วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSคำยืนยัน“ไม่ก้าวล่วงสถาบัน” ทำไม“รุ้ง-เพนกวิน”ไม่ยอมพูด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คำยืนยัน“ไม่ก้าวล่วงสถาบัน” ทำไม“รุ้ง-เพนกวิน”ไม่ยอมพูด

ต้องบอกว่า หนักหนาสาหัสจริงๆ กับสภาพที่เกิดขึ้นกับแกนนำม็อบสามนิ้ว ซึ่งถูกจองจำอยู่คุก ทั้ง “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ “รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และพรรคอีกหลายคนในหลายคดี 

แต่ที่ถูกจับตามองที่สุดคือ พฤติกรรม ล่วงละเมิดสถาบัน ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 และนับตั้งแต่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง การชุมนุมของบรรดาเครือข่ายปลดแอก ในนาม กลุ่มราษฎร ถือว่ามีพฤติกรรมล่วงละเมิดสถาบัน อย่างชัดเจนมากที่สุด  

ก่อนหน้านี้นักเคลื่อนไหวชูสามนิ้ว ออกมายื่นข้อเรียกร้องใน 3 ข้อประกอบด้วย 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐนตรี 2.ต้องเปิดทางให้มีกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ (รธน.) ฉบับใหม่ โดยผ่านทางสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และ 3.ต้องมีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อเรียกร้องที่สาม จึงกลายเป็นปมร้อน ทำให้การเคลื่อนไหวนักปลดแอกไม่บรรลุเป้าหมาย   เนื่องจากไม่มีเครือข่ายยอื่นๆเข้ามาร่วมสนับสนุนด้วย 

โดยเฉพาะพฤติกรรม เพนกวิน และ รุ้ง และอีกหลายคน ทำให้ถูกตำรวจจับกุม และแจ้งหลายข้อหา จากนั้นสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ได้ยื่นฟ้องหลายข้อหา รวมทั้งการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกควบคุมตัวในศาลอาญา และไม่ได้รับการประกันตัวมาจนถึงวันนี้ แม้ว่า ทีมทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จะเพียรยื่นประกันตัวหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ศาลก็ไม่อนุมัติ นำมาสู่การตัดสินใจอดอาหารของสองแกนนำม็อบราษฎร

อีกทั้งถ้าใครติดตามข่าวสาร จะรับรู้ว่าบรรดาผู้สนับสนุน รวมทั้งเครือข่าย และญาติพี่น้องแกนนำม็อบราษฎร ซึ่งถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ ต่างออกมาเรียกร้อง และ กดดันผ่านสื่อในเครือข่าย และ สาธารณชน ต้องการให้ผู้มีอำนาจและศาลยยุติธรรม ช่วยให้นักเคลื่อนไหวสามนิ้วได้รับการประกันตัว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนนำมาสู่การจัดอีเวนท์ในรูปแบบต่างๆ 

อย่างเช่น “ยืนหยุดขัง” บริเวณหน้าศาลฎีกาและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีเครือข่ายของบรรดากลุ่มปลดแอก นักเคลื่อนไหวเสื้อแดง รวมทั้งบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองแกนนำราษฎรซึ่งถูกคุมขัง แต่ดูเหมือน ไม่มีกระแสตอบรับ จากคนทั่วไป เพราะรับไม่ได้กับพฤติกรรมของ เพนกวินและพวก ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การล่วงละเมิดสถาบัน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงการก่อเหตุเผาพระบรมฉายาลักษณ์ จากการกระทำของ “แอมมี่ เดอะบอตทอมบลูส์” หรือ “ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์”

แม้กระทั่ง “พระราชธรรมนิเทศ” หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ยังออกมาให้สัมภาษณ์กรณีการอดอาหารของ “เพนกวิน” และ “รุ้ง” เพื่อประท้วงหลังจากไม่ได้รับการประกันตัว ในคดีล่วงละเมิดสถาบันว่า ถึงวันนี้นับว่าไม่ได้เสียเปล่า ยกตัวอย่าง มหาตมะ คานธี, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, ร.ต.ฉลาด วรฉัตร ก็เคยอดอาหารประท้วงมาแล้ว แต่ก็ยังยอมกินอาหารเพื่อที่จะต่อสู้ต่อไป การเลิกอดอาหารสองแกนนำราษฎร ก็ไม่ได้ทำให้เสียอุดมการณ์ 

เพราะได้สะท้อนให้เห็น ปัญหาของระบบยุติธรรมไทย จริงๆแล้วถ้าเด็กผิดก็ขอโทษ ส่วนผู้ใหญ่ก็ควรจะให้อภัย เขายังเป็นเด็กอยู่ถอยกันคนละก้าว ทุกอย่างจะดีขึ้น

