วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2024
หน้าแรกNEWS‘สแตนดาร์ดฯ’หั่นเป้าจีดีพีไทยโตเพียง 4.3% หวั่นส่งออกทรุด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สแตนดาร์ดฯ’หั่นเป้าจีดีพีไทยโตเพียง 4.3% หวั่นส่งออกทรุด

แบงก์สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเติบโตดีกว่าครึ่งปีแรก หลังได้รัฐบาลใหม่คลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-การบริโภคภายในประเทศหนุน พร้อมหั่นเป้าจีดีพีเหลือเพียง 4.3% หวั่นส่งออกสะดุดปัจจัยลบนอกประเทศ คาดกนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% วันที่ 31 พ.ค.นี้


ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า เศรษกิจไทยในครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.)จะเติบโตได้ดีกว่าครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) หลังมีการเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่จะเริ่มทำงานได้อย่างเต็มที่และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-การบริโภคเพิ่มขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของภาคการท่องเที่ยวจากอานิสงส์ของการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน คาดว่าจีดีพีครึ่งปีหลังจะเติบโต 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน จากครึ่งปีแรกเติบโต 2.9%

นอกจากนี้ได้ปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2566 ขึ้นเป็น 25 ล้านคน จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ 15-20 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวยังต่ำกว่าปี 2562 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือน 40 ล้านคน ทั้งนี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนประมาณ 5 ล้านคนในปีนี้ (เทียบกับ 11 ล้านคนในปี 2562) โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่น่าจะหนาแน่นขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังคือดุลบัญชีการค้า สาเหตุมาจากการส่งออกที่ชะลอตัวลงและการนำเข้าที่ยังคงมีมูลค่าสูง โดยความเคลื่อนไหวเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การค้าโลกในช่วงครึ่งปีหลังและการนำเข้าของไทย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งขึ้น การส่งออกและนำเข้าที่สอดคล้องกันอาจช่วยลดการขาดดุลการค้า

“ช่วงไตรมาส 2 น่าจะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพิ่มขึ้น ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เราคาดว่ารัฐบาลใหม่จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนในการตั้งรัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรี โดยคณะรัฐบาลน่าจะพร้อมทำงานอย่างเร็วที่สุดในเดือนกรกฎาคม “

ทั้งนี้ธนาคารฯ ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ซึ่งสะท้อนตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต่ำกว่าคาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงไม่สดใส และโอกาสที่จะมีความล่าช้าในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากมีการเลือกตั้ง คาดว่าจีดีพีเติบโต 4.3% จากเดิมคาดเติบโต 4.5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดจะอยู่ที่ 2.1% จากเดิมอยู่ที่ 2.7%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดจะอยู่ที่ 1.7% จากดิมคาดไว้ที่ 3.3% ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะอยู่ที่ 3.6% ของจีดีพี จากเดิมคาดไว้ที่ 4%

ส่วนของภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี สอดคล้องกับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ เรามองว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดที่ 1.2% ในไตรมาสที่ 3 และปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6% ในไตรมาสที่ 4 เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป เนื่องจากประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว

โดยคาดว่าเงินเฟ้อและการบริโภคจะเพิ่มขึ้นจากนโยบายทางเศรษฐกิจและนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายจากรัฐบาลใหม่ ในส่วนของปัจจัยด้านอุปทาน ราคาพลังงานและราคาอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอาจสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ซึ่งสนับสนุนมุมมองของเราที่มองว่าเงินเฟ้อจะกลับมาเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ โดยดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่  2% ในสิ้นปีนี้ แม้ว่ายังมีความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก แต่ดัชนีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของไทยประกอบกับมุมมองภาพรวมเศรษฐกิจเชิงบวกของธปท. เราจึงมองว่า ธปท.น่าจะยังดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกลับสู่ภาวะปรกติเพื่อเพิ่มพื้นที่นโยบาย

ขณะที่สถานการณ์ค่าเงินบาทภาพรวมในระยะกลางสำหรับค่าเงินบาทยังคงดี แม้ว่าจะมีความผันผวนในระยะสั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลง และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว น่าจะเป็นผลดีต่อบัญชีทุนและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img