วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSCarbon Credits สิทธิประโยชน์การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Carbon Credits สิทธิประโยชน์การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Carbon Offset : Reduction or Removal of Carbon Dioxide Emissions

“….คาร์บอนเครดิต Carbon Credits คือ ส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ในบรรยากาศ ..”

คาร์บอนเครดิต Carbon Credits คือ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 หรือก๊าซเรือนกระจก Green House Gases : GHGs ออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยการที่บุคคล หน่วยงาน หรือองค์การ ได้ดำเนินโครงการ GHG Reduction Projects หรือมาตรการใด ๆ ที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศนั่นเอง ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้ สามารถวัดเป็นปริมาณ และสามารถนำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ได้ .. ในขณะที่ การชดเชยคาร์บอน Carbon Offset นั้นคล้ายคลึงกัน หมายถึง การลด หรือกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกประเภทต่าง ๆ เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเหล่านี้จากแหล่งอื่นๆ .. ทั้งนี้ หากจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ก๊าซต่าง ๆ ที่เป็นก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs และจำนวนคาร์บอนที่แต่ละองค์กรสามารถทำให้ลดลงได้ต่อปีนั้น มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และหากการปล่อยคาร์บอนนั้นน้อยกว่าเกณฑ์กำหนด ก็จะถูกตีราคาเป็นค่าเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นได้ ..

Carbon Credit / Carbon Offset | Credit : Textile Learner

ปัจจุบัน คาร์บอนเครดิต Carbon Credit หรือเครดิตออฟเซ็ต Offset Credit เป็นเครื่องมือที่สามารถถ่ายโอนกันได้ซึ่งได้รับการรับรองโดยภาครัฐ หรือหน่วยงานรับรองอิสระ เพื่อแสดงถึงการลดการปล่อยก๊าซที่สามารถซื้อหรือขายกันได้ ทั้งที่เป็นค่าชดเชย และค่าเครดิต โดยจะถูกวัดเป็นตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e .. การชดเชยคาร์บอน Carbon Offset หรือคาร์บอนเครดิต Carbon Credit ปริมาณ 1 ตัน แสดงถึงการลด หรือกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ปริมาณ 1 ตัน หรือเทียบเท่าในก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ..

ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิต Carbon Credits คือ ส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ในบรรยากาศ .. ในโปรแกรมเหล่านี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกจำกัด จากนั้นตลาดจะถูกใช้เพื่อจัดสรรการปล่อยก๊าซระหว่างกลุ่มของแหล่งที่มาที่ได้รับการควบคุม .. เป้าหมาย คือ เพื่อให้กลไกตลาดขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆ เนื่องจากโครงการเหล่านี้ สร้างเครดิตชดเชยด้วยมูลค่าสูงที่น่าสนใจ .. แนวทางนี้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นเงินทุนสำหรับแผนงานลดคาร์บอนระหว่างประเทศคู่ค้าทั่วโลกได้ ..

ภายในตลาดแบบสมัครใจ Voluntary Market นั้น ความต้องการการชดเชยคาร์บอน Demand for Carbon Offsets เกิดขึ้นจากบุคคล บริษัทฯ องค์กร และหน่วยงานภาครัฐที่ซื้อการชดเชยคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutral, เป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero หรือเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ Other GHG Reduction Goals .. ตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Markets นี้ ได้รับความช่วยเหลือจากแผนงาน และโปรแกรมการรับรองที่ให้เกณฑ์มาตรฐาน และคำแนะนำอื่น ๆ สำหรับนักพัฒนาโครงการที่จะปฏิบัติตาม เพื่อสร้างการชดเชยคาร์บอน Carbon Offsets ที่เพียงพอในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆ ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

ตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol ได้กำหนดกลไกต่าง ๆ ให้ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs Reduction ประเภทต่าง ๆ ซึ่งก๊าซเหล่านี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน Global Warming และวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis .. หนึ่งในกลไก คือ การซื้อขายมลพิษ หรือ คาร์บอนเครดิต กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงตามที่กำหนดไว้ได้ ..

สำหรับประเทศไทย ได้เข้าร่วมให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2545 โดยอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ถูกบังคับให้มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถร่วมดำเนินโครงการได้ในฐานะผู้ผลิตคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Maker จากการดำเนินโครงการ และในปี 2550 คณะรัฐมนตรี ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน หรือ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO Public Organization ภายใต้การกำกับของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหมายถึง คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs, จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนเครดิต ที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยจะเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศไปพร้อมด้วย ..

