบอำนาจบริหาร ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ เราไม่มีอำนาจหน้าที่ส่งคำถามไปถามศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า เราสามารถบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาได้เลยหรือไม่ ซึ่งข้อสรุปในคณะกรรมการฯ ระบุว่า เพื่อให้เกิดความรัดกุมรอบคอบ ไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งของสังคมในอนาคต จึงเห็นควรทำให้ประชามติ 3 ครั้ง คือ มีการทำประชามติตั้งแต่ครั้งแรกก่อนเริ่มกระบวนการทั้งหมด

อย่างไรก็ดีข้อสรุปของคณะกรรมการฯมีข้อเสนอห้อยทิ้งไว้ว่า หากพรรคการเมืองใด หรือฝั่งนิติบัญญัติ มีความเห็นว่าจะดำเนินการเพื่อให้เกิดการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เกิดความชัดเจนว่าจำเป็นต้องทำประชามติครั้งแรกหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการฯเห็นด้วย และยินดีที่พรรคการเมืองจะดำเนินการ ซึ่งข้อเสนอนี้ส่งต่อมาพรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อไทยรับเอาข้อเสนอเพื่อดำเนินการ จึงได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนขอให้คำมั่นพี่น้องประชาชนว่า ไม่ว่าผลของการยื่นครั้งนี้จะนำไปสู่การยื่นวินิจฉัยต่อศาลรัฐธรรมนูญ และจะมีการตัดสินว่า จำเป็นต้องทำประชามติครั้งแรกหรือไม่ พรรคเพื่อไทย หรือรัฐบาล น่าจะเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกัน และจะทำให้กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีความชัดเจน ปลอดภัยมากขึ้น และบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

ส่วนการที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้มีการทำประชามติ 2 ครั้ง มีเจตนาเพื่อร่นระยะเวลาในกระบวนการทั้งหมดลง เพราะการทำประชามติ 1 ครั้งใช้เวลา 4-5 เดือน การร่นเวลาลงจะช่วยให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เร็วขึ้น และลดงบประมาณลง 3,000-4,000 ล้านบาท หากลดงบประมาณนี้ได้ จะสามารถนำไปใช้ เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนหรือสนองนโยบายอื่นๆของรัฐบาล เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาของประเทศได้ดียิ่งขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img