วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlight“สรรพากร”เข้มสั่งแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งข้อมูลรายได้“พ่อค้า-แม่ค้า”เข้าระบบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สรรพากร”เข้มสั่งแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งข้อมูลรายได้“พ่อค้า-แม่ค้า”เข้าระบบ

“กรมสรรพากร” ออกประกาศแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งข้อมูลรายได้พ่อค้า-แม่ค้าเข้าระบบ เริ่มรอบบัญชี 1 ม.ค. 67

นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกประกาศให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่ให้บริการซื้อขายสินค้า เช่น ช้อปปี้ (Shopee) ลาซาด้า (Lazada) ไลน์แมน (Line Man) แกร็บ (Grab) และ Tiktok เป็นต้น ส่งฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่ร่วมให้บริการในระบบทั้งหมดให้กรมสรรพากร เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.67 gพื่ออำนวยความสะดวกแก่แพลตฟอร์มในประเทศ ในการพิสูจน์การมีเงินได้ เนื่องจากที่ผ่านมา กรมฯจะรู้ข้อมูลของผู้ให้บริการ แต่ไม่รู้ว่าร้านค้าหรือผู้ที่เข้าไปขายของในแพลตฟอร์มเป็นใคร มียอดขายหรือรายได้อย่างไร จึงออกประกาศเพื่อให้ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูล เพราะปัจจุบันธุรกิจออนไลน์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงได้พัฒนาระบบเพื่อรับข้อมูลที่มีปริมาณมากในรูปแบบอิเล็ทรอนิกส์

สำหรับรายละเอียดของประกาศกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทย และมี หรือเคยมีรายได้ในรอบบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องทำบัญชีพิเศษ หรือบัญชีที่แสดงข้อมูลรายรับของอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ ได้รับจากผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกของกรมฯ รองรับไว้โดยเฉพาะ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ธุรกิจ E-Commerce หรือการซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์ ได้เข้ามามีผลต่อชีวิตของเรามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบ New Normal ที่ผู้คนหันมาซื้อขายของออนไลน์กันมากขึ้น ส่งผลให้การค้าขายสินค้าออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และเข้าถึงคนได้ทุกระดับ จน E-Commerce ได้กลายเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศในปัจจุบัน โดยในปี 2566 คาดว่ามูลค่าการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมของประเทศจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการขับเคลื่อนระบบนิเวศพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกภาคส่วนกลับเข้าสู่ภาวะปกติแบบเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้กระทรวงฯ ได้ตั้งเป้ามูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ 7.1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2570 และยังได้ตั้งเป้าสัดส่วนมูลค่าสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศของผู้ประกอบการที่ค้าขายผ่านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ที่ 20% ภายในปี 2570 เพื่อให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเติบโตทั้งภายในและระหว่างประเทศ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img