คาร์บอนเครดิต Carbon Credit สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต กับการดำเนินการของไทย ..

ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม Environmental Issues และการเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Growth เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ Climate Change ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก .. หลาย ๆ ประเทศเริ่มกล่าวถึงประเด็นการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายใหม่ของภาคส่งออกไทยที่ต้องตระหนักรู้ และจำต้องเร่งปรับตัว โดยล่าสุด เมื่อกันยายน 2565 ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต เตรียมศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax และกำหนดให้มีความชัดเจนในแนวทาง และอัตราภาษีให้ชัดเจน ภายในปี 2566 นี้ คาดหมายว่าจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax จากสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง 5 ประเภท ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ยเคมี และการผลิตกำลังไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ ให้สำเร็จตามแผนงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยได้ ภายในปี 2608 ..

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอดีตที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจำกัด และการค้าแบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน จนทำให้ทั่วโลกต่างแสดงความกังวล และหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก การที่หลายประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol เพื่อพิจารณาหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพิธีสารเกียวโตเองก็ได้มีการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้สำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ความตกลงปารีส Paris Agreement 2015 ก็เป็นอีกหนึ่งความตกลงที่มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยความตกลงดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักการซื้อขายก๊าชเรือนกระจก Emission Trading System : ETS และอนุญาตให้ผู้ที่ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่เหลือให้แก่ผู้อื่นได้ หรือที่เรียกกันว่า “คาร์บอนเครดิต Carbon Credit” ..

คาร์บอนเครดิต Carbon Credits หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ที่ลดลง หรือจัดเก็บไว้ได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การดักจับ และจัดเก็บก๊าซคาร์บอน เป็นต้น มีหน่วยวัดเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e .. ทั้งนี้ ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs ที่ถูกควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol มี 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2, ก๊าซมีเทน Methane : CH4, ก๊าซไนตรัสออกไซด์ Nitrous oxide : N2O, ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน Hydrofluorocarbons : HFCs, ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน Perfluorocarbons : PFCs, ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ Sulfur hexafluoride : SF6 และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ Nitrogen trifluoride : NF3 ..

Carbon Market is Critical for Lowering Greenhouse Gas Emissions | Credit : Vuphong Energy Group

สำหรับประเทศที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น หากองค์กรใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลด หรือจัดเก็บไว้ได้ไปขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นๆ ขณะเดียวกันหากองค์กรใดที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณที่กำหนด ก็สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิต เพื่อเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กรตัวเองได้อีกด้วย ..

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และร่วมลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol ในสนธิสัญญาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตั้งแต่ปี 2545 โดยไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะไม่ถูกบังคับให้มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ..

เมื่อปี 2550 ประเทศไทย ได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO ขึ้น มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก และคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่ได้รับการรับรอง ..

นอกจากนั้น ในปี 2559 ประเทศไทยได้เข้าร่วมให้สัตยาบันในความตกลงปารีส Paris Agreement 2015 โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตั้งเป้าหมายควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2oC และได้กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นไว้ควบคู่กันว่า จะพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้น้อยลงไปอีกจนถึงต่ำกว่าจุดเล็งที่ 1.5oC ..

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 26th United Nations Climate Change Conference : COP26 เมื่อปี 2564 โดยไทยได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Carbon Emission ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero GHGs Emission ภายในปี 2608 โดยใช้กรอบนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมในรูปแบบโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economic Model : BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ..

การซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ในประเทศไทย ..

โดยทั่วไป ตลาดการซื้อขายคาร์บอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ Mandatory Carbon Market ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้กำหนดบังคับ และกำกับดูแลด้วยการใช้กฎหมาย เพื่อไม่ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด Legally Binding Target กับ ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market ซึ่งหมายถึง ตลาดที่จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการ หรือองค์กร รวมทั้งภาคประชาสังคม เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ .. คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่ได้จากโครงการดังกล่าว สามารถนำมาซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจได้ และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าว เพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด เป็นต้น ..

