วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEชง“กบง.”เคาะซื้อไฟจากชีวมวลส่วนเพิ่ม 200 MW ราคาไม่ถึง 2 บาทต่อหน่วย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ชง“กบง.”เคาะซื้อไฟจากชีวมวลส่วนเพิ่ม 200 MW ราคาไม่ถึง 2 บาทต่อหน่วย

กกพ.” ชง “กบง.” เคาะรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลส่วนเพิ่มกว่า 200 MW ให้อัตราการรับซื้อไฟที่ 1.6-1.9 บาทต่อหน่วย เพื่อลดผลกระทบจากปริมาณก๊าซธรรมชาติในแหล่งเอราวัณที่หายไป แต่เอกชนโวย ราคาต่ำกว่า 2 บาทไม่น่าสนใจ เพราะไม่คุ้มทุน

หน่วยงานภาครัฐเตรียมความพร้อมรับมือการผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณที่เกิดความล่าช้า ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตก๊าซป้อนให้กับโรงไฟฟ้าไม่เพียงพอ จึงมีแผนประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มเติม ซึ่งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่คาดว่าจะมีศักยภาพในการขายไฟฟ้าให้กับรัฐ ก็จะเป็นโรงงานน้ำตาลที่มีการผลิตไฟฟ้าใช้เองจากวัตถุดิบกากอ้อย โดยไม่ต้องก่อสร้างใหม่ พร้อมเชื่อมเข้าระบบสายส่งทันที ซึ่งแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลส่วนเพิ่มนั้น

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมไฟฟ้า เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาแผนรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลส่วนเพิ่มของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ขนาดกำลังการผลิตรวมประมาณ 200 กว่าเมกะวัตต์ โดยให้อัตราราคารับซื้อไฟฟ้าที่ประมาณ 1.6-1.9 บาทต่อหน่วย จากเดิมคาดการณ์ว่าจะรับซื้อราว 400 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ กบง.จะมีการพิจารณาในวันที่ 22 ก.พ.65

ทั้งนี้แผนรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลส่วนเพิ่มนั้น เพื่อลดผลกระทบจากปริมาณก๊าซธรรมชาติในแหล่งเอราวัณที่หายไป เนื่องจากการเปลี่ยนถ่ายการบริหารจัดการแหล่งเอราวัณล่าช้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่กำหนดปริมาณการผลิตก๊าซขั้นต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้เชื้อเพลิงก๊าซฯบางส่วนที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศหายไป และยังเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

แหล่งข่าว กล่าวว่า มาตรการรับซื้อไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลส่วนเพิ่มนั้น ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลจะได้เปรียบโรงไฟฟ้าชีวมวลทั่วไป เนื่องจากมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เหลือจากการผลิตใช้เองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับระบบสายส่งได้ทันที แต่ก็ต้องไปเช็คกับระบบสายส่งก่อนว่าเต็มหรือไม่อย่างไร ส่วนอัตราราคารับซื้อไฟฟ้าในระดับประมาณ 1.6-1.9 บาทต่อหน่วยนั้น ไม่ได้นำต้นทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าและค่าดำเนินการ และบำรุงรักษา (O&M) มาคำนวณ โดยจะคิดเฉพาะอัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนแปรผัน (FiT variable : FiTV) หรือคิดจากต้นทุนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล และมีการผลิตไฟฟ้าใช้เองในโรงงาน กล่าวว่า หากกระทรวงพลังงาน โดย กบง. จะอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากเชื้อเพลิงชีวมวล แล้วให้อัตราค่าไฟฟ้าต่ำกว่า 2 บาทต่อหน่วยนั้น เป็นราคาที่ไม่น่าสนใจ เนื่องจากราคาต่ำเกินไป ไม่มีความคุ้มค่ากับต้นทุนวัตถุดิบ

“อัตราราคารับซื้อไฟฟ้าต่ำกว่า 2 บาทไม่มีใครสนใจที่จะขายให้กับรัฐหรอก ขนาดราคา 2.20 บาท ผมยังไม่สนใจเลย ผมทำธุรกิจไม่ได้ทำบุญ ขนาดราคา 2 บาทยังไม่คุ้มค่ากับต้นทุนวัตถุดิบเลย ถ้าจะขายไฟฟ้าให้กับรัฐ 2 บาท ผมประกาศขายให้กับเอกชนยังง่ายกว่า มีคนสนใจรับซื้อเยอะแยะ ไม่ต้องขายในรัฐหรอก”นายชลัช ระบุ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img