วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSจับตา!! มส.ชุดใหม่ “ใครไป-ใครมา”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จับตา!! มส.ชุดใหม่ “ใครไป-ใครมา”

“เปรียญสิบ” รับปากไว้นานแล้วว่าจะเขียนถึง “มส.” สักวันประเภทเจาะวิเคราะห์ไปที่ตัวบุคคล ว่าแต่ละรูป แต่ละท่าน..เหมาะสมที่จะดูแล “สังฆมณฑล” ที่ประกอบด้วยวัดกว่า 4 หมื่นวัด พระสงฆ์-สามเณรอีกประมาณ 3 แสนรูป 

ยอมรับว่า “ข้อมูลไม่พร้อม” ยังขาดๆ เกินๆ  หากวิเคราะห์ผิดพลาดอาจนำมาซึ่งการ “ล๊อบบี้”

แต่ขอให้จับตาว่าเร็วๆ นี้ “พระครูสัญญาบัตร และ กรรมการ มส.” ชุดใหม่ คงจะ “คลอดแน่”

ตอนที่เกิดเหตุการณ์ มส.ปลด 3 เจ้าคณะจังหวัดแบบปัจจุบันทันด่วน โดยที่ กรรมการ มส.บางรูปก็ “งงตาแตก” ว่า ต้นสายปลายเหตุมาจากอะไรกันแน่ ใครถือโพยเข้ามาและอ้างใคร มส.จึงตัดสินใจแบบนั้น!!

เว็บไซต์ “ไอลอน์” ได้ลงรายละเอียดที่มา “มหาเถรสมาคม” ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 ที่แก้ไขมาแล้ว 4 ครั้ง ว่า

กรรมการ มส. ชุดปัจจุบัน รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชมีทั้งหมด 21 รูป ได้รับโปรดกล้าฯ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2564

ซึ่งก็หมายความว่า มส.ชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงแล้ว

โครงสร้างของ มส. ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูป ผอ.พศ.เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม

“สมเด็จพระสังฆราช” นอกจากมีบทบาทในการเป็นประธาน มส.แล้ว ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม

ขณะที่กรรมการ มส. อื่นอีกไม่เกิน 20 รูป พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควร และมีจริยวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

นอกจากพระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการมส.ยังทรงมีพระราชอำนาจประกาศพระบรมราชโองการให้กรรมการ มส. ออกจากตำแหน่ง แต่!! กรรมการมหาเถรสมาคมอาจพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระบรมราชโองการก็ได้ ได้แก่ มรณภาพ พ้นจากความเป็นพระภิกษุ และลาออก

“ไอลอน์” ตั้งข้อสังเกตว่า พระภิกษุชุดปัจจุบันที่เป็น “กรรมการ มส.” ล้วนสังกัดวัดที่อยู่ภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอำนาจมหาเถรสมาคม ปกครองคณะสงฆ์ ออกกฎ ข้อบังคับ คำสั่งได้ เท่าที่ไม่ขัดกฎหมายและธรรมวินัย และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ทั้ง 5 ประการข้างต้นก็ได้…

“เปรียญสิบ” มองว่า “จุดบกพร่อง” สำคัญของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นี้ คือ ไม่สมควรให้ สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานมหาเถรสมาคม ให้พระองค์ดำรงอยู่ในตำแหน่งเป็นที่ “เคารพและสักการะ” ของคณะสงฆ์และชาวพุทธ อย่ามายุ่งกับเรื่องปวดหัวแบบโลกๆ มากจนเกินควร สอง พ.ร.บ.สงฆ์ 2505 ไม่มีการกระจายอำนาจ และ สาม แปลกประหลาดที่สุดก็คือ พ.ร.บ.สงฆ์ 2505 ไม่มีงบประมาณรองรับภารกิจของคณะสงฆ์ทั้ง

และทั้งในอนาคตคิดว่าตำแหน่ง “ผอ.พศ.” ควรให้ “มส.” เป็นผู้พิจารณาเบื้องต้น แล้วเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อเสนอโปรดเกล้าฯ เสมือน พ.ร.บ.กลาโหมของเหล่าทัพ

ทุกวันนี้ ถาม มส.ตรงๆ ว่า หากต้องการ จะเลือกข้างและฟัง ระหว่าง มส.กับรัฐมนตรีที่กำกับ พศ.

ผอ.พศ. จะฟังใคร!!  เพราะฉะนั้น..ข้าราชการ พศ. สั่งการไม่ได้ พูดแล้วไม่ปฎิบัติตาม งานล่าช้า มส.หรือคณะสงฆ์ อย่าบ่น!!

“เปรียญสิบ” ขอให้ชาวพุทธและคณะสงฆ์ติดตามการเสนอชื่อและการแต่งตั้ง มส.ชุดใหม่ อย่างใกล้ชิด และขอเสนอต่ออีกว่า กรรมการ มส.ชุดต่อไป ควรกระจายไปยังต่างจังหวัด เลือกพระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถ และปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ บ้าง  โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ที่ดูแลเรื่องศีล 5 กลุ่มพระสงฆ์ที่ทำงานวัด ประชารัฐ สร้างสุข กลุ่มพระสงฆ์ที่อยู่ใน มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง กลุ่มพระภิกษุสงฆ์ที่ขับเคลื่อนการศึกษาคณะสงฆ์ทั้งบาลี และนักธรรม  และรวมทั้งกลุ่มพระสงฆ์ที่ทำงานเพื่อประชาชน..

บรรดา “พระสมเด็จ” ทั้งหลาย หากไม่จำเป็นไม่ต้องลงมาเป็น มส.ก็ได้..

……………….

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

โดย…“เปรียญสิบ”: riwpaalueng@gmail.com

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img