Carbon Credit & Carbon Offset | Credit : Your Story / Civils Daily

ทั้งนี้ จากที่กล่าวไปข้างต้น ตลาดการซื้อขายคาร์บอนโดยทั่วไป มี 2 ระบบ โดยหนึ่งในระบบตลาดการซื้อขายคาร์บอนนั้น คือ ระบบ Emission Trading Scheme : ETS หรือระบบ Cap & Trade ซึ่งจัดเป็นตลาดคาร์บอนภาคบังคับ Mandatory Carbon Market โดยระบบการซื้อขายคาร์บอนของประเทศไทย มีการริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 ในลักษณะคล้ายระบบ Emission Trading Scheme : ETS เช่นกัน แต่เป็นภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market ภายใต้การพัฒนาโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน หรือ อบก.ที่เรียกว่า ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS ซึ่งจะมีการจัดวางระบบการตรวจวัดรายงาน และระบบสอบทาน Measurement, Reporting & Verification System : MRV มาพร้อมด้วย ..

อย่างไรก็ตาม ระบบ Thailand Voluntary Emission Trading Scheme : Thailand V-ETS นี้ ถือว่ายังเป็นเพียงโครงการนำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนากฎ ระเบียบ และการดำเนินงาน รวมทั้งรูปแบบการซื้อขายสิทธิ .. การทดสอบระบบสอบทาน Measurement, Reporting & Verification System : MRV ก็เช่นกัน ซึ่งการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โดยในช่วงที่ผ่านมา ยังเป็นเพียงการดำเนินโครงการนำร่องครอบคลุมอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก โรงกลั่นน้ำมัน ปูนซีเมนต์ เยื่อกระดาษ แก้ว และพลาสติก เท่านั้น ..

นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของชาติอีกโครงการหนึ่งที่มีชื่อว่า Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER ซึ่งเป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ อบก.หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่เกิดขึ้น ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกกันง่าย ๆ ว่า “TVERs Credit” ไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยน หรือซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ภายในประเทศ .. ทั้งนี้ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ รวมถึงขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นมาตรฐานของประเทศต่อไป ..

Carbon Credit มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของไทย | Credit : M Report / Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO

สำหรับในประเด็นราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Price ของไทยนั้น พบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2559 มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 846,000.-บาท เพิ่มขึ้นเป็น 124,762,420.-บาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 147 เท่า ในช่วงที่ผ่านมา โดยราคาคาร์บอนเฉลี่ยต่อตัน มีราคาเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 149.97 บาทต่อตัน .. ทั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยจาก อบก.หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO ว่า ปริมาณ และมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตCarbon Credit Trading ของประเทศไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 เติบโตมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-218 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e ..

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาคาร์บอนเครดิต Price Mechanism of Carbon Credits ของต่างประเทศ พบว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ มีราคาสูงกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของไทยมาก ตัวอย่างเช่น ระบบ EU ETS : Emissions Trading System ของสหภาพยุโรป มีราคาอยู่ที่ 73.27 ยูโรต่อตัน เท่ากับประมาณ 2,707.07 บาทต่อตัน เป็นต้น .. แม้ว่าปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตของไทยจะต่ำกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ แต่ในอนาคตคาดหมายได้ว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของไทย Price of Carbon Credits in Thailand มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากกรมสรรพสามิต เริ่มศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนได้ ภายในปี 2566 นี้ ..

คาดการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market ..

ขนาดธุรกิจในตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market มีมูลค่า 760.28 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และคาดหมายว่า อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุนอยู่ที่ค่า CAGR 21.14% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2566-2571.. ความต้องการใช้คาร์บอนเครดิต Demand of Carbon Credits คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากจำนวนภาระผูกพันการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Commitments ขององค์กรที่เพิ่มขึ้น .. การซื้อคาร์บอนเครดิต Purchasing Carbon Credits ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ กลายเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon-Neutral ในปัจจุบัน ขณะที่พวกเขา ยังคงมุ่งทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ต่อเนื่องไปพร้อมด้วย ..

Carbon Credit Explained | Credit : Sylvera

ธุรกิจต่าง ๆ สามารถมุ่งสู่เป้าหมายเชิงรุก และเร็วขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากคาร์บอนเครดิต .. สินเชื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีตัวเลือกในการชดเชยการปล่อยมลพิษในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการตามขั้นตอนที่ประหยัดต้นทุน Cost-Effective Steps เพื่อลดการปล่อยมลพิษในอนาคตผ่านการหมุนเวียนของสินทรัพย์ และวิวัฒนาการของรูปแบบธุรกิจของพวกเขา .. ในระยะยาว คาร์บอนเครดิต Carbon Credits มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการชดเชยการปล่อยมลพิษที่ลดลงได้ยากจากสินค้าที่ไม่มีตัวเลือกสำหรับการปล่อยมลพิษต่ำ หรือเป็นศูนย์สุทธิได้ ..