ก็ยังถูกบางฝ่ายออกมาโจมตีในทำนองเป็นพระสามกีบ ไม่ใช้กิจของสงฆ์ คงไม่เคยติดตามการปราศรัยของเพนกวินและรุ้ง เลยไม่รู้ว่าเนื้อหามีความเลวร้ายมากขาดไหน อีกทั้งยังมีบางคนไปขัดภาพในอดีต “พระพยอม” เปิดวัดสวนแก้ว เพื่อให้แกนนำนปช. มาจัดรายการ “ความจริงวันนี้” จนนำมาสู่เสียงวิจารณ์ในทางลบ นำการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการของสงฆ์ แถมยังส่งผลทำให้คนเข้าวัดทำบุญที่วัดสวนแก้วน้อยลง 

ขณะที่ “นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กดดันศาล เพื่อช่วยคนที่ตั้งใจกระทำผิดซ้ำซาก ทำไม? ถ้าคนติดคุกสามารถประท้วงศาลได้สำเร็จ จะกลายเป็นบรรทัดฐานให้นักโทษทุกคนในเมืองไทยทำตาม แล้วกฎหมายจะเหลือความศักดิ์สิทธิ์ อยู่ได้อย่างไร นักโทษไม่ได้ถูกคุกคามโดยศาลหรือกระบวนการยุติธรรม

แต่นักโทษคือผู้ที่คุกคามผู้อื่น นักโทษคือผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย สิทธิในการขอประกันตัว เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินความผิด แต่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด และศาลได้ให้โอกาสออกมาเพื่อหาหลักฐานไปต่อสู้คดีในศาล แค่กลับกลายว่า เมื่อศาลปล่อยตัวแล้ว ยังกลับไปทำผิดในคดีเดิมซ้ำซาก ติดต่อหลายครั้ง ก็ย่อมแปลว่า ถ้าศาลยัง คงปล่อยตัวออกไปซ้ำอีก เขาก็จะออกไปกระทำความผิดซ้ำเรื่องเดิมต่อไป

นี่คือเหตุผลที่เข้าใจได้ง่ายมากกว่าทำไม คนกลุ่มดังกล่าวถึงไม่ได้รับการอนุญาตให้ปล่อยตัว ทั้งคนและพระควรจะเข้าใจประเด็นนี้ใช่ชัดเจน ก่อนออกมาเคลื่อนไหว กดดันศาล ที่สำคัญการกดดันศาล คือความผิดทางกฎหมายอีกด้วย

นอกจากนี้ความพยายามกล่าวหา กระบวนยุติธรรมว่าเลือกปฏิบัติ และไม่ให้ความเป็นธรรมกับนักเคลื่อนไหวกลุ่มราษฎร ซึ่งติดข้อหากฎหมายอาญาตรา 112 ก็ดูจะเป็นเรื่องมโน และมีวาระซ่อนเร้น  เพราะถ้าหากไปเปรียบเทียบกับชะตากรรม “ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม” หรือ “หมอลำแบงค์” ซึ่งถือหนึ่งในจำเลยในคดีอาญามาตรา 112 รวมทั้งข้อหาอื่นอีกหลายคดี ซึ่งร่วมเคลื่อนไหวกับ “ม็อบราษฎร” ได้รับการประกันตัว

เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว “หมอลำแบงค์” แต่ไม่ให้ประกันตัว “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” และ “ไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา” จำเลยในคดีมาตรา 112 จากคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร 

โดยทนายยื่นขอปล่อยตัวชั่วทั้ง 3 คน เมื่อ 5 เม.ย. 2564 โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 100,000 บาท และให้เหตุผลประกอบคำร้องขอประกันของสมยศโดยสรุปว่า จำเลยมีอายุมาก สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง หากไม่ได้รับการประกันจำเลยและครอบครัวจะได้รับความเดือดร้อน และการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นขัดต่อหลักสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากยังไม่ได้มีการพิสูจน์ความผิดในชั้นศาล

ด้าน ไผ่-จตุภัทร์” ให้เหตุผลประกอบการขอประกันตัวโดยสรุปว่า จำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และปัจจุบันยังเป็นนักศึกษาอยู่ การคุมขังส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษา และการที่จำเลยถูกคุมขังไว้ตามหมายขังของศาลมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว 

แต่สถานการณ์ทางการเมืองไม่ได้แตกต่างจากก่อนหน้าที่จำเลยถูกคุมขังไว้ รวมถึงจำเลยเป็นเพียงบุคคลที่ถูกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า กระทำความผิดเท่านั้น ยังไม่มีการพิจารณาพิพากษาของศาลว่า เป็นผู้กระทำผิด โดย าลไต่สวนคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564 โดยจำเลยทั้งสามแถลงต่อศาลมีเนื้อหาดังนี้

“ปติวัฒน์ ในฐานะจำเลยที่ 3 แถลงว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และ พูดพาดพิงสถาบันฯ อีกอย่างเด็ดขาด โดยจะไปประกอบอาชีพร้องหมอลําเพื่อหาเลี้ยงชีพต่อไป ทั้งยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่เครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) 

การวางเงื่อนไขห้ามออกนอกเขตที่กําหนด หรือการวางเงื่อนไข ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุม และจะมาศาลทุกนัด หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่มาศาลนัดหนึ่งนัดใด ก็ยินดีที่จะให้ศาลถอนประกัน

ด้าน “สมยศ” ในฐานะจำเลยที่ 4 แถลงว่า เนื่องจากจําเลย ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ทําให้ไม่อาจหาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถตรวจดูพยานหลักฐานโจทก์ได้โดยละเอียด เกรงว่าหากไม่ได้รับโอกาสในต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จะเป็นเหตุให้ ตนไม่ได้รับความยุติธรรม 

ส่วน “ไผ่-จตุภัทร์” ในฐานะจำเลยที่ 7 แถลงว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะไม่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อีก ทั้งนี้ จำเลยทั้งสามแถลงรับเงื่อนไขของศาล โดยมีเนื้อหาตรงกันว่า หากได้รับการปล่อยชั่วคราว จะไม่กล่าวพาดพิงถึง สถาบันพระมหากษัตริย์

และจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทำให้เสื่อมเสีย ถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวทุกประการ โดยมีนายประกันของทั้งสามรับรองว่า จะกำกับดูแลจำเลยทั้งสามให้ปฏิบัติตามสัญญาที่แถลงไว้ต่อศาล

จากนั้นเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเฉพาะ “ปติวัฒน์” โดยระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์จากคำแถลงและการไต่สวนตามคำร้องของปติวัฒน์ ประกอบกับคำรับรองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับจำเลย น่าเชื่อว่าจำเลย จะไม่ไปก่อเหตุอันตราย ประการอื่นได้อีก จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตีราคาประกัน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขห้ามมิให้จำเลยที่ 3 กระทำการในสักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ซ้ำอีก หรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจทำให้เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้จำเลยมาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด ก่อนปล่อยตัวจำเลยและแจ้ง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบ (สตม.)  

ในส่วน สมยศ”และ “ไผ่-จตุภัทร์” คำสั่งระบุว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้ถ้อยคำในชั้นไต่สวนขอปล่อยชั่วคราวเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2564 ศาลนัดสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน จำเลยและทนายของทั้งสองไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีเพียงจำเลยที่ 3 และทนายความจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา 

อีกทั้งทนายจำเลยที่ 4 และที่ 7 นำรายงานกระบวนพิจารณาไปเขียนข้อความเพิ่มเติมโดยไม่ใด้รับอนุญาตจากศาล ระบุว่า “ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 22 ไม่ขอลงชื่อ ในรายงานกระบวนพิจารณา เนื่องจากไม่ยอมรับกระบวนพิจารณา” กับมีพฤติการณ์จะไม่ยอมไปกำหนดวัน นัดสืบพยานที่ศูนย์นัดความ และยื่นคำร้องขอถอนทนายความ 

ทำให้การกำหนดวันนัดสืบพยานเป็นด้วยความยากลำบาก ซึ่งเป็นอุปสรรคและ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการดำเนินคดีในศาล ข้อความและคำแถลงของจำเลยทั้งสองว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แถลงไว้ต่อศาล จึงไม่น่าเชื่อถือว่าสามารถปฏิบัติตามที่แถลงไว้ต่อศาลได้ ในชั้นนี้ จึงยัง ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยทั้งสอง 

คำถามคือ ทำไม เพนกวิน”และ รุ้ง” และผู้ติดคดีกฎหมาย อาญามาตรา 112 จึงไม่ใช้แนวทางเดียวกับ “ปติวัฒน์”  ยอมรับกับศาลว่า หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และไม่ขอพูดพาดพิงสถาบันฯ อีกอย่างเด็ดขาด

แต่บุพการีและผู้ให้การสนับสนุน กลับเลือกใช้วิธี กดดันศาล ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแส หวังดึงให้คนในสังคมออกมามีส่วนรวม ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ก็คงเดาได้ไม่ยาก เพราะถ้าวันหนึ่งกระบวนการยุติธรรม  ต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน ต่อไปหลักกฎหมายคงไม่มีเกรงกลัว เพราะ เชื่อในหลักกู มากกว่ายึดหลักการ 

…………………………..

คอลัมน์ : ล้วง-ลับ-ลึก

โดย “แมวสีขาว”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img