วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกNEWSส่งออกทรุดธปท.เล็งปรับเป้าจีดีพีใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่งออกทรุดธปท.เล็งปรับเป้าจีดีพีใหม่

ผู้ว่าธปท.เผยส่งออกไทยแย่ รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนแผ่ว จ่อปรับจีดีพีใหม่ต่ำกว่า 3.6% จับตาสศช.ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2/66 วันที่ 21 ส.ค.นี้

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2566 ธปท.ภาคเหนือ หัวข้อ ยกระดับเศรษฐกิจเหนือ คว้าโอกาสบนโลกแห่งความท้าทาย ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ แต่ภาคการส่งออกที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด หลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ ธปท. เตรียมที่จะปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้ลงเล็กน้อย จากปัจจุบันคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.6%

ทั้งนี้ ต้องติดตามสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ที่จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ในวันที่ 21 ส.ค.นี้ คาดว่าน่าจะออกมาต่ำเล็กน้อย แต่การฟื้นตัวจะยังไปได้ แม้มีบางช่วงตัวเลขต่ำ แต่ภาพรวมของการฟื้นตัว จะถูกขับเคลื่อนจากการบริโภคเอกชน และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เพราะทั้ง 2 ตัวนี้ ไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปีนี้น่าจะเห็นตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนที่โตเกิน 4% ด้านการท่องเที่ยวน่าจะเห็นนักท่องเที่ยว 29 ล้านคน เทียบกับปีที่แล้ว 11 ล้านคน จะช่วยพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

“การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวต่อได้เนื่อง แม้ตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวต่ำกว่าคาดบางช่วง แต่ภาพรวมทั้งการฟื้นตัว และเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ยังไม่ได้เปลี่ยนไป โดยรายงานล่าสุด ธปท.ได้ประเมินจีดีพีล่าสุดที่ 3.6% และจากตัวเลขเศรษฐกิจโลกและส่งออกที่ชะลอตัวลง คาดว่าจะมีการปรับจีดีพีลงตาม แต่ในภาพรวมน่าจะเติบโตได้ 3% กลางๆ บวกลบ”

ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นไปตามบริบทของไทย ขณะที่ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อในระยะยาวจะเข้าสู่กรอบเป้าหมาย โดยบริบทของไทยไม่ได้เหมือนกับปีที่แล้ว ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินจะต้องพิจารณาทั้งปัจจัยระยะสั้น ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ และภาพในระยะยาว

“บริบทเปลี่ยน จากเทคออฟ เป็นแลนดิ้ง และการประชุม กนง. ล่าสุดในถ้อยแถลงก็มีการเปลี่ยนคำ จากขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยถอดออกไม่ได้อยู่ในเสตรทเมนท์ ตอนนี้มันอยู่ในจุดใกล้ที่จะเปลี่ยน และการเปลี่ยนคือ โดยครั้งหน้ามีโอกาสจะคงหรือจะขึ้น แต่ที่จะยังไม่ทำ คือ การลง”

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง จะส่งผลระยะยาวต่อเสถียรภาพการเงิน และทำให้เศรษฐกิจไทยยิ่งทรุดหรือไม่นั้น มองว่า ไม่ แม้งบประมาณ 67 จะล่าช้าไป 2 ไตรมาสแต่ห่วงไม่เยอะ เพราะงบประจำเบิกจ่ายได้ ที่ล่าช้า คือ งบลงทุน และงบลงทุนวงเงินไมได้เยอะ จึงไม่ได้เป็นตัวเลขที่ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจเปลี่ยนไปอย่างมีนัยมากมาย แต่ความเสี่ยง คือ นอกจากหน้าตารัฐบาลแล้ว จะเป็นความเสี่ยงเรื่องนโยบาย หากนโยบายอยู่ในกรอบไม่ได้มาก แต่หากมากเกินไป จนกระทบเสถียรภาพ ก็น่าเป็นห่วง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img