ในขณะที่บริษัทเอกชนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ พยายามที่จะมีส่วนร่วมในตลาดชดเชย Carbon Offset Market .. ความก้าวหน้าล่าสุดได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินเชื่อเหล่านี้โดยสมัครใจ Voluntary Demand for These Credits ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกมันคือโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมควบคู่กับการลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ซื้อที่สมัครใจมากกว่า บริษัทเหล่านี้ จึงได้รับแรงกดดันจากผู้ถือหุ้น และประชาชนทั่วไปให้ผลักดันโครงการนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และจากนี้ไป ..

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดชดเชย Demand Increase in the Offsetting Market เกิดจากความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ซึ่งกระตุ้นโดย COP26 .. บริษัทฯ จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตระหนักถึงคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม Environmental & Social Value ของโครงการชดเชย และดำเนินการด้านสภาพอากาศด้วยการชดเชย Carbon Footprint ..

สำหรับในภาคส่วนของตลาดภาคสมัครใจ Voluntary Market Segment คาดว่าจะเติบโตอย่างมากในปีต่อ ๆ ไป .. คาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Credits ซึ่งในอดีตทำธุรกรรมผ่านข้อตกลงทวิภาคีที่จัดทำขึ้นเองระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย สามารถซื้อขายได้มากขึ้นผ่านการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตเฉพาะ และแพลตฟอร์มการซื้อขาย เมื่อพิจารณาจากการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจทั่วโลก Global Voluntary Carbon Credit Market พบการแลกเปลี่ยนที่จัดตั้งขึ้นจำนวนมาก กำลังมองหาช่องทางเปิดตัวข้อเสนอของตนเอง เพื่อมุ่งไปสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Economy & Society ในอนาคตให้เร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้  ..

ทั้งนี้ แนวโน้ม และทิศทางตลาดคาร์บอนเครดิตระดับโลก Global Carbon Credit Market ที่ McKinsey คาดการณ์ไว้นั้น ความต้องการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในปี 2573 จะเติบโตสูงมากถึง 15 เท่าเทียบเคียงจากปี 2563 และเติบโตมากถึง 100 เท่าในปี 2593 สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต Future Carbon Credit Trading มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไปทั่วโลก ..

ปัจจุบัน กลไกการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยจะมีการดำเนินผ่านโครงการ T-VER โดยคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการสามารถนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง Carbon Offsetting หรือขายคาร์บอนเครดิตให้แก่ผู้ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เอง ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้ เช่น ต้นทุนการดำเนินการ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ระยะเวลาลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ เป็นต้น ..

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 0.85 ล้านบาท เมื่อเริ่มต้นโครงการในปี 2559 เป็น 146.7 ล้านบาท ณ เดือนกรกฎาคม 2565 โดยมีปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตรวม 1.92 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e คิดเป็นราคาคาร์บอนเครดิตเฉลี่ย 76.35 บาทต่อตัน ..

มูลค่า และปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ส่วนใหญ่ในประเทศเกิดขึ้นในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ด้วยมูลค่า 124.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13 เท่า จากปี 2564 และปริมาณการซื้อขายจำนวน 1.16 ล้านตัน ด้วยราคาเฉลี่ย 107.23 บาทต่อตัน ..

T – VER’s Carbon Credit Market in 2 Months Comparative January to February 2022 & 2023 | Credit : Thailand Greenhouse Gas Management Organization

สำหรับโครงการ T-VER ที่ผู้ซื้อขายให้ความสนใจ และซื้อคาร์บอนเครดิตไปเพื่อใช้ชดเชยในประเทศไทยนั้น ยังคงเป็นคาร์บอนเครดิต Carbon Credits จากโครงการประเภทพลังงานทดแทน Renewable Energy เป็นหลัก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy, พลังงานชีวมวล Biomass Energy และเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น ..

ทั้งนี้ อบก.ระบุว่า ส่วนหนึ่งมาจากสถิติการรับรองคาร์บอนเครดิตของโครงการ T-VER ประเภทพลังงานทดแทน มีการรับรองคาร์บอนเครดิตเข้าสู่ตลาดคาร์บอนสูงมากที่สุด ในจำนวนกว่า 8.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e คิดเป็น 59.57% ของปริมาณคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่มีการรับรองจาก อบก. ทั้งหมด หมายถึง คาร์บอนเครดิต Carbon Credits จากการประกอบกิจการพลังงานทดเทน คือ โอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจในตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ของไทยมากที่สุด ..

