วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกNEWSโควิด-19 ฉุดยอดการใช้น้ำมัน 6 เดือนแรกลด 1.7%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โควิด-19 ฉุดยอดการใช้น้ำมัน 6 เดือนแรกลด 1.7%

กรมธุรกิจพลังงาน เผย 6 เดือนแรก 64 ยอดการใช้น้ำมันลดลง 1.7% ปัจจัยหลักมาจากการใช้น้ำมันเครื่องบินที่ลดลง 53.9% หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาดหนัก

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 6  เดือนของปี 2564 (มกราคม-มิถุนายน) ลดลงเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.7 โดยสาเหตุหลักมาจากการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ล้านลิตร/วัน ลดลงร้อยละ 53.9เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทางโดยเครื่องบิน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตามหากแยกเป็นแต่ละชนิดน้ำมันจะพบว่า การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 29.7 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.2 แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้พบว่าปริมาณการใช้กลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 29.0 ล้านลิตร/วัน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ 95 ที่เพิ่มขึ้นจาก 13.9 ล้านลิตร/วัน มาอยู่ที่ 15.2 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่การใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาอยู่ที่ 0.7 ล้านลิตร/วัน หรือ ลดลงร้อยละ 11.4

น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน

ส่วนการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 64.9 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย หรือ ลดลงร้อยละ 1.1 สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 ปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 38.1 ล้านลิตร/วัน หรือ ลดลงร้อยละ 18.4 น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23.5 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน

การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เฉลี่ยอยู่ที่ 16.5 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.2 เนื่องจากการใช้ในภาคปิโตรเคมีที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.3 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.8 และการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.9 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.0 สำหรับภาคครัวเรือนมีการใช้อยู่ที่ 5.6 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ตามการใช้ในภาคขนส่งลดลงมาอยู่ที่ 1.8 ล้านกก./วัน ลดลงร้อยละ 12.6

การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) เฉลี่ยอยู่ที่ 3.3 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 18.6 โดยเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับจำนวนสถานีบริการและรถ NGV ที่ลดลง

ขณะที่การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 917,634 บาร์เรล/วัน ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ ลดลง ร้อยละ 0.7 โดยการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ 880,203 บาร์เรล/วัน ลดลง ร้อยละ 1.5

อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52,733 ล้านบาท/เดือน หรือ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.0 เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 37,431 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.8 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 2,239 ล้านบาท/เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.0

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ไบโอดีเซล       น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกลดลงมาอยู่ที่ 182,487 บาร์เรล/วัน หรือลดลง ร้อยละ 10.4 คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 11,641 ล้านบาท/เดือน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.9

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาการใช้กลุ่มเบนซินเฉพาะเดือนมิถุนายน 2564 พบว่าการใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 29.2 ล้านลิตร/วัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 26.1 ล้านลิตร/วัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของทุกชนิดน้ำมัน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ประกอบกับประชาชนบางส่วนได้รับวัคซีน โดยตัวเลขการฉีดวัคซีนสะสมเข็มที่ 1 มีจำนวน 7.1 ล้านราย และเข็มที่ 2 มีจำนวน 2.8 ล้านราย (สะสม 8 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2564)

ส่วนปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วเฉพาะเดือนมิถุนายน 2564 เทียบกับมิถุนายน 2563 พบว่า ปริมาณการใช้ลดลงค่อนข้างมากจาก 62.7 ล้านลิตร/วัน มาอยู่ที่ 59.3 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในปีนี้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img