วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlight“อัษฎางค์”ชี้เลือกตั้งซ่อมสนามเล็ก สะเทือนสนามใหญ่ที่กำลังจะมาถึง!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อัษฎางค์”ชี้เลือกตั้งซ่อมสนามเล็ก สะเทือนสนามใหญ่ที่กำลังจะมาถึง!

นักวิชาการอิสระ ”อัษฏางค์ ยมนาค” ฟันธงสนามเล็กสะท้อน สะเทือนสนามใหญ่ ที่กำลังจะมาถึง ชี้พรรค 3 ลุงจะไม่ได้ส.ส.เขตกลับคืนมาในการเลือกตั้งซ่อม

เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ราคม 2565 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุใจเนื้อหาว่า “กล้า Vs ไทยภักดี” สนามเล็ก สะท้อน สะเทือน สนามใหญ่

การเลือกตั้งซ่อม ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเลือกตั้งสนามเล็กๆ แต่มันจะสะท้อนภาพการเลือกตั้งสนามใหญ่ที่กำลังจะมาถึงอย่างแน่นอน “พรรคสามลุง สี่กุมาร กล้า ก้าวไม่ไปไหนไกล เพื่อใคร”จะอยู่ตรงไหนในใจประชาชน

ผมเป็นเพียงราษฎรธรรมดาคนหนึ่งที่ติดตามข่าวการเมือง อยากจะลองพยากรณ์การเลือกตั้งครั้งนี้ว่า พรรคสามลุงซึ่งมี สส.เขต เป็นเจ้าของพื้นที่ที่พึ่งหลุดจากตำแหน่งจะไม่ได้ สส.กลับคืนมาในการเลือกตั้งครั้งนี้

ถึงแม้ประชาชนผู้จงรักภักดีจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ตลอดมา และผลงานความวุ่นวายของพรรคสามลุงที่ผ่านมาก็ไม่เคยทำให้สาวกเบื่อหน่ายลุงแต่เขาเบื่อหน่ายพรรค ซึ่งความเบื่อหน่ายนี้จะออกผลในการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้อย่างแน่นอน

พรรคสามลุง ตกรอบแรก โดยไม่ต้องวิเคราะห์อะไรอีกต่อไป

พรรคก้าวไม่ไปไหนไกล ซึ่งเต็งหนึ่งมาตลอดในโลกเสมือนจริงก็ตกม้าตายในโลกแห่งความจริงเสมอมา

ส่วนพรรคเพื่อใคร ก็มีสาวกผู้สนับสนุนเพื่อคนนั้นต่อไป ไม่ต้องไปวิเคราะห์

ผมอยากจะลองพยากรณ์การเลือกตั้งครั้งนี้ว่า จะเป็นการแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างพรรคใหม่ 2 พรรคที่จงรักภักดีและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

“แก้ข่าวพรรคกล้าเชียร์ทักษิณ”

ผมเขียนข่าวพรรคกล้าไว้เมื่อวาน เรื่องกรรมการยุทธศาสตร์ภาคใต้ของพรรคกล้า วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และออกปากชมทักษิณ ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนั้นจะทำให้พรรคกล้าตกรอบได้ทันทีเหมือนกัน

แต่พอตกบ่ายเลขาฯ คุณกรณ์ไลน์มาหา เพื่ออธิบายว่า ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นตามข่าวที่โดนบิดเบือนอย่างนั้น เลขาฯ คุณกรณ์ บอกกับผมว่า นั่งอยู่ข้างๆ คุณกรณ์ และคุณกรณ์ฝากชี้แจ้งด้วยว่า ตอนนี้โดนสื่อส้มโจมตีเยอะมาก มีการพาดหัวที่บิดเบือนมาก

จริงๆ ในบทสัมภาษณ์ที่แท้จริงคือ “บอกว่าประเทศต้องเดินหน้าด้วยเศรษฐกิจ ใครจะเป็นอะไรประเทศก็ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน และประชาชนต้องสู้เรื่องปากท้อง”

และพูดประมาณว่า “ไม่ต้องมาเรียกประชาชนเป็นสลิ่มหรือไม่เป็นสลิ่ม เพราะประชาชนทุกคนต้องอยู่ในประเทศที่แก้ไขด้วยเศรษฐกิจ”

“ประชาชนคือคนไทย ที่เดือดร้อนจากโควิด เศรษฐกิจน่าเป็นห่วง ประเทศต้องเดินหน้า สื่อจะมาชวนแบ่งฝ่ายทำไม” แต่ถูกนำไปตีความว่า “วอนเลิกแปะป้ายสลิ่ม”ความจริงคือ “ไม่มีการวิงวอนให้เลิกแปะป้าย ไม่ได้ชมทักษิณ เกลียดทักษิณมากด้วยซ้ำ และต้องอย่าลืมว่าคุณกรณ์ ทำคดีซุกหุ้นจับมันเข้าคุกเอง”พร้อมกันนี้เลขาฯ คุณกรณ์ยังแนบบทสัมภาษณ์เจ้าปัญหาที่ถูกบิดเบือนมาด้วย โดยเนื้อหาสำคัญที่ผมอยากนำมาฝากคือ

จุดยืนของคุณกรณ์และพรรคกล้า” คุณกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ให้สัมภาษณ์กับ The Reporter โดยแสดงจุดยืนว่าพรรคกล้า “จะก้าวข้ามความขัดแย้งเดิม มุ่งปากท้อง”

“การเมืองคือเรื่องเศรษฐกิจ ถ้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้โดยไม่ยุ่งการเมือง เราก็คงไม่ตั้งพรรค”คุณกรณ์ ยังกล่าวเสริมว่า

“ผมต้องการสร้างการเมือง พร้อมรับฟังซึ่งกันและกัน ยอมรับความเห็นต่าง ผมเห็นคนรุ่นใหม่บางกลุ่มที่ไม่อดทนต่อความเห็นต่าง ผมเลยรู้สึกว่าแนวทางนั้นไม่ใช่แนวทางที่จะเห็นสังคมดีขึ้นได้ตามความต้องการของเขา แต่มันต้องอดทนต่อความเห็นต่าง เพราะทุกคนมีเหตุผลของตนเอง”

“ที่ผ่านมาการเมืองเน้นความขัดแย้งมากเกินไป ทุกครั้งที่มีความขัดแย้งย่อมมีผู้ได้ผลประโยชน์เสมอ ซึ่งไม่ใช่ประชาชน ไม่ใช่ประเทศชาติ ปัญหาก็ถกกันอยู่ในประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นหลักของประเทศ แต่เราคำนึงถึงว่าทำยังไงให้คนไทยทุกคนอยู่ดีกินดีได้ คำนึงถึงการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสการทำมาหากิน”

เพราะฉะนั้นเป็นที่ชัดเจนว่า คุณกรณ์และพรรคกล้า ประกาศตัวว่าอยู่ฝั่งตรงข้ามกับทักษิณ-ธนาธร และเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ซึ่งนอกจากมีจุดยืนในเรื่องความจงรักภักดีแล้วพรรคกล้ายังเน้นเรื่องเศรษฐกิจของชาติและปากท้องของประชาชน ซึ่งเป็นจุดแข็งของคุณกรณ์อีกด้วย

“วิธีตัดสินใจ”

สำหรับผม เวลาต้องตัดสินใจเลือกใครหรือเลือกอะไร ผมมักจะเริ่มต้นด้วยการนำคนหรือสิ่งของทั้งหมดมากองรวมกัน แล้วเริ่มคัดออก แล้วอย่างที่ผมได้นำเสนอไปแล้วเมื่อวันก่อนว่า สนามเลือกตั้งซ่อม “หลักสี่-จตุจักร” ที่ดูเหมือนการเลือกตั้งเล็ก แต่ความจริงจะเป็นเครื่องบ่งชี้อนาคตของการเลือกตั้งใหญ่หรือเป็นสนามจำลองการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะตามมา ว่าจริงๆ แล้ว

• ประชาชนมีวิธีคิดและเลือกอย่างไร

• จุดยืนหรือนโยบายของพรรคใดเข้าตากรรมการมากที่สุด

• ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนส่วนใหญ่คืออะไร

ถึงผมจะไม่ได้เป็นคนในเขตหลักสี่-จตุจักร แต่ผมก็จะจำลองสถานการณ์ว่าถ้าผมมีสิทธิเลือดตั้งในครั้งนี้ ผมจะเลือกใคร เป็นการจำลองสถานการณ์เพื่อเตรียมตัวตัดสินใจเลือกใครหรือพรรคใดในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะตามมา

ในขณะเดียวกัน ถ้าผมเป็นนักการเมืองหรือพรรคการเมือง ผมก็จะใช้โอกาสคนนี้ เพื่อ…

• วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์

• วางแผนหรือปรับกลยุทธ์

จากสิ่งที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้เพื่อการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะตามมา

ซึ่งถ้าเอาผลการเลือกตั้งครั้งนี้มาพูดในแนวทางการตลาดในระบบธุรกิจ ก็จะเป็นเรื่องเดียวกันกับ…

• การสำรวจตลาด

• การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า

• การหาความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย

เพื่อนำมาวางแผนหรือปรับกลยุทธ์ของธุรกิจ

“Warm Welcome as Always คือนิสัยคนไทย”

อย่าลืมว่า บ่อยครั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เดินหาเสียงแล้วได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากคนในพื้นที่ แต่สุดท้ายผลการเลือกตั้งออกมาแพ้แบบหมดรูป ก็มีอยู่ให้เห็นอยู่เสมอ เพราะคนไทยมีพฤติกรรมหรือลักษณะนิสัยที่ “ยินดีต้อนรับทุกคนที่มาเยือนตามมารยาทอันดีงาม แต่ความจริงจะชื่นชอบหรือไม่เป็นอีกเรื่อง”

คนไทยพร้อมจะยิ้มรับคนที่ตัวเองไม่ชอบ ต่อให้เกลียดเพชรปลอมหรือไม่ชอบอรรถวิทย์ แต่ถ้าเขาเดินมายกมือไหว้ถึงบ้าน คนไทยก็ยินดีต้อนรับพร้อมรอยยิ้ม แต่พอลับหลังแล้วค่อยชมหรือด่า เลือกหรือไม่เลือก

“คัดเข้าคัดออก”

เวลาผมต้องตัดสินใจเลือกใครหรือเลือกอะไร ผมมักจะเริ่มต้นด้วยการนำคนหรือสิ่งของทั้งหมดมากองรวมกัน แล้วเริ่มคัดออก

และคนแรกที่ตกรอบทันทีตั้งแต่ก่อนจะถูกคัดออกคือ เพชรปลอมยี่ห้อหมดอนาคตเพราะก้าวไม่ไปไหนไกล เอาแต่วนเวียนอยู่กับการล้มล้างการปกครองด้วยคำว่าปฏิรูป

มันปลอมตั้งแต่คำว่าปฏิรูป ทั้งที่ใจต้องการปฏิวัติแล้ว ปลอมตั้งแต่ประกาศต่อต้านการปฏิวัติ แต่ต้องการปฏิรูป ทั้งที่การปฏิรูปที่ว่านั้นคือการล้มล้างการปกครองที่มีความหมายเดียวกันกับการปฏิวัติ สับสน วกวน งงงวย กับความปลอมของคนกลุ่มนี้ดีมั้ยละ

เพราะฉะนั้น”เพชรปลอมยี่ห้อหมดอนาคตเพราะก้าวไม่ไปไหนไกล” ตกรอบตั้งแต่ยังไม่คัดตัว

“โรบินฮู้ด ที่ไม่ใช่อัศวินคลื่นลูกที่สาม

แต่โจรที่ปล้นคนรวยมาช่วยคนจน” คนต่อมาจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งคนไทยไม่ว่าฝ่ายไหนก็รู้ดีว่า ไม่ใช่”เพื่อไทย”แต่”เพื่อใคร”ที่เราทุกคนทุกฝ่ายรู้ดี

แต่ถึงเราจะรู้ดีว่าพรรคนี้เพื่อใคร แต่เรายังไม่รู้สึกว่าตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจากพรรคนี้น่ารังเกียจ น่าขยะแขยงเท่าเพชรปลอมจอมโวที่พ้นพิษออกจากปากมานานแล้ว

”ผู้สมัครจากพรรคเพื่อใคร” ก็ยอมได้รับการสนับสนุนจากผู้นิยมโรบินฮู้ดต่อไป แต่ย่อมไม่ใช่เราแน่นอน เพราะฉะนั้น สมุนของโรบินฮู้ดก็ตกรอบไป

ท่านอาจจะสงสัยว่าถูกโรบินฮู้ดที่ผมพูดถึงคือใคร

คนไทยทั้งที่เป็นคนชั้นกลางและรากหญ้า มักมีทัศนคติที่นิยม คนมีเงิน แต่ต้องเป็นคนมีเงินที่วางตัวติดดิน เป็นคุณรวยประเภทที่สามารถนุ่งขาสั้นรองเท้าแตะ นั่งกินข้าวข้างทางได้ แบบนี้คนไทยจะชอบมาก เพราะถือว่าเขาเป็นพวกตัวเอง

นอกจากนี้คนไทยยังนิยมคนในลักษณะ Bad Boy (แบดบอย) คนไทยนิยมคนเป็นนักเลงเป็นโจร แต่ต้องเป็นโจรที่ปล้นคนรวยมาช่วยคนจน

ซึ่งโจรที่ปล้นคนรวยมาช่วยคนจน ก็คือ โรบินฮุ้ด

และ”โรบินฮุ้ดเมืองไทย” ก็คือ “โทนี่ทักษิณ”

คนไทยทั้งที่เป็นคนชั้นกลางและรากหญ้า เห็นโทนี่ทักษิณ เป็นโรบินฮุ้ด ที่ปล้นคนรวยมาช่วยคนจน

และโรบินฮุ้ด เวอร์ชั่นล่าสุดก็คือ ตี๋เอกธนาธร ที่จะปล้นคนรวยมาช่วยคนจน แต่คนไทยลือไปว่า ขึ้นชื่อว่า”โจร” มันย่อมไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา แต่ไหนแต่ไรมา คนรวยหรือคนชั้นสูง มักเป็นตัวโกงในสายตาของคนชั้นกลางและรากหญ้า ที่รู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย ด้อยโอกาสและถูกกดขี่

อัษฏางค์ ยมนาค

ดังนั้น เมื่อมีโรบินฮู้ดโทนนี่-เอก ที่ปล้นคนรวยมาช่วยคนจน เขาจึงกลายเป็นฮีโร่ของคนเหล่านั้น แต่คนไทยลืมว่า ขึ้นชื่อว่าโจร ย่อมไม่มีวันที่จะแบ่งครึ่งๆ หรือหัก 20 แล้วให้เรา 80 กับเราแน่นอน แต่เขาจะหัก 80 แล้วเหลือให้เราแค่ 20 เท่านั้น

ที่สำคัญ ลองคิดดูว่า ถ้าเราคือคนที่โดนปล้น เราจะรู้สึกอย่างไร เพราะฉะนั้นผู้สมัครจากพรรคของโรบินฮู้ด ทั้งเวอร์ชั่นแก่และเวอร์ชั่นเด็ก ต้องตกรอบไป

ผู้เข้ารอบสุดท้ายตั้งแต่ต้น ผู้เข้ารอบที่เหลือ ก็จะเป็นพรรคที่ไม่ใช่พวกโรบินฮู้ด ซึ่งได้แก่ ประชาธิปัตย์ กล้า ไทยภักดี และอาจจะมีพรรคสี่กุมารตามมา แต่มีข่าวลือว่าประชาธิปัตย์ อาจจะไม่ส่งผู้สมัคร และพรรคสี่กุมารยังไม่ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงเหลือ 2 พรรคหน้าใหม่มาให้พิจารณา

ผมโปรยจุดยืนและนโยบายหลักของพรรคกล้ามาให้เราพิจารณาแล้ว เพราะฉะนั้นผมก็จะส่งท้ายด้วยจุดยืนและนโยบายหลักของพรรคไทยภักดีมาให้เราเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาเช่นกัน

จุดยืนของหมอวรงค์และพรรคไทยภักดี“เราออกมาเพราะเราต้องการปกป้องสถาบันฯ โดยใช้กระบวนการข้อมูลยุติธรรมเข้าต่อสู้”

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม หรือ ‘หมอวรงค์’ให้สัมภาษณ์ถึงสื่อสาเหตุ

ที่ตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ว่า

“ด้วยบริบททางการเมืองที่เปลี่ยนไปเยอะ ทำให้รู้ตัวเองว่าไม่สามารถทำงานตามสไตล์ของตน หากยังอยู่พรรคประชาธิปัตย์ เพราะเป็นคนชอบรุก ไม่ชอบตั้งรับ”

หลังจากตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปลายปี 2562 หมอวรงค์ ก็ผันตัวร่วมก่อตั้งกลุ่ม ‘ไทยภักดี’ ก่อนจะยกฐานะเป็นพรรคไทยภักดี ที่มีจุดยืนว่าเป็น ‘ผู้จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์’ และยึดมั่นต่อรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จุดยืนและอุดมการณ์ของพรรคไทยภักดี หลังเปิดตัวเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 มีทั้งหมด 5 ข้อ

•1 ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

•2 สืบสานความเป็นไทย เพราะเราสังเกตเห็นการกระทำหลายๆ อย่างในปัจจุบันกำลังทำลายรากเหง้าความเป็นไทย เช่น การทำลายความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว

•3 การแก้ไขปัญหาทุนผูกขาด ปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชัน

•4 การแก้ไขปัญหาการเกษตรด้วยเทคโนโลยีทันสมัย

•5 สร้างรากฐานความมั่งคั่งของชาติด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

“แต่หนึ่งข้อสำคัญที่สุด คือการออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะเรารู้สึกว่าการที่ม็อบออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ไม่สอดคล้องกับวิถีและบริบทของสังคมไทย”

“หากมองปัญหาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าปัญหาเกิดขึ้นจากการคอร์รัปชันของนักการเมือง แล้วแทนที่จะออกมาเรียกร้องแก้ไขจุดนี้ แต่คุณกลับจงใจเลือกจาบจ้วงสถาบันฯ นี่เป็นการแก้กระดุมผิดเม็ด”

นอกจากนี้หมอวรงค์ ยังตอบคำถามสื่อที่ถูกกล่าวหาว่า “จุดยืนของไทยภักดีข้อแรก มีการกล่าวว่า เป็นการ โหนสถาบันฯ ให้มาข้องเกี่ยวกับความเกลียดชังทางการเมือง” โดยกล่าวว่า

“หลายคนเข้าใจผิด เราออกมาเพราะเราต้องการปกป้องสถาบันฯ โดยใช้กระบวนการ และข้อมูลยุติธรรมเข้าต่อสู้ แต่เรากลับถูกอีกฝ่ายโจมตี หาว่าเราโหนเจ้า ทั้งที่การโหนหมายถึงเราต้องดึงสถาบันฯ ลงมา”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img