สรุปส่งท้าย ..

ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ปริมาณมากที่สุดในโลก 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐฯ อินเดีย รัสเซีย และญี่ปุ่น ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก โดยไทยมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 277.1 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็น 0.87% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้งโลกที่ถูกปล่อยคายออกมา ..

เมื่อ 7 ปีครึ่งก่อนหน้านี้ ข้อตกลงด้านสภาพอากาศขององค์การสหประชาชาติในกรุงปารีส Paris Agreement 2015 หรือ COP21 ได้กำหนดเพดานสำหรับภาวะโลกร้อนที่ต่ำกว่า 2°C ซึ่งควรจะเป็นจุดเล็งที่ 1.5°C เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม .. บรรดาผู้นำโลกอย่างน้อย 55 ประเทศ ได้ตกลงพร้อมใจกันที่จะปรับสมดุลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ เพื่อให้ผลรวมก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ชาติเป็นศูนย์สุทธิ ..

ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิต Carbon Credits คือ ส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gase s: GHGs ในบรรยากาศ .. ในโปรแกรมเหล่านี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกจำกัด จากนั้นตลาดจะถูกใช้เพื่อจัดสรรการปล่อยก๊าซระหว่างกลุ่มของแหล่งที่มาที่ได้รับการควบคุม .. เป้าหมาย คือ เพื่อให้กลไกตลาดขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่าง ๆ เนื่องจากโครงการเหล่านี้ สร้างเครดิตชดเชยด้วยมูลค่าที่น่าสนใจ ซึ่งจะส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition ทั่วโลกจากฐานการบริโภคพลังงานหลักด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ไปสู่การใช้ฐานการบริโภคพลังงานหลักที่สะอาดกว่าที่เป็นพลังงานสีเขียว Green Energy จากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ หรือทำให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emission ประสบความสำเร็จได้ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ ..

คาดหมายได้ว่า ความต้องการคาร์บอนเครดิตในอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จากกระแสความตื่นตัว และความมุ่งมั่นทั้งในระดับชาติ ระดับองค์กร และในประชาคมโลก ซึ่งความตื่นตัวนี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยเติบโตขึ้นไปพร้อมด้วย .. ดังนั้น นอกจากภาคพลังงาน และภาคการเกษตรแล้ว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งภาคประชาสังคม จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และเริ่มดำเนินโครงการสำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันอย่างจริงจังมากขึ้นจากนี้ไป ..

Carbon Market in Thailand | Credit : Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบัน ราคาคาร์บอนเครดิต Price Mechanism of Carbon Credits ในประเทศไทย จะยังคงไม่สูงมากนัก แต่ก็มีการประเมินไว้ว่า ราคาคาร์บอนเครดิต Price of Carbon Credits ในตลาดโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.2-6 เท่า ซึ่งจะส่งผลให้คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ในประเทศไทย มีราคาสูงขึ้นตามไปด้วยอีกอย่างน้อย 10 เท่า .. ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทย สามารถปรับตัวได้เร็ว เช่น การทำธุรกิจคาร์บอนต่ำ Low Carbon Business หรือการซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Trading เป็นต้น รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสูง เช่น สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย จะทำให้ผู้ประกอบการสัญชาติไทยได้รับประโยชน์อย่างมากมาย อีกทั้งยังจะสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีแนวโน้มเลือกสินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutral, การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Carbon Emission หรือเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ Other GHG Reduction Goals สำหรับอนาคตระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติที่เหนือชั้นกว่าให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

…………………………….

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Carbon Offsets and Credits | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Carbon_offsets_and_credits

Carbon Credits and How They Can Offset Your Carbon Footprint | Investopedia :-

https://www.investopedia.com/terms/c/carbon_credit.asp#:~:text=Carbon%20credits%2C%20also%20known%20as,cap%2Dand%2Dtrade%20program

A Blueprint for Scaling Voluntary Carbon Markets to Meet the Climate Challenge | Mckinsey :-

https://www.mckinsey.com/capabilities/sustainability/our-insights/a-blueprint-for-scaling-voluntary-carbon-markets-to-meet-the-climate-challenge

Carbon Credit Pricing Chart: Updated 2023 | 8 Billion Trees™ :-

https://8billiontrees.com/carbon-offsets-credits/new-buyers-market-guide/carbon-credit-pricing/

The Six – Sector Solution to the Climate Crisis :-

https://photos.app.goo.gl/bpMYDhQjaAs21ByW9

Net Zero Emissions Electricity :-

https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16

Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-